ความเชื่อมั่นในตลาดยังคงผันผวนในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี เนื่องจากภาวะ consolidation ของตลาดในช่วงสิ้นเดือนและวันหยุดวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้การซื้อขายค่อนข้างซบเซา นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีการรายงานในหลากหลายทิศทางและความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินอยู่ รวมถึงความตึงเครียดจากสงครามการค้า ยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับตลาด
ข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าคงทนและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อชิคาโก (Chicago PMI) ในวันพุธมีการรายงานตัวเลขต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ที่แข็งแกร่งเกินคาด, การปรับการประมาณการตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 และรายงานดุลการค้าที่ดีขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนความเชื่อมั่นเชิงบวกบางส่วน
ท่ามกลางปัจจัยเหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปรับลดลงรายวันมากที่สุดในรอบสามเดือน แต่ราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบยังคงเผชิญแรงกดดัน ในขณะเดียวกัน สกุลเงินหลักและสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans เริ่มเข้าใกล้การปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าที่อาจเกิดขึ้นกับสหรัฐฯ และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากยุโรป/เยอรมนี แต่คู่เงิน EURUSD ดูเหมือนจะมีแนวโน้มที่จะยุติการปรับลดลงติดต่อกันสามสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนมาจากท่าทีของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Christine Lagarde ที่พร้อมจะเจรจาเกี่ยวกับภาษีการค้ากับสหรัฐฯ และมุมมองของ Isabel Schnabel สมาชิกคณะกรรมการ ECB ที่เห็นว่ามีช่องว่างจำกัดสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม
แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค GfK ของเยอรมนีจะปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจก่อนหน้าจากยูโรโซนและเยอรมนีก็ช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงและรายงานการจ้างงานที่เลวร้ายลง
การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯยังไม่สามารถช่วยให้คู่เงิน GBPUSD ฟื้นตัวได้ เนื่องจากความเชื่อมั่นในภาคบริการของสหราชอาณาจักรลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองปีตามผลสำรวจของสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอังกฤษ (CBI) ในขณะเดียวกัน คู่เงิน USDJPY มีแนวโน้มปรับลดลงรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกันยายน หลังจากปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสองสัปดาห์ โดยสัญญาณเงินเฟ้อและค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้นในญี่ปุ่นยังบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยความน่าสนใจของเงินเยนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย รวมถึงความพร้อมของโตเกียวที่จะเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อปกป้องค่าเงินเยน ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อคู่เงิน USDJPY มากยิ่งขึ้น
คู่เงิน AUDUSD ชะลอการปรับลดลงในรอบสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลการลงทุนภาคธุรกิจ (Capex) ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ซึ่งท้าทายท่าทีการสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในทำนองเดียวกัน คู่เงิน USDCAD ถอยจากระดับสูงสุดในรอบปี แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะอ่อนตัวลง เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของแคนาดาช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางแคนาดา (BoC)
ในทางกลับกัน คู่เงิน NZDUSD ดูเหมือนจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์ แม้ว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% โดยการฟื้นตัวนี้น่าจะได้รับแรงหนุนจากแถลงการณ์เชิงบวกของ RBNZ และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจากผู้ช่วยผู้ว่าการฯ Karen Silk
แรงเทซื้อทองคำเผชิญความยากลำบากในการสร้างแรงหนุนท่ามกลางมุมมองที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และความกังวลเกี่ยวกับภาวะ “soft landing” ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งแรงกดดันเพิ่มเติมต่อ XAUUSD ยังมาจากตลาดที่เข้าสู่ภาวะ consolidation ในช่วงสิ้นเดือน, ความกังวลเกี่ยวกับจีน และปฏิทินเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเบาบาง
ราคาน้ำมันดิบก็เผชิญแรงกดดันจากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับจีนเช่นกัน แม้ว่าจะมีการปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปริมาณสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐฯ
ด้วยเหตุนี้ ทั้งทองคำและน้ำมันดิบจึงมีแนวโน้มเชิงลบในสัปดาห์นี้ แม้ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสองวันที่ผ่านมาก็ตาม
การที่ Bitcoin (BTCUSD) ไม่สามารถทะลุระดับ $100K ได้ ส่งผลให้เกิดการขายทำกำไรและการชะลอตัวในช่วงสิ้นเดือน ซึ่งบ่งชี้ถึงการปรับลดลงในรอบสัปดาห์ ผลลัพธ์คือเม็ดเงินบางส่วนถูกโยกไปยัง Ethereum (ETHUSD) ซึ่งช่วยให้ Ethereum ยังคงแข็งแกร่งในสัปดาห์นี้ แม้จะไม่มีการรายงานข่าวเชิงบวกสำคัญออกมา
เนื่องจากตลาดสหรัฐฯปิดทำการในวันหยุดวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) โมเมนตัมของตลาดในวันพฤหัสบดีนี้จึงคาดว่าจะชะลอตัว โดยเฉพาะเมื่อปฏิทินเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆค่อนข้างเบาบาง อย่างไรก็ดี ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนพฤศจิกายนของเยอรมนีและตัวเลขความเชื่อมั่นในยูโรโซนอาจดึงดูดความสนใจของนักลงทุน โดยตลาดที่เข้าสู่ภาวะ consolidation ในช่วงสิ้นเดือนอาจทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง ซึ่งจะช่วยให้คู่เงิน EURUSD พุ่งสูงขึ้น หากข้อมูลเศรษฐกิจจากยุโรป/เยอรมนีมีทิศทางเป็นบวก โดยคู่เงิน GBPUSD มีการปรับตัวขึ้นอย่างจำกัดเนื่องจากความกังวลในสหราชอาณาจักร ส่วนทางด้านคู่เงิน USDJPY อาจปรับตัวลดลงต่อไป ทางฝั่งราคาทองคำและราคาน้ำมันอาจยังคงเผชิญกับการดึงกลับของระดับราคา พร้อมกับสกุลเงินกลุ่ม Antipodean ที่อาจปรับตัวขึ้นหากดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่า ด้านสกุลเงินดิจิทัลอาจยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่ ตลาดหุ้นอาจมีการขายทรัพย์สินเพื่อทำกำไรเกิดขึ้น
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!