ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

สเปรด (Spread) คืออะไร? แนะนำสเปรดสำหรับมือใหม่หัดเทรด Forex

หนึ่งในข้อดีของการเทรดคู่เงินหลักในตลาด Forex คือท่านสามารถลงทุนได้โดยไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย แต่ในขณะเดียวกันท่านก็อาจต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในรูปแบบของสเปรดซึ่งจะถูกนำมาคำนวณรวมกับราคาคู่เงินทุกครั้งที่ท่านออกออเดอร์นั่นเอง

None

โบรกเกอร์ที่ให้บริการเลเวอเรจจะคิดค่าสเปรดแทนค่าธรรมเนียมในการเทรด ซึ่งแต่ละโบรกก็จะมีขนาดสเปรดที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความผันผวน ประเภทคู่เงิน และคู่เงินที่ท่านเลือกเทรด

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักว่าสเปรดคืออะไร รวมถึงประเภทของสเปรด วิธีคำนวณสเปรด และวิธีหาสเปรดโดยใช้เครื่องมือทางเทคนิค (Forex indicator)

สเปรดในการเทรด Forex คืออะไร?

สเปรด (Spread) คือ ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ (Ask) และราคาขาย (Buy) หรือที่เรียกกันว่าราคา ‘Bid’ และราคา ‘Sell’ นั่นเองครับ โดยราคาทั้ง 2 แบบมีข้อแตกต่างกันคือ:

  • ราคา Bid คือ ราคาซื้อที่ผู้ซื้อต้องการซื้อและผู้ขายสามารถขายได้ทันที
  • ราคา Ask คือ ราคาขายที่ผู้ขายต้องการขายและผู้ซื้อสามารถซื้อได้ทันที

ข้อควรรู้: ราคา Ask จะสูงกว่าราคา Bid (ค่าเงินอ้างอิงจะอยู่ด้านขวา และค่าเงินหลักจะอยู่ด้านซ้าย)

วิธีอ่านค่าสเปรดแบบง่ายๆ

หากจะให้เข้าใจค่าสเปรดง่ายขึ้น ขอบอกว่าสเปรดก็คือส่วนต่างราคาที่มีหน่วยเป็น Pip นั่นเอง โดยค่า Pip ก็คือหน่วยการเปลี่ยนแปลงของราคาคู่เงินซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าเท่ากับ 0.0001 (บางครั้งอาจมีค่าที่ต่างจากนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อกำหนดของโบรกเกอร์แต่ละเจ้า) โดยคู่เงินหลักทั้งหมดจะมีค่า pip ดังที่กล่าวมา ยกเว้นเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่มีค่า Pip เท่ากับ 0.01

ทั้งนี้ หากท่านสังเกตเห็นสินทรัพย์ที่มีสเปรดกว้างๆ นั่นหมายความว่าส่วนต่างระหว่างราคา Bid และราคา Ask นั้นค่อนข้างมาก ซึ่งตีความได้ว่าสินทรัพย์นั้นมีความผันผวนสูงและมีสภาพคล่องต่ำ แต่ถ้าหากสินทรัพย์นั้นมีสเปรดแคบก็หมายความว่าสินทรัพย์นั้นมีความผันผวนต่ำและมีสภาพคล่องสูง ซึ่งก็มีค่าสเปรดไม่มากนั่นเอง

ประเภทของสเปรด

สเปรดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ สเปรดคงที่ (Fixed spread) และสเปรดแปรผัน (Variable spread) โดยตราสารแต่ละรายการก็จะมีค่าสเปรดในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ดัชนี (Indices) จะมีค่าสเปรดแบบ Fixed spread ในขณะที่คู่เงิน Forex มักจะมาพร้อมกับสเปรดแบบ Variable spread โดยเมื่อราคาเปลี่ยน ค่าสเปรดก็จะเปลี่ยนเช่นกัน

ข้อดีและข้อเสียของสเปรดคงที่ (Fixed spread):

  • คำนวณค่าดำเนินการธุรกรรมได้ง่าย
  • เหมาะสำหรับนักเทรดมือใหม่และมืออาชีพ
  • ไม่ต้องใช้เงินทุนมาก
  • ไม่ผันแปรตามความผันผวนของตลาด
  • อาจเกิด Slippage ได้ (ราคาไหลไปแมทช์ที่ราคาอื่นต่างจากที่ตั้งไว้)

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ข้อดีและข้อเสียของสเปรดแปรผัน (Variable Spreads):

  • ไร้ความเสี่ยงในการ Reqoute 
  • ทำให้เห็นสภาพคล่องของตลาด
  • ขนาดสเปรดอาจกว้างกว่าที่คาด
  • สามารถคาดการณ์ค่าสเปรดได้ยาก
  • เหมาะสำหรับนักเทรดมืออาชีพเท่านั้น

ที่สำคัญ เทรดเดอร์จะต้องเข้าใจหลักการสำคัญของสเปรดทั้ง 2 แบบก่อนเริ่มเทรดหรือเปิดบัญชีจริง และอย่าลืมเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือตัวช่วยคำนวณค่าสเปรดก่อนเริ่มเทรดด้วยล่ะ

เทคนิคการหาสเปรด​

ในการเทรดคู่เงิน ท่านสามารถสังเกตตัวบ่งชี้ค่าสเปรดได้จากเส้นโค้งที่เบี่ยงเบนทิศทางไปจากราคา Ask หรือราคา Bid โดยค่าสเปรดของคู่เงิน Forex จะแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ ในตลาด ซึ่งได้แก่ สภาพคล่อง ข่าวตัวเลขสำคัญ และเหตุการณ์เศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดเกิดความผันผวน

เพื่อเตรียมความพร้อมในการเทรดและเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจเทรด เราขอแนะนำให้ท่านหมั่นติดตามปฏิทินเศรษฐกิจซึ่งจะช่วยให้ท่านคาดการณ์จังหวะที่ค่าสเปรดจะกว้างขึ้นได้ และที่สำคัญอย่าลืมเฝ้าจับตาข่าวเศรษฐกิจและตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งจะส่งผลต่อค่าสเปรดต่อไป โดยหากคู่เงินที่ท่านสนใจนั้นเป็นที่นิยมและมีปริมาณการซื้อขายหรือ Volume ที่เยอะ แน่นอนว่าสเปรดก็จะน้อยกว่าคู่เงินที่คนไม่ค่อยนิยมเทรดหรือมี Volume ไม่มากนั่นเอง 

สรุปเกี่ยวกับสเปรด

สรุปง่ายๆ ได้ว่าสเปรดคือส่วนต่างระหว่างราคา Ask และราคา Bid โดยสเปรดมีทั้งหมด 2 ประเภทหลักแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ ในตลาด ซึ่งในการคำนวณค่าสเปรด นักเทรดจะต้องอาศัย Pip ที่เป็นตัวบ่งบอกความเคลื่อนไหวของระดับราคา โดยท่านสามารถสังเกตได้ชัดเจนว่าคู่เงินหลักที่มีการซื้อขายเกิดขึ้นจำนวนมากมักจะมีสเปรดที่แคบ แต่ถ้าหากท่านต้องการเทรดคู่เงินที่สเปรดกว้างล่ะก็… อย่าลืมติดตามข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญทางการเงินอยู่เสมอด้วยล่ะ!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน