หลังจากการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก ความเชื่อมั่นของตลาดเปลี่ยนไปเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นช่วยตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในสภาวะที่ความเชื่อมั่นสั่นคลอนนี้ร่วมกับความกลัวในความสามารถในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ RBA เมื่อเทียบกับการพูดคุยเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมของ Fed อาจจะส่งผลให้คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงได้
โดยปัจจัยที่หนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯคือ ความเชื่อมั่นที่ลดลงและการแถลงการณ์การดำเนินนโยบายการเงินที่ดุดันของ Powell ประธาน Fed ที่จะส่งผลให้ดอลลาร์พุ่งขึ้นสูงที่สุดในรอบหกสัปดาห์ ขณะที่ค่าเงิน USD ที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ราคาทองคำยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนที่แนวรับสำคัญที่ราวๆ $1,910
และเป็นที่น่าสังเกตว่าคู่เงิน GBPUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากยอดขายปลีกในสหราชอาณาจักรที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นรวมถึงความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ตัวเลขค่าดัชนี PMI ของเยอรมันที่ตกต่ำลงส่งผลต่อช่วงแนวโน้มขาลงของคู่เงิน EURUSD ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ตลาดในจีนปิดทำการติดต่อกันเป็นวันที่ 2 แต่ทิศทางของตลาดอื่นๆในโซนเอเชียแปซิฟิกกลับไม่มีความเคลื่อนไหวท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ส่วนทางด้านคริปโต การปราบปรามนักลงทุนในอุตสาหกรรมของ SEC ฉุดให้ BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบเดือน แต่ความหวังเรื่องการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นก็ได้หนุนให้สถานการณ์กลับมาเป็นบวกได้ในภายหลัง
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ไม่ว่าจะเป็น CBRT, BoE และ Norges Central Bank ที่มีการดำเนินนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวเกินความคาดหมายหรือความพร้อมของประธาน Fed, Jerome Powell ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามปกติจาก SNB และธนาคารกลางส่วนใหญ่ที่ปักธงดำเนินการปรับดอกเบี้ยตาม "higher for longer" เมื่อวันก่อน ยังมีอัตราเงินเฟ้อระดับสูงในปัจจุบันและความตึงเครียดทางการเมืองที่เกี่ยวกับจีนและรัสเซีย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ต่างส่งผลกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการขับเคลื่อนของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้วยเหตุนี้ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คู่เงิน AUDUSD หุ้น ทองคำ และน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดัน ส่วนทางด้านคู่เงิน USDCAD ดูเหมือนจะยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น่าเซอไพรส์ของ BoC เมื่อต้นเดือนมิถุนายนยังคงหนุนค่าเงิน CAD
และเป็นที่น่าสังเกตว่าในสภาวะที่ความเชื่อมั่นสั่นคลอน ตลาดยังจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาร่วมกับตัวเลขค่าดัชนี PMIs ของวันนี้ เพื่อรักษาระดับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ยังไม่สามารถมองข้ามราคาตราสารหนี้ที่พุ่งขึ้นอย่างเต็มรูปแบบและการฟื้นตัวของทองคำได้อีกด้วย
เมื่อได้เห็นยอดค้าปลีกในสหราชอาณาจักรที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดและตัวเลขค่าดัชนี PMIs ของเยอรมันที่ลดลง รวมถึงรายงานตัวเลขเศรษฐกิจจากทั้งออสเตรเลียและญี่ปุ่น นักลงทุนในตลาดต่างเฝ้ารอตัวเลขค่าดัชนี PMIs จากสหราชอาณาจักร ยูโรโซน และสหรัฐอเมริกาสำหรับการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่านักลงทุนควรคาดการณ์ถึงความผันผวนที่อาจสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของวัน ที่อาจทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น เว้นแต่ว่ารายงานตัวเลขค่าดัชนี PMIs ของสหรัฐฯจะทำให้ผิดหวัง
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !