การประกาศของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับการเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมในอัตรา 25% โดยไม่มีการยกเว้นใดๆ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าที่อาจเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการบังคับใช้นโยบายดังกล่าวกำหนดไว้ในช่วงต้นเดือนมีนาคม นักลงทุนหลายคนในตลาดเริ่มมองการเคลื่อนไหวนี้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการเจรจามากกว่าการยกระดับความตึงเครียดอย่างแท้จริง ซึ่งการเปลี่ยนมุมมองนี้ช่วยลดความกังวลลงเบื้องต้น และส่งผลให้ความเชื่อมั่นกลับมาฟื้นตัวจากบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวัง
นอกเหนือไปจากประเด็นภาษีดังกล่าว ประธานาธิบดีทรัมป์ยังออกมาเตือนกลุ่มฮามาสให้ส่งตัวประกันชาวอิสราเอลทั้งหมดคืนภายในช่วงเที่ยงวันเสาร์ มิฉะนั้นอาจต้องเผชิญกับการยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงระหว่างฮามาสและอิสราเอล พร้อมกับคำขู่ว่า “จะปล่อยให้ความหายนะปะทุขึ้น”
ในขณะเดียวกัน ผลสำรวจล่าสุดของ Reuters ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะหนึ่งปีที่ค่อนข้างเป็นกลางจากธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์กช่วยลดน้ำหนักจากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่ชี้ถึงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แม้จะมีสถานการณ์ดังกล่าว แต่ผลสำรวจอัตราเงินเฟ้อระยะหนึ่งปีกลับส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อระยะ 5 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3% จาก 2.7% ในเดือนก่อนหน้า
ท่ามกลางสถานการณ์นี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พุ่งสูงขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่สามเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยในช่วงเช้าวันอังคาร ขณะที่ตลาดจับตามองการแถลงต่อสภาคองเกรสประจำครึ่งปีของประธาน Fed เจอโรม พาวเวลล์
การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯสร้างแรงกดดันต่อคู่เงิน EURUSD แม้ว่าประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) คริสติน ลาการ์ด และรองประธาน หลุยส์ เดอ กินดอส จะเน้นย้ำถึงแนวทางการตัดสินใจเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อครั้ง โดยพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจที่มีอยู่ในขณะนั้น และเน้นถึงความสำคัญของการหลีกเลี่ยงสงครามการค้า ขณะที่ ยูโรกลับไม่ได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน Sentix ในเดือนกุมภาพันธ์ของยูโรโซน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น -12.7 จากที่คาดการณ์ไว้ที่ -16.3 และตัวเลขก่อนหน้าที่ -17.7
ในส่วนของคู่เงิน USDJPY ยังขาดโมเมนตัม เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวันหยุดเนื่องในโอกาสวันชาติญี่ปุ่น (National Foundation Day) อย่างไรก็ตาม เงินเยน (JPY) ยังไม่สามารถขยายการฟื้นตัวในวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนได้ ท่ามกลางท่าทีเชิงเข้มงวดทางนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น และบทบาทของเงินเยนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แคทเธอรีน มานน์ สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times (FT) ว่า อังกฤษกำลังประสบปัญหาในการปรับขึ้นราคาสินค้า ขณะที่ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง ซึ่งความคิดเห็นของเธอได้รับการยืนยันจากข้อมูลยอดค้าปลีกแบบ Like-for-Like ของ BRC สำหรับเดือนมกราคม ซึ่งการเติบโตชะลอตัวลงเหลือ 2.5% YoY เมื่อเทียบกับ 3.1% ในเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 0.2%
ด้วยแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ BoE และข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษที่ซบเซา ประกอบกับสถานะที่แข็งแกร่งกว่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้คู่เงิน GBPUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าหนึ่งสัปดาห์ในช่วงเช้าวันอังคาร ขณะที่นักลงทุนจับตามองการแถลงของประธาน Fed เจอโรม พาวเวลล์ และแถลงการณ์จากผู้ว่าการ BoE แอนดรูว์ เบลีย์
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) และดอลลาร์แคนาดา (CAD) ยังคงเผชิญแรงกดดัน ถึงกระนั้น ช่วงแนวโน้มขาลงกลับชะลอตัวลงในช่วงเช้าวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนกำลังรอการอัปเดตที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตราภาษีศุลกากร และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน การประกาศนโยบายภาษีของทรัมป์และมาตรการทางเศรษฐกิจของจีนได้สร้างปฏิกิริยาที่หลากหลายในตลาด ในขณะเดียวกัน ข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียยังส่งสัญญาณไม่ชัดเจน ส่งผลให้คู่เงิน AUDUSD เคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน ส่วนทางคู่เงิน NZDUSD ยังคงพยายามตอบสนองต่อความคิดเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนิวซีแลนด์เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งระหว่างประเทศกับสหรัฐฯ ซึ่งในทางกลับกัน คู่เงิน USDCAD ฟื้นตัวขึ้นจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์และการค้าระหว่างสหรัฐฯกับแคนาดา แม้ราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดา จะปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม
ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าทั่วโลก ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง ราคาทองคำพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ $2,945 ก่อนที่จะถอยกลับมาที่ประมาณ $2,925 แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่า ทว่านักเทรดฝั่งขาขึ้นทองคำยังคงระมัดระวังก่อนการแถลงต่อสภาคองเกรสของ เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed
ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งครั้งใหม่ระหว่างอิสราเอล-ฮามาส และการเจรจาสันติภาพที่ล้มเหลวระหว่างยูเครนและรัสเซีย อีกทั้ง ความวิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนอุปทานที่อาจเกิดขึ้นยังคงสนับสนุนราคาพลังงาน แม้จะมีความกังวลจากการที่ OPEC+ แสดงความพร้อมที่จะเพิ่มการผลิตหลังไตรมาสแรกของปี 2025 และการผลักดันให้ขุดเจาะน้ำมันเพิ่มของทรัมป์
แม้ปัญหาทางด้านภาษีและท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed จะทดสอบแรงเทซื้อของ Bitcoin (BTCUSD) และ Ethereum (ETHUSD) แต่คริปโทเคอร์เรนซีชั้นนำยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวก และขยายการฟื้นตัวจากช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางความกลัวจากการเกิด short squeeze หลังจากการเทขายอย่างหนักของ CME นอกจากนี้ การซื้อ Bitcoin อย่างต่อเนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนและความเชื่อมั่นเชิงบวกจากทรัมป์ ก็ยังช่วยหนุนราคาของ Bitcoin และ Ethereum ด้วยเช่นกัน
นอกเหนือไปจากการแถลงต่อสภาคองเกรสทุกๆครึ่งปีของ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และแถลงการณ์ของ แอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันนี้แล้ว ยังมีการประชุมระหว่าง เออร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และ วานซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึงการปรากฏตัวต่อสาธารณะของผู้กำหนดนโยบายจากสหราชอาณาจักร ยุโรป และสหรัฐฯที่ควรจับตามองเนื่องจากอาจส่งผลต่อทิศทางตลาด นอกจากนี้ ความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายภาษีของทรัมป์ แผนบริหารจัดการชายแดน และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังดำเนินอยู่ในตะวันออกกลาง ประกอบกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของตลาดด้วยเช่นกัน
ท่ามกลางแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในเชิงเข้มงวดของ Fed การคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจาก BoE และความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯท่ามกลางประเด็นภาษีและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ คู่เงิน GBPUSD อาจต้องเผชิญกับแรงกดดันต่อเนื่อง แม้ในกรณีที่ประธาน Fed เจอโรม พาวเวลล์ ไม่สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือระงับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรือหากผู้ว่าการ BoE แอนดรูว์ เบลีย์ แสดงท่าทีในเชิงบวกก็ตาม
ในขณะเดียวกัน คู่เงิน EURUSD คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD มีแนวโน้มที่แรงเทขายจะยังครองตลาดต่อไป ขณะที่ คู่เงิน USDCAD และคู่เงิน USDJPY อาจปรับตัวสูงขึ้น ด้านราคาทองคำ ดูเหมือนจะยังขาดแรงส่งในการปรับตัวขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบอาจฟื้นตัวต่อไป หากรายงานปริมาณน้ำมันคงคลังจาก API ในวันนี้ลดลง และความตึงเครียดในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงขึ้น ทางฝั่งสกุลเงินดิจิทัล แรงเทซื้อคริปโตซื้ออาจเผชิญความท้าทายในการรักษาการควบคุม โดยตลาดหุ้นอาจเผชิญกับการดึงกลับของระดับราคาเช่นกัน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!