ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

“Dow Theory” คืออะไร? สอนวิธีเทรดด้วยทฤษฎีดาวแบบง่ายๆ

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเทรดที่นักเทรดยังคงใช้ในการ วิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ในปัจจุบัน โดยเมื่อนำทฤษฎีนี้ไปใช้ร่วมกับกราฟราคา ท่านก็จะเข้าใจมุมมองภาพรวมต่างๆ ของตลาดอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มราคาหรือความเคลื่อนไหวในตลาด

None

แม้ว่าทุกวันนี้นักเทรดสายเทคนิคจะมีวิธีการหรือเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ตลาดประกอบการตัดสินใจในการเทรดแบบที่แตกต่างไปจากในอดีต แต่รู้ไหมว่าทฤษฎีวิเคราะห์การเทรดที่มีการคิดค้นและใช้กันเมื่อนานมาแล้ว ยังคงมีประโยชน์และใช้เทรดได้จริงในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นก็คือ Dow Theory นั่นเองครับ ในบทความวันนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับทุกสิ่งที่ท่านควรรู้เกี่ยวกับทฤษฏีดาว พร้อมวิธีการเทรดด้วยทฤษฎีนี้

จุดเริ่มต้นของ Dow Theory

ทฤษฎี Dow ถูกคิดค้นขึ้นโดยนาย Charles Dow ระหว่างที่เขากำลังศึกษาและเรียบเรียงงานเขียนเกี่ยวกับการเทรดในปี 1900 อย่างไรก็ตาม นาย Dow ได้เสียชีวิตลงก่อนที่ทฤษฎีนี้จะสำเร็จ ทำให้ทฤษฎีดังกล่าวตกมาอยู่ในมือของนาย Robert Rhea ที่ได้พัฒนาต่อและนำมาใช้กันทั่วไปในปี 1932

อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎี Dow

ว่าแต่ Dow Theory คืออะไร? และทฤษฎีนี้มีหลักการอย่างไร? มาเริ่มกันเลยครับ! ทฤษฎี Dow ทำให้นักลงทุนทราบว่าจะนำตลาดหุ้นมาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทางเศรษฐกิจอย่างไร เช่น การคาดการณ์ภาวะธุรกิจ เป็นต้น เรียกได้ว่าทฤษฎี Dow เป็นทฤษฎีแรกๆ ที่อธิบายความเคลื่อนไหวของตลาดเป็นเทรนด์ โดยถึงแม้ทฤษฎีนี้จะถูกคิดค้นขึ้นมาเนิ่นนานในอดีต แต่ก็ยังมีผลสำคัญต่อมุมมองต่างๆ ในปัจจุบัน ดังนี้:

1. ตลาดหุ้นสะท้อนภาพข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ

หลักการนี้เข้าใจไม่ยากเลยครับ ท่านสามารถคาดการณ์ข่าวและข้อมูลสำคัญต่างๆ จากความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้น สิ่งสำคัญคือท่านจะต้องติดตามตัวเลขดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นให้ดี เนื่องจากตัวเลขเหล่านั้นจะบ่งบอกได้ถึงผลประกอบการของบริษัท, การเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ, ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และอื่นๆ อีกมากมาย

2. เทรนด์ตลาดที่สำคัญ 3 แบบ

อย่างที่เราทราบกันดีว่าตลาดนั้นเคลื่อนไหวแบบมีเทรนด์ โดยเทรนด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่:

  • เทรนด์ใหญ่ (Primary or Major trend) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่บ่งบอกความเคลื่อนไหวของตลาดในระยะยาว (อาจเป็นระยะเวลาหลายปี)
  • เทรนด์รอง (Secondary trend) เป็นเทรนด์ที่ตรงกันข้ามกับเทรนด์ใหญ่ คือ ถ้าหากเทรนด์ใหญ่เป็นเทรนด์ขาขึ้น (Bullish) เทรนด์กลางก็จะเป็นเทรนด์ขาลง (Bearish)
  • เทรนด์เล็ก (Minor trend) จะเป็นเทรนด์ที่มีความผันผวน โดยเทรนด์ลักษณะนี้จะมีระยะเวลาตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงหลายสัปดาห์

3. ระยะเทรนด์แบ่งเป็น 3 ช่วงหลักๆ

ตามทฤษฎี Dow เราสามารถแบ่งเทรนด์ออกเป็น 3 ระยะหลักๆ ดังนี้:

  1. ช่วงสะสมหุ้น (Accumulation phase) เป็นช่วงที่เทรดเดอร์กำลังเข้าตลาดเพื่อเปิดคำสั่งซื้อขาย
  2. ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (Public participation) เป็นช่วงที่ตลาดมีความเชื่อมั่นและมีนักลงทุนให้ความสนใจมาลงทุนมากขึ้น
  3. ช่วงตื่นตระหนก (Panic phase) เป็นช่วงที่ตลาดอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) ซึ่งมีนักลงทุนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก (มีการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น)
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

4. ดัชนีตลาดทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน

ทฤษฎี Dow ยืนยันว่าดัชนีตลาดทั้งหมดมีความสัมพันธ์กันและสะท้อนภาพรวมของตลาดแบบเดียวกัน โดยหากดัชนีตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในขาขึ้น (ตัวอย่างเช่น Sensex) ดัชนีอื่นๆ ก็จะอยู่ในเกณฑ์บวกเช่นกัน

5. วอลุ่มเป็นตัวยืนยันเทรนด์

ปริมาณการซื้อขายในตลาด (วอลุ่ม) มีผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้น โดยวอลุ่มการซื้อขายที่สูงในช่วง Uptrend ส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6. เทรนด์ยังคงดำเนินต่อจนกว่าจะมีสัญญาณหยุด

ท่านจะต้องระลึกไว้เสมอว่าเทรนด์จะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าท่านจะเห็นสัญญาณว่าเทรนด์นั้นอาจมาถึงจุดสิ้นสุด พูดง่ายๆ ก็คือท่านควรมองข้ามสัญญาณรบกวน (Noise) ในตลาด และตัดสินใจเทรดตามการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคของตลาดอย่างละเอียด

สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับ Dow Theory

Dow Theory เป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว แต่นักลงทุนก็ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเนื่องจากทฤษฎีนี้ช่วยให้นักลงทุนเห็นภาพความเคลื่อนไหวในตลาดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ท่านควรทำความเข้าใจทฤษฎี Dow อย่างละเอียดเพื่อติดตามเทรนด์ของตลาดอย่างรวดเร็วและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน