ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

อธิบายแพทเทิร์น Ending Diagonal สำหรับมือใหม่

หากพูดถึงแพทเทิร์น Ending diagonal นักเทรดมือใหม่คงอาจยังไม่ทราบว่าแพทเทิร์นดังกล่าวคืออะไร แต่ถ้าพูดถึงรูปแบบ “Wedge” หลายคนก็อาจร้องอ่อทันที! แต่รู้ไหมครับว่าแพทเทิร์นกราฟทั้ง 2 นั้นเป็นตัวบอกสัญญาณการกลับตัวแบบเดียวกัน อยู่ที่ว่าใครจะถนัดเรียกว่าอะไรมากกว่า แต่สำหรับเทรดเดอร์สายวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคแล้วล่ะก็… เราเชื่อว่าท่านจะต้องรู้จัก ending diagonal อย่างแน่นอน

None

เมื่อเริ่มเทรดมาได้สักระยะหนึ่ง เทรดเดอร์อาจต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคลื่นราคาในกราฟให้มากยิ่งขึ้น หรืออย่างน้อยๆ ก็ต้องบอกได้ว่าคลื่นแต่ละลูกนั้นเป็นคลื่นรูปแบบใด มีผลอย่างไรต่อความเคลื่อนไหวของราคาต่อไป หรือคลื่นดังกล่าวอาจเป็น ending diagonal หรือเปล่า? ที่คลื่นมีความสำคัญก็เพราะว่ามันจะช่วยบอกได้ว่ากราฟราคาอยู่ในเทรนด์นั้นมานานเกินไปแล้วหรือยัง หรือจริงๆ แล้วกราฟกำลังจะมีการเปลี่ยนเทรนด์ ดังนั้น หากท่านสังเกต ending diagonal เป็นก็จะสามารถจัดการความเสี่ยงในการเทรดและป้องกันการเทรดขาดทุนได้

องค์ประกอบหลักของแพทเทิร์น Ending Diagonal

แพทเทิร์นนี้มีองค์ประกอบเป็นคลื่น 5 ลูก และเรียกชื่อคลื่นเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 เรียงตามลำดับ โดยในคลื่นใหญ่แต่ละลูกจะแบ่งออกเป็นคลื่นย่อยอีก 3 ลูก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจำนวนคลื่นทั้งหมดแล้ว คงไม่แปลกที่นักเทรดมือใหม่อาจมีความสับสนบ้างในช่วงแรกๆ

แต่เอาเข้าจริงแล้ว การดูคลื่นนั้นอาจไม่ยากอย่างที่ท่านคิด เพราะท่านสามารถระบุคลื่นได้ด้วยหลักการง่ายๆ ดังนี้:

  • คลื่นลูกที่ 1 และ 4 จะอยู่ ณ ระดับราคาเดียวกัน
  • คลื่นลูกที่ 3 จะต้องไม่สั้นกว่าหรืออยู่ต่ำกว่าคลื่นลูกที่ 1 และ 5 
  • ส่วนใหญ่คลื่นลูกที่ 1 จะมีความยาวมากที่สุด (แต่ไม่เสมอไป)
  • คลื่นลูกที่ 5 คือ Impulse wave หรือคลื่นที่เคลื่อนไหวตามทิศทางของเทรนด์หลัก
  • คลื่นลูกที่ 2 จะต้องไม่ฟอร์มตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • คลื่นลูกที่ 1, 3 และ 5 จะเป็นคลื่นที่มีความซิกแซกมากที่สุด

ถึงแม้เทรดเดอร์อาจมอง ending diagonal เป็น motion wave ได้เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วแพทเทิร์นทั้ง 2 แบบนั้นค่อนข้างแตกต่างกัน เนื่องจากมันอาจฟอร์มตัวจบเป็นลักษณะซิกแซกในที่สุด ซึ่งถ้าหากเทรดเดอร์สังเกตเห็นลักษณะของแพทเทิร์นที่ค่อนข้างซับซ้อนแบบนี้ อย่าเพิ่งสับสนล่ะครับ หากท่านได้สังเกตคลื่นบ่อยๆ ก็จะเข้าใจมันมากยิ่งขึ้น เพราะคลื่นมักจะมีลักษณะเป็นแบบนี้อยู่เสมอ และบางครั้งเมื่อคลื่นมีความซิกแซกเกิดขึ้นแล้ว ก็อาจมีโอกาสฟอร์มตัวซิกแซกเพิ่มต่อไปได้อีกเช่นกัน

ประเภทและรูปแบบของแพทเทิร์น Ending Diagonal

Ending diagonal แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. Contracting ending diagonal ที่มี wave 1 ยาวมากที่สุด
  2. Expanding ending diagonal ที่มี wave 1 สั้นมากที่สุด

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

แต่ไม่ว่า diagonal ending ที่ท่านเห็นจะเป็นรูปแบบใด อย่าลืมว่า wave 3 จะต้องไม่ใช่คลื่นลูกที่สั้นที่สุด (อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น) อย่างไรก็ดี เมื่อเทรดเดอร์กำลังเทรดในสภาวะตลาดจริง เราขอแนะนำให้ท่านใช้ contracting ending diagonal เนื่องจากรูปแบบนี้จะมีความปลอดภัยมากกว่าหรือเสี่ยงน้อยกว่านั่นเอง 

ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเทรด เทรดเดอร์ควรเริ่มเปิดคำสั่งซื้อขายด้วยปริมาณน้อยๆ และใช้เงินลงทุนครั้งละไม่มากจนเกินไป และเมื่อคำนวณจากออเดอร์ทั้งหมดที่เปิดอยู่ ควรมีปริมาณไม่มากเกิน 5% 

วิธีเทรดด้วยแพทเทิร์น Ending Diagonal Pattern

ก่อนจะเริ่มเปิดคำสั่งซื้อขาย ท่านจะต้องสังเกตว่า wave 5 ในกราฟนั้นทำรูปแบบซิกแซกเพียงครั้งเดียว หรือทำรูปแบบซิกแซกเป็นครั้งที่สองหลังมีการฟอร์มตัวเป็นซิกแซกครั้งหนึ่งแล้ว โดยขั้นตอนการเทรดด้วยแพทเทิร์น ending diagonal มีดังนี้

  1. ลากเส้นเทรนด์ (Trend line) เชื่อมระหว่างจุด High ของ wave 2 และ wave 4
  2. เปิดคำสั่งซื้อขายเมื่อราคาเบรคทะลุเส้น trend line ไปแล้ว และรอให้ wave 5 ทำราคา low
  3. ตั้ง stop loss ณ ระดับต่ำกว่าจุด low ของ wave 5
  4. ตั้งจุดทำกำไร ณ ตำแหน่งเริ่มต้นของ wave 1

สรุปเกี่ยวกับแพทเทิร์น Ending Diagonal 

แพทเทิร์น ending diagonal จะฟอร์มตัวเป็นรูปซิกแซก หรือ impulse ณ ตำแหน่งสุดท้ายของคลื่นแต่ละลูก ซึ่งในบางครั้งคลื่นก็อาจจะฟอร์มตัวเป็นรูปแบบอื่นๆ ที่มีความซับซ้อนมากกว่าซิกแซกได้เช่นกัน โดยตำแหน่งของแพทเทิร์นและจำนวน wave จะเป็นตัวบ่งบอกลักษณะรูปแบบของกราฟหลังมีการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบ ending diagonal 

หากเทรดเดอร์เลือกใช้แพทเทิร์นนี้ ท่านจะต้องเทรดตามหลักการซื้อขายอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมว่าท่านไม่ควรที่จะหักโหมเทรดครั้งละมากๆ เพื่อให้เทรดชนะหรือได้กำไรภายในครั้งเดียว แต่จงเทรดอย่างมีวินัยและบริหารความเสี่ยงในการเทรดอยู่เสมอ เพราะปัจจัยสำคัญเหล่านี้จะช่วยให้กลยุทธ์เทรดที่ท่านใช้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน