ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

7 สาเหตุที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินมีความผันผวน

การเทรด Forex ในปัจจุบันไม่ต่างอะไรจากการนั่งรถไฟเหาะ เพราะอัตราแลกเปลี่ยนยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทำให้บางสกุลเงินแตะระดับสูงสุด ในขณะที่บางสกุลเงินแตะระดับต่ำสุดและยังมีโอกาสร่วงต่อไปอีก ส่งผลให้สกุลเงินหลายๆ ตัวมีมูลค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

None

ที่สำคัญยังไม่มีตัวบ่งชี้ใดที่สามารถคาดการณ์หรือระบุความผันผวนได้อย่างแน่ชัด ด้วยเหตุนี้เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีเทรดหรือกลยุทธ์การซื้อขายของท่านในกรณีที่ราคาเคลื่อนไหวสวนทางกับที่ท่านคิด ท่านจะต้องเข้าใจปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเกอดความผันผวน

ทำไมค่าเงินจึงผันผวน?

ในฐานะนักเทรด Forex ท่านอาจรู้ว่าสกุลเงินส่วนใหญ่มาพร้อมกับอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว นักวิเคราะห์เรียกว่าอัตราที่ยืดหยุ่น พูดง่ายๆๆ คืออัตราแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์อ้างอิงจะผันผวนตามอุปสงค์และอุปทานในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

มีสองปัจจัยหลักที่จะต้องพิจารณาเมื่อเริ่มต้นการเทรด Forex ขณะเดียวกัน ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลในเชิงลบหรือบวกต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มาดูรายละเอียดของปัจจัยแต่ละตัวกันดีกว่า

1. อุปทานของสกุลเงิน (Currency Supply)

อุปทานเป็นตัวกำหนดมูลค่าสกุลเงินที่สามารถซื้อขายได้ เมื่อสินทรัพย์มีอุปทานที่เพิ่มขึ้น มูลค่าของมันก็จะลดลง นักเทรดมือใหม่อาจมองว่าธนาคารกลางมีหน้าที่ควบคุมอุปทานของสกุลเงิน

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ในความเป็นจริง มีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายสามารถเพิ่มหรือลดอุปทานได้ นักเทรดบางรายสร้างอุปทานหลอกเพื่อปั่นให้มูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ ลดลง และจะเกิดขึ้นได้เมื่อตลาดอยู่ภายใต้สภาวะขายมากเกินไป

2. อุปสงค์ของสกุลเงิน (Currency Demand)

อุปสงค์เป็นตัวบอกปริมาณของนักเทรดสินทรัพย์ที่ต้องการซื้อในจังหวะนั้นๆ เราสามารถเห็นอิทธิพลที่ตรงกันข้ามของเครื่องมือและการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ ถ้า Demand เพิ่มขึ้น มูลค่าสินทรัพย์ก็จะยิ่งสูงขึ้น

ปัจจัยเพิ่มเติมที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราผันผวน

อุปสงค์และอุปทานไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวน ธนาคารกลางเองก็สามารถแทรกแซงตลาด Forex เพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ทางเศรษฐกิจได้เช่นกัน ปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกก็อาจมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อตลาด เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น

และนี่คือสาเหตุเพิ่มเติมที่นักเทรดต้องพิจารณาเพื่อคาดการณ์ความผันผวนของอัตราสกุลเงิน

อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate)

แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรง แต่อัตราเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้สกุลเงินผันผวน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเป็นตัวกำหนดราคาสินค้าและบริการสำหรับประชากร

อัตราเงินเฟ้อระดับกลางเป็นสัญญาณของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ แต่ถ้าหากอัตราดังกล่าวสูงเกินไป ก็จะทำให้สกุลเงินอ่อนค่า เมื่อมูลค่าเงินเริ่มลดลง ธนาคารกลางก็จะเข้ามาแทรกแซงและดำเนินการบางอย่างเพื่อควบคุมสถานการณ์

ธนาคารกลาง (Central Bank)

ธนาคารกลางเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินระดับชาติที่มีหน้าที่ในการรักษาระบบการเงินให้มีเสถียรภาพและรักษามูลค่าของสกุลเงินของประเทศนั้นๆ เอาไว้ ในการดำเนินการดังกล่าว ธนาคารกลางมีวิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่จะนำไปใช้หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น:

  • นโยบายการเงิน (Monetary policy) – เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ใช้เพื่อช่วยธนาคารกลางในการควบคุมอุปสงค์และอุปทานของสกุลเงิน (ควบคุมการไหลเวียนของสกุลเงิน) นอกจากนี้ นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือในการวัดอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย
  • อัตราธนาคารกลาง (Central bank rate) – ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่าอัตรากองทุนของรัฐบาลกลาง เครื่องมือนี้ทำให้รัฐบาลสามารถจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศได้ โดยทั่วไปอัตราจะถูกกำหนดโดยคำนึงถึงสถานการณ์ภายในประเทศเพื่อลดหรือเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations) – หรือที่เรียกว่า OMO เป็นกระบวนการซื้อหรือขายพันธบัตร หุ้น ฯลฯ รัฐบาลเข้าสู่ตลาดเปิดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่แตกต่างกัน

การซื้อขายระหว่างประเทศ (International Trading)

การเพิ่มขึ้นของราคาส่งออก หมายถึง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยต่อประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาสูงขึ้นเร็วกว่าราคานำเข้า นำไปสู่รายได้ของประเทศที่สูงขึ้นและสกุลเงินที่แข็งค่าขึ้น

หนี้ของประเทศ (National Debt)

บางครั้ง รัฐบาลต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการเปิดตัวโครงการใหม่หรือปรับปรุงโครงการที่มีอยู่ วิธีเดียวที่จะได้รับเงินทุนที่จำเป็นคือการยืมเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจย่ำแย่ลง การกระทำดังกล่าวอาจนำไปสู่เศรษฐกิจที่สูงเกินจริง ในการชำระคืน รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะพิมพ์เงินสดเพิ่มเพิ่มเพื่อชำระหนี้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของประเทศทำให้มูลค่าทรัพย์สินลดลง

สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ (Economic and Political Health)

ความผันผวนของค่าเงินอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง หากประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤต (ทั้งทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ) ผู้คนจะมองหาที่ที่ปลอดภัยกว่าในการเก็บเงินไว้

สกุลเงินอาจไม่ดึงดูดนักลงทุนอีกต่อไปเนื่องจากดูไม่ปลอดภัยในระยะยาว นี่คือเหตุผลที่คู่สกุลเงินหลักเกิดขึ้นจากสินทรัพย์ของประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ดี

สรุปเกี่ยวกับความผันผวนของค่าเงิน

ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอาจเป็นผลมาจากการดำเนินการต่างๆ ที่ดำเนินการโดยธนาคารกลางหรือนักเทรด นอกจากนี้ เราควรคำนึงถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองโดยรวมด้วยเช่นกัน เพราะยังไม่มีตัวบ่งชี้ Forex ที่จะอธิบายได้ชัดเจนว่าทำไมสกุลเงินจึงเกิดความผันผวน

ดังนั้น เราจะต้องอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแทนการวิเคราะห์ทางเทคนิค ยิ่งมีข้อมูลวงในเกี่ยวกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศรวมถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานมากเท่าไหร่ ท่านก็จะสามารถคาดการณ์ความผันผวนของค่าเงินได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน