DeFi (หรือ Decentralized finance) เป็นทางเลือกใหม่ในการดูแลบริการด้านการธนาคารและการเงิน โดยแนวคิดหลักของแพลตฟอร์ม DeFi คือการจัดการการชำระเงินแบบบุคคลต่อบุคคลที่เกิดขึ้นภายในเครือข่ายบล็อคเชน ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถหลีกเลี่ยงบุคคลที่สามและตัวกลางทางการเงิน เช่น โบรกเกอร์หรือธนาคาร ปัจจุบันเราเรียกมันว่าธนาคารที่ไม่ต้อง “อาศัยความไว้ใจ” แม้แต่น้อย
ในบทความวันนี้ เราจะอธิบายว่า DeFi คืออะไร มีหลักการอย่างไร ตลอดจนข้อดีและข้อเสียหลักของการทำธุรกรรมแบบ DeFi
ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว "DeFi" หรือ Decentralized finance หมายถึงการเงินแบบกระจายอำนาจ โดยได้รับการพัฒนาเพื่อให้บริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางธุรกิจและส่วนบุคคล ลูกค้าสามารถทำธุรกรรม โอนเงิน และอื่นๆ ได้ ขณะที่บริษัทต่างๆ มีโอกาสในการขายประกัน และให้สินเชื่อ เงินฝาก และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ
สำหรับนักลงทุน แพลตฟอร์ม DeFi สามารถเปลี่ยนเป็นบัญชีธนาคารส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องมีธนาคาร ผู้ใช้บริการสามารถส่งเงินได้เร็วกว่าและได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับที่มีในบัญชีธนาคารทั่วไป หมายความว่าไม่มีค่าธรรมเนียมธนาคารและคอมมิชชั่นตลอดจนความสามารถในการส่งเงินไปทุกที่ทั่วโลก
DeFi ใช้และขยายพื้นที่พื้นฐานของ BTC ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันเรามีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพพอเพียงที่จะมาทดแทนตลาด Wall Street แบบเดิมๆ โดยความแตกต่างระหว่างการแลกเปลี่ยนแบบธรรมดาและแพลตฟอร์ม DeFi คือ DeFi เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาพื้นที่การซื้อขาย เงินเดือนของโบรกเกอร์ ค่าธรรมเนียมธนาคาร ฯลฯ
แต่ DeFo ก็ยังมีข้อดีอื่นๆ ได้แก่:
เอาล่ะ มาดูกันว่าผู้ใช้งานและนักลงทุนในตลาดต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากการใช้ DeFi อย่างไร
ในการดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์ ผู้ใช้งานจะต้องใช้แอพ DeFi หรือที่เรียกว่า dapps ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาให้ทำงานภายในบล็อกเชนที่ใช้ Ethereum ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ในการใช้แอปนี้ ท่านไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น
ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้บริการผ่าน DeFi ได้แก่:
ธุรกรรมการเงินแบบใหม่นี้มีค่าธรรมเนียมต่ำและการทำธุรกรรมที่รวดเร็วก็จริง อย่างไรก็ตาม DeFi ก็ยังมีข้อเสียบางอย่างที่ผู้ใช้ควรทำความเข้าใจ
ประการแรก การซื้อขายที่ซื้อขายอยู่ยังคงมีราคาแพงมากแม้ว่าจะไม่มีตัวกลางและค่าธรรมเนียมจากบุคคลที่สามก็ตาม อัตราการทำธุรกรรมบน Ethereum blockchain นั้นผันผวนตลอดเวลาทำให้ยากต่อการคาดเดาในระยะสั้นๆ
ประการที่สอง แอพ DeFi บางตัวอาจมีความผันผวนสูง อีกทั้งผู้ใช้เป็นเพียงคนเดียวที่รับผิดชอบในการเก็บรักษาบันทึกภาษีต่างๆ และยังมีข้อจำกัดของแต่ละภูมิภาคในการใช้บริการ DeFi อีกด้วย
DeFi เป็นบริการธุรกรรมการเงินที่มีศักยภาพมหาศาล และถูกพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินทางเลือกตามธุรกรรมแบบ peer-to-peer ภายใน Ethereum blockchain โดยเทคโนโลยีใหม่นี้ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขณะที่ค่าคอมมิชชั่นที่ต่ำกว่า
ในทางกลับกัน ก็มีข้อเสียและข้อควรระวังที่ผู้ใช้งานควรทำความเข้าใจ นอกจากนี้ อย่าลืมคำนึงถึงอัตราการถูกหลอกลวงและฉ้อโกงที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ก่อนตัดสินใจใช้บริการ DeFi ล่ะ
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน