ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

“ตราสารหนี้” คืออะไร? รู้จักประเภทตราสารหนี้ และองค์ประกอบสำคัญก่อนลงทุน

นักลงทุนมือใหม่บางท่านอาจสับสนและเข้าใจผิดคิดว่าตราสารหนี้คือหุ้น แต่จริงๆ แล้วตราสารหนี้นั้นแตกต่างจากหุ้นโดยสิ้นเชิง เพราะในขณะที่หุ้นสามารถออกได้โดยบริษัทเจ้าของหุ้นเท่านั้น แต่ตราสารหนี้ (Bond) สามารถออกได้โดยกระทรวงหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อเป็นการระดมเงินทุนได้ด้วยเช่นกัน โดยนักลงทุนที่ถือตราสารการเงินชนิดนี้จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสารหนี้ก็จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยในฐานะนักลงทุน ท่านจะได้รับผลตอบแทนจากการจ่ายอัตราดอกเบี้ยในระหว่างวันที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า

None

ว่าแต่… ตราสารหนี้คืออะไร? ตราสารหนี้แตกต่างจากหุ้นตรงที่ว่านักลงทุนจะไม่ได้เป็นเจ้าของหรือครอบครองสินทรัพย์ดังกล่าวเนื่องจากสินทรัพย์นั้นถือเป็นของกระทรวงหรือหน่วยงานของรัฐนั่นเองครับ ซึ่งนั่นหมายความว่าไม่ว่าองค์กรจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นหรือแย่ลงก็จะไม่มีผลต่อตราสารหนี้ สิ่งที่สำคัญเพียงอย่างเดียวคือองค์กรนั้นๆ จะมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะจ่ายคืนหรือเปล่าเมื่อวันที่กำหนดได้มาถึง

องค์ประกอบหลักของตราสารหนี้

การลงทุนตราสารหนี้ทำให้ท่านได้กระจายการลงทุนในหลายๆ พอร์ท ซึ่งมีข้อดีอย่างแรก คือ ช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง และข้อดีต่อมาในการลงทุนตราสารหนี้ คือ การให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างมั่นคงนั่นเอง

แต่ก่อนที่เราจะไปพูดถึงประเภทของตราสารหนี้ มาทำความรู้จักองค์ประกอบสำคัญของตราสารหนี้กันก่อนดีกว่าครับ เพราะองค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจได้ว่าควรลงทุนตราสารหนี้หรือไม่:

  1. มูลค่าที่ตราไว้ (Face Value) เป็นมูลค่าโดยรวมที่ท่านจะได้เมื่ออายุตราสารหนี้นั้นสิ้นสุด พูดง่ายๆ ก็คือมูลค่าของตราสารหนี้เมื่อถึงกำหนดวันไถ่ถอนนั่นเอง
  2. กำหนดไถ่ถอน (Maturity) คือวันที่ที่ผู้ออกตราสารหนี้จะต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับผู้ถือตราสารหนี้หรือนักลงทุน
  3. อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ระดับอัตราดอกเบี้ยที่นักลงทุนจะได้รับจากผู้ออกตราสาร โดยอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วจะขึ้นอยู่กับมูลค่าตราสารที่ตราไว้
  4. วันจ่ายผลตอบแทน (Coupon Date) คือวันที่ท่านจะได้รับการจ่ายดอกเบี้ย โดยระยะเวลาการจ่ายนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกตราสารจะกำหนดระยะวันแบบไหน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการจ่ายผลตอบแทนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณสองครั้งต่อปี
  5. ราคาต้น (Issue Price) คือ ราคาที่รัฐหรือองค์กรต่างๆ ออกตราสารหนี้ดังกล่าว

เอาล่ะ! ต่อไปได้เวลามาทำความรู้จักประเภทหลักๆ ของตราสารหนี้กันแล้ว

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ประเภทตราสารหนี้

ตราสารหนี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ แตกต่างกันไปตามหน่วยงานที่เป็นผู้ออกตราสารและปัจจัยสำคัญอื่นๆ:

  • หุ้นกู้ (Corporate bond) – เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทภาคเอกชนที่ไม่ต้องการกู้ยืมจากธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ ซึ่งจะได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีเงื่อนไขการกู้ยืมที่ดี
  • หุ้นกู้เทศบาล (Municipal bond) – ออกโดยหน่วยงานราชการระดับรัฐหรือท้องถิ่น โดยอาจจะเป็นตราสารหนี้ที่ปลอดภาษีซึ่งเอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนไปอีกขั้น
  • พันธบัตรรัฐบาล (Government bond) – ออกโดยหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นตราสารหนี้ที่หลายท่านรู้จักกันในนามพันธบัตรรัฐบาลซึ่งถือเป็นหนี้ระดับประเทศ (Sovereign debt) โดยระยะเวลาในการกำหนดไถ่ถอนจะมีตั้งแต่ระยะปีเดียว ไปจนถึงหลาย 10 ปีเลยก็ได้
  • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (Agency bond) – ตราสารหนี้ประเภทนี้ออกโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแต่ได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาล

หลังจากที่ท่านได้รู้จักประเภทหลักของตราสารหนี้แล้ว ได้เวลามาทำความรู้จักตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ ในมุมมองของนักลงทุนกันบ้าง

ตราสารหนี้ถือเก็บ vs. ตราสารหนี้แบบซื้อขายได้

ตราสารหนี้แบบถือเก็บ (Holding bond) คือ สินทรัพย์ที่ท่านซื้อเพื่อถือเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อเก็บสะสมอัตราดอกเบี้ยในระหว่างนั้นและรอให้ถึงวันกำหนดไถ่ถอนเพื่อให้ผู้ออกตราสารหนี้จ่ายตามมูลค่าที่ตราไว้ พูดง่ายๆ ก็คือท่านเพียงแค่ซื้อตราสารหนี้นั้นแล้วถือเอาไว้จนกระทั่งถึงวันจ่ายคืนนั่นเอง

ตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ (Trading bond) คือ ประเภทของตราสารหนี้ที่ท่านสามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ในตลาด โดยเมื่อรัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ ออกตราสารหนี้ดังกล่าวออกมา ราคาเริ่มต้นอาจเปลี่ยนไปหรือผันผวนไปเช่นเดียวกับราคาหุ้น ดังนั้น นักลงทุนอาจรอจังหวะขายเพื่อทำกำไรจากมูลค่าตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์จะต้องเข้าใจว่าราคาที่ผันผวนนั้นไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยผู้ออกตราสารหนี้ และจะไม่มีผลต่อผลตอบแทนที่ท่านจะได้รับในภายหลังตามมูลค่าที่ตราไว้

สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับตราสารหนี้

ทุกท่านคงพอทรายแล้วว่าตราสารหนี้หรือพันธบัตรคืออะไร และจะซื้อขายสินทรัพย์นี้ได้อย่างไรบ้าง ถึงแม้ท่านอาจสับสนเล็กน้อยเมื่อเริ่มลงทุนตราสารหนี้ใหม่ๆ แต่รับรองได้เลยว่าเมื่อท่านได้เริ่มเรียนรู้หลักการพื้นฐานในการลงทุนตราสารหนี้ รวมถึงองค์ประกอบสำคัญของตราสารหนี้ ท่านก็จะเข้าใจเกี่ยวกับกับการลงทุนรูปแบบนี้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญ การค้นหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้ออกตราสารหนี้ก็จะช่วยให้ท่านเข้าใจตราสารหนี้แต่ละประเภทได้ ซึ่งถ้าหากท่านเข้าใจหลักการลงทุนตราสารหนี้ ประเภทตราสารหนี้ และวิธีจ่ายผลตอบแทนของตราสารหนี้แล้วล่ะก็ ท่านจะกลายเป็นนักลงทุนตราสารหนี้แบบมืออาชีพได้ไม่ยาก!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน