วัน “Turnaround Tuesday” มีบทบาทในช่วงการซื้อขายทางฝั่งเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากนักลงทุนในตลาดทำการประเมินปัจจัยทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการการเทขายอย่างหนักในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงหลากหลายรายการในวันก่อนหน้า นอกจากนี้ การขาดการรายงานข่าวสารสำคัญที่ส่งผลเชิงลบต่อความเสี่ยงจากตะวันออกกลาง จีน และสหรัฐฯ ยังช่วยให้นักลงทุนสามารถค่อยๆฟื้นตัวได้อีกด้วย
ด้วยปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) แสดงการดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบเจ็ดเดือน และทดสอบการปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้านี้ของค่าเงินยูโรและค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) โดยสังเกตได้ว่า คู่เงิน GBPUSD ยังคงผันผวน เป็นผลมาจากปัจจัยกระตุ้นจากสหราชอาณาจักรยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ขณะที่ คู่เงิน AUDUSD ไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับสถานะบารอมิเตอร์ความเสี่ยงได้ เนื่องจากการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ยังไม่มีประเด็นสำคัญใหม่
นอกจากนี้ คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD ยังคงถูกกดดัน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนหลังจากดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ในช่วงต้นวัน ราคาทองคำยังคงขาดทิศทางที่ชัดเจน ในขณะที่การฟื้นตัวเบื้องต้นจากระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ชะลอตัวลง และกำลังทดสอบการร่วงลงติดต่อกันสามวัน ณ เวลาปัจจุบัน
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ยังฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และเดือนมกราคมตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีได้ทำการประเมินปัจจัยสำคัญก่อนหน้านี้ที่ท้าทายความเชื่อมั่นเชิงบวกของตลาดอีกครั้ง นอกจากนี้ สัญญาณทางการเมืองของสหรัฐฯ การรายงานข่าวเกี่ยวกับ spot ETF และการเคลื่อนไหวในหลากหลายทิศทางของสำนักงาน SEC ของสหรัฐฯ ยังช่วยให้ Bitcoin และ Ethereum ค่อยๆฟื้นตัวได้
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายต่อไปของธนาคารกลางสำคัญหลายแห่ง หรือความสงสัยเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมไปถึงการรายงานข่าวเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ตลาดต่างก็เผชิญกับภาวะตกต่ำอย่างหนักในช่วงสองวันที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การประเมินปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งรวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่มีทิศทางเป็นบวกและแถลงการณ์จากผู้กำหนดนโยบายของ Fed ยังช่วยให้สภาวะความเสี่ยงในตลาดมีเสถียรภาพขึ้น
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM ของสหรัฐฯประจำเดือนกรกฎาคมออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและการดำเนินนโยบายของ Fed ที่ยังไม่มีความชัดเจนนั้นผ่อนคลายลง นอกจากนี้ ความคิดเห็นในแง่บวกของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำซานฟรานซิสโก Mary Daly และผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโก Alan Goolsbee ยังช่วยกระตุ้นสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยง และช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถชะลอการร่วงลงก่อนหน้านี้ได้
แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะสามารถชะลอการร่วงลงก่อนหน้านี้ แต่คู่เงิน EURUSD กลับถอยตัวลงจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2024 โดยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน Sentix ของยูโรโซนตกต่ำลง ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวดีขึ้น
นอกจากนี้ ตัวเลขยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรที่ออกมาผสมผสาน และความล้มเหลวของรัฐมนตรีคลัง Reeves ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดเกี่ยวกับความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ยังส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน GBPUSD อีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY มีการเคลื่อนไหวอย่างโดดเด่น โดยเริ่มต้นด้วยการร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือน ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาครึ่งหนึ่ง ท่ามกลางความเชื่อมั่นเชิงบวกในญี่ปุ่นจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรี Hayashi และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Suzuki
ถัดมา คู่เงิน AUDUSD ค่อยๆฟื้นตัวหลังร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 เนื่องจากผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ส่งสัญญาณถึงการดำเนินนโยบายการเงินที่แข็งกร้าว แม้จะยังคงนโยบายการเงินเดิมไว้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีนและความลังเลของนักลงทุนในตลาดยังได้ท้าทายแรงเทซื้อสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดา ด้วยเช่นกัน
อีกทางด้านหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบกำลังรอสัญญาณเพิ่มเติมจากตะวันออกกลางและการรายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ขณะที่แกว่งตัวอยู่ต่ำกว่าระดับ $74.00 หลังจากดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบหกเดือนเมื่อช่วงท้ายวันจันทร์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ราคาทองคำทรงตัวในระดับต่ำ แม้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดจะเปลี่ยนแปลงไป เป็นผลมาจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่านั้นได้ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำร่วงลงติดต่อกันสามวัน แม้อยู่ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยแบบดั้งเดิม
หลังจากติดตามปฏิกิริยาของตลาดต่อการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการคงนโยบายการเงินของ RBA ปฏิทินเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของวันอังคารจึงค่อนข้างว่างเปล่า อย่างไรก็ดี ตัวเลขยอดค้าปลีกรายเดือนของยูโรโซนและข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์จากสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) อาจดึงดูดความสนใจนักเทรดรายวัน เหนือสิ่งอื่นใด การรายงานข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับทิศทางความเสี่ยงและโมเมนตัมของตลาดตราสารหนี้และหุ้นจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อทิศทางในระยะใกล้ของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัปดาห์นี้ที่ขาดการรายงานปัจจัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐฯอาจสามารถรักษาระดับการดีดตัวขึ้นล่าสุดและสร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ได้ ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY และคู่เงิน USDCHF อาจได้รับผลกระทบจากการดีดตัวขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯนี้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!