MTrading ยังจัดเตรียม ผู้ให้ความช่วยเหลือส่วนบุคคล สำหรับลูกค้าทุกท่าน ไม่ต้องกลัวว่าคุณจะฝากเงินเข้าบัญชีหรือติดตั้งแพลตฟอร์มการเทรดไม่เป็น เราพร้อมจะให้ความช่วยเหลือกับคุณ ผ่านไลฟ์แชท (Live Chat) บนหน้าเว็บหลัก ของเรา
วิธีบริหารความเสี่ยงในการเทรด Forex
คุณอาจจะเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด ด้วยการเลือกตราสารการเทรดที่ดีที่สุด จากแพลตฟอร์มการเทรดที่ทันสมัยที่สุด แต่เราขอเตือนว่า ถ้าหากคุณไม่รู้จักบริหารความเสี่ยงในการเทรด forex ก็เตรียมโบกมือลาวงการได้เลยครับ
ที่น่าแปลกใจก็คือ วิธีป้องกันการขาดทุน นั้นแสนง่ายอย่างที่รู้ๆ กัน แต่มีเทรดเดอร์เพียงไม่กี่คนที่เล่นตามกฎจริงๆ เพราะอะไรน่ะเหรอ? ก็เพราะเทรดเดอร์ส่วนมากชอบเล่นใหญ่น่ะสิครับ พวกเขาสนุกและตื่นเต้นที่จะได้ลงทุนแบบเสี่ยงๆ ด้วยการใช้เลเวอเรจแม้ว่าโอกาสในการแพ้นั่นช่างสูงเหลือเกิน ด้วยเหตุนี้ 90% ของเทรดเดอร์เหล่านี้ จึงมักจบการเทรดแบบไม่สวยเอาเสียเลย
ดังนั้น เพื่อป้องกันตัวการขาดทุน เทรดเดอร์จะต้องปฏิบัติตามหลักการบริหารความเสี่ยงขึ้นพื้นฐาน ต่อไปนี้
- ควบคุมการขาดทุน – รู้ว่าควรตัดขาดทุนตอนไหน อย่ารอให้สายเกินไปจนแดงไปทั้งพอร์ต
- เลือกขนาดล็อตให้เหมาะสม – เริ่มจากล็อตเล็กๆ ก่อน จำไว้ว่า "ยิ่งล็อตใหญ่ ก็ยิ่งเสี่ยงเยอะ"
- จับตามองพฤติกรรมการเทรดของคุณ – กระจายความเสี่ยงด้วยการเทรดในตราสารที่แตกต่างกันออกไป
เมื่อเข้าใจการบริหารความเสี่ยงขั้นพื้นฐานแล้ว ได้เวลากำหนดจำนวนเงินทุนที่คุณจะใช้ในการเริ่มเทรด forex แล้วล่ะ
ปรากฏการณ์การลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้
สำหรับท่านแล้ว อะไรดีกว่ากัน ระหว่าง "เริ่มเทรดด้วยเงินน้อยๆ" หรือ "เริ่มใหญ่เล่นใหญ่" ? แน่นอนว่า จะเริ่มแบบไหนขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าและกลยุทธ์ในการเทรดของท่านเอง

หากท่านเป็นนักเทรดมือใหม่ที่เต็มไปด้วยความกลัวในการสูญเสีย แต่ขณะเดียวกันก็มีโฆษณาหรือแบนเนอร์ "รับ 2 เท่า เมื่อฝากเงินขั้นต่ำ" ล่อตาล่อใจ ลองดู 3 ปรากฏการณ์การลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้
เทรดด้วยเงินในบัญชีเริ่มต้นเพียง 100 เหรียญ
เมื่อทำการเปิดบัญชีเทรดและฝากเงิน 100 เหรียญ เทรดเดอร์ผู้มีประสบการณ์จะจำกัดความเสี่ยงในการสูญเสียที่ 1% ดังนั้น หากมีเงินในบัญชี 100 เหรียญ ควรจำกัดความเสี่ยงในการขาดทุนที่ 1 เหรียญ ซึ่งคิดเป็นจำนวนประมาณ 10 หน่วยการเปลี่ยนแปลงของคู่เงิน (pip) เมื่อเทรดคู่เงินที่ได้รับความนิยมอย่าง EUR/USD แม้ว่าท่านจะเสีย 11 pips ก็เสียเงินเพียงแค่ 1.1 เหรียญ ยังพอรับไหว!
แต่… การมียอดรวมในบัญชีที่น้อยกว่าก็เท่ากับมีโอกาสในการทำกำไรน้อยกว่า และเมื่อต้องการกำไรมากขึ้น ท่านก็จะต้องดึงเงินลงทุนมาจากกำไรน้อยนิดที่ท่านได้ก่อนหน้านั้น แย่ไปกว่านั้น อาจต้องเดือดร้อนดึงรายได้ส่วนอื่นมาใช้ลงทุน วุ่นวายไปเสียหมด ดังนั้น การเริ่มลงทุนด้วยเงินที่มากกว่าย่อมดีกว่าแน่นอนครับ
เทรดด้วยเงินในบัญชี 500 เหรียญ
ในกรณีนี้ เทรดเดอร์เสี่ยงขาดทุนได้แค่ 5 เหรียญต่อการเทรด แต่ถึงอย่างนั้น การฝากเงินเพิ่มขึ้น ทำให้ท่านมีความยืดหยุ่นในการเทรดตราสารอื่นๆ มากขึ้น ถึงแม้จะตั้งจุดหยุดขาดทุน (Stop loss) ที่ 10 pips ท่านก็เสี่ยงขาดทุนไม่เกิน 5 เหรียญ ในล็อตไมโคร
เทรดด้วยเงินในบัญชี 5,000 เหรียญ
ยิ่งมียอดเงินในบัญชีมาก ความยืดหยุ่นในการเทรดก็ยิ่งมากขึ้นไปอีก เทรดเดอร์สามารถเทรดได้ทั้งแบบ Multiple micro และ Mini lots ในเวลาเดียวกัน ในทางกลับกัน ท่านสามารถขาดทุนได้ที่ 50 เหรียญต่อการเทรด พร้อมจะรับความเสี่ยงนี้ไหม? ท่านมีเงินสำหรับลงทุนจริงๆ ใช่หรือเปล่า? เทรดเดอร์ทุกท่านต้องตอบคำถามเหล่านี้กับตัวเอง ก่อนตัดสินใจฝากเงินเข้าบัญชีเทรด
บทสรุป
การตัดสินใจว่าจะ "ทุ่มสุดตัว" หรือ "ลงทุนพอประมาณ" นั้นขึ้นอยู่กับทักษะในการเทรด ความคาดหวัง และสมรรถนะทางการเงินของเทรดเดอร์เอง แม้การฝากเงินจำนวนน้อยทำให้ความยืดหยุ่นในการเทรดลดลง แต่มันก็ช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนและยังคงโอกาสในการทำกำไรเสมอ
ในทางกลับกัน การเล่นใหญ่จนเกินไปก็อาจเป็นความผิดพลาดสำหรับนักลงทุนมือใหม่หลายราย เทรดเดอร์ส่วนมากจึงเลือกที่จะเริ่มเทรดด้วยจำนวนเงินพอประมาณ ราวๆ 300-500 เหรียญ ซึ่งนับเป็นทางเลือกที่ดีในการรับความเสี่ยงไม่มาก แต่ขยายโอกาสในการทำกำไรให้เจริญผลงอกงามยิ่งขึ้น
หากท่านกำลังศึกษาและมองหาตราสารการเงินเพื่อเริ่มต้นเทรด forex ลองอ่านบทความ การเทรดสกุลเงิน ของเรา รับรองว่าบทความดีๆ ของเราจะช่วยให้เทรดเดอร์เลือกคู่เงินที่เหมาะสมสำหรับการเทรดขั้นเริ่มต้นได้แน่นอน ยินดีต้อนรับเทรดเดอร์ทุกท่านสู่วงการ forex และขอให้ท่านโชคดีกับการเทรดนะครับ!
ติดตามบทความดีๆ พร้อมเทคนิคและข้อมูลเทรดเบื้องลึกเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่ MTrading
- อินดิเคเตอร์ Forex ที่ดีที่สุด
- เป็นพาร์ทเนอร์กับ MTrading ได้เงินเยอะจริงไหม?
- วิธีเทรดแบบมืออาชีพ
บทความนี้ไม่มี และไม่ควรถูกพิจารณาว่ามี คำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน