ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

Purchasing Power Parity (PPP) คืออะไร? อธิบายความหมายของ PPP มือใหม่เข้าใจไม่ยาก!

ก่อนจะไปทำความเข้าใจแบบลงลึกว่า PPP หมายถึงอะไร? ลองมาหาคำตอบกันก่อนว่า PPP คืออะไรกันแน่? PPP ย่อมาจาก Purchasing Power Parity คือ ทฤษฎีเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ประเมินสภาวะทางเศรษฐกิจเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศ 2 ประเทศ โดยใช้ข้อมูลเศรษฐกิจเชิงลึกและตัวเลขการเงินต่างๆ มาวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ซึ่งถ้าหากใครที่พอมีความรู้พื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ล่ะก็ คงจะทราบดีว่าทฤษฎี PPP นั้นแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับวิธีการนำหลักการดังกล่าวไปใช้งานนั่นเองครับ

None

ในบทความวันนี้ มาร่วมกันหาคำตอบว่า PPP หมายความว่ายังไง? แล้วจะใช้ทฤษฎี Purchasing Power Parity นี้ในการเทรดสินทรัพย์ต่างๆ ได้ยังไง?

อธิบายความหมายทฤษฎี Purchasing Power Parity

ทฤษฎี PPP เกิดขึ้นมาด้วยหลักการที่ว่าทุกประเทศนั้นใช้สกุลเงินเดียวกัน มีความเสมอภาคกัน ซึ่งหากพิจารณาจากหลักการดังกล่าว การคำนวณค่า PPP ก็จะทำให้ท่านทราบได้ว่ามูลค่าสิ่งของต่างๆ นั้นจะมีราคาเท่าไหร่ หรือคิดเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่เมื่อเทียบเป็นสกุลเงินของประเทศอื่นๆ โดยทฤษฎี PPP มีประโยชน์ต่อการเทรดตรงที่ว่ามันช่วยให้เทรดเดอร์คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละสกุลเงินซึ่งจะช่วยบ่งบอกอำนาจในการซื้อ (Purchasing power) ของอีกสกุลเงินหนึ่งได้

ต้องขอบอกก่อนว่าทฤษฎี Purchasing Power Parity แบบดั้งเดิมนั้นจะเป็นการพิจารณาภาพรวมของทั้งสินค้าและบริการของแต่ละประเทศให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งถึงแม้หลักการแบบดั้งเดิมนี้จะยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยขึ้นอยู่กับว่านักวิเคราะห์ต้องการจะใช้ทฤษฎีดังกล่าวเพื่อจุดประสงค์แบบไหน


ข้อควรรู้: ในปัจจุบัน รูปแบบการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อและมองหาสินค้าที่ราคาดีที่สุด อีกทั้งยังมีเครื่องมือต่างๆ มากมายให้ใช้เปรียบเทียบตัวเลือกในการช้อปปิ้งซึ่งทำให้ทุกคนมีอำนาจในการซื้อที่เท่าเทียมกัน หรือที่เรียกว่า “Parity” นั่นเอง


ทฤษฎี PPP มีหลักการอย่างไร?

ทฤษฎี PPP มีความสำคัญขนาดไหน? แล้วทำไมถึงต้องใช้ทฤษฎีนี้? เอาล่ะ! เราเชื่อว่านักลงทุนแต่ละท่านมีจุดประสงค์ในการใช้ทฤษฎี PPP แตกต่างกัน โดยนักลงทุนบางท่านอาจใช้หลักการ PPP เพื่อเปรียบเทียบ:

  1. ผลการดำเนินการทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
  2. เศรษฐกิจของประเทศไหนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
  3. มองภาพรวมของสภาวะทางเศรษฐกิจระดับโลก

ที่สำคัญ อัตรา PPP ยังมีประโยชน์ต่อมูลค่าหุ้น ผู้ถือหุ้นกู้ หรือแม้กระทั่งนักลงทุนทั่วไป เนื่องจากท่านสามารถนำอัตรา PPP มาใช้คาดการณ์ความผันผวนในการลงทุนได้ ถามว่าทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อนักเทรดคู่เงินหรือ Forex ยังไง? คำตอบง่ายๆ คือ มันใช้บอกได้ว่าคู่เงินใดที่เริ่มอ่อนค่านั่นเองครับ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ทฤษฎี PPP ในทางเศรษฐศาสตร์

นักวิเคราะห์จะแบ่งทฤษฎีนี้ออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่:

  • Absolute Purchasing Power Parity (APPP) – หรือทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อโดยสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของทฤษฎี PPP ที่จะบ่งบอกว่าสินค้าและบริการของแต่ละประเทศมีมูลค่าเท่ากันหลังเปลี่ยนแปลงค่าเงินตามอัตราแลกเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนสกุลเงินต่างๆ เป็นค่าเงิน USD นั่นเองครับ
  • Relative Purchasing Power Parity (RPPP) – หรือทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อโดยเปรียบเทียบ เป็นหลักการที่ต่อยอดมาจากหลักการ APPP พื้นฐานก่อนหน้า โดยมีข้อแตกต่างคือ RPPP จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง

วิธีนำหลักการ Purchasing Power Parity ไปใช้

โดยทั่วไปแล้ว ทฤษฎี PPP จะเป็นอัตราตัวเลขที่เป็นการวัดและบ่งบอกสภาวะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชากรในแต่ละประเทศ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลักการนี้เกี่ยวข้องและถูกนำไปใช้ในการประเมิน GDP ของประเทศนั้นๆ

นอกจากนี้ นักเทรดและนักลงทุนยังสามารถทฤษฎี PPP ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจ สภาวะความยากจน ซึ่งก็จะมีผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาด หรือการคาดการณ์ราคาล่วงหน้า

การนำทฤษฎี PPP ไปใช้เทรด Forex

นักเทรดสามารถวิเคราะห์หลักการ PPP เพื่อใช้คาดการณ์และวางแผนการลงทุนเทรดคู่เงิน Forex ในระยะยาวได้ เพราะอัตรา PPP จะช่วยบอกได้ว่าคู่เงินไหนที่มีโอกาสทำกำไรได้ แล้วควรจะเปิดออเดอร์ขาย (Sell) หรือซื้อ (Buy)

อย่างไรก็ตาม นอกจากอัตรา PPP แล้ว เทรดเดอร์ควรใช้กลยุทธ์การเทรดแบบอื่นเพิ่มเติม เนื่องจากทฤษฎี Purchasing Power Parity จะเป็นการวิเคราะห์ความเสมอภาคของราคาเท่านั้น ไม่ได้ระบุราคาที่ถูกต้องแม่นยำจริงๆ ดังนั้น นักเทรดจะต้องอาศัยเครื่องมือเทรดอื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นอินดิเคเตอร์วิเคราะห์กราฟ การวิเคราะห์ตลาด และปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ เป็นต้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน