สกุลเงินดิจิทัลหลักสามารถรักษาระดับราคาที่เหนือ 49,000 ดอลลาร์ไว้ได้ ในขณะที่ ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีโดยรวมปรับตัวลดลงในวันอังคาร สอดคล้องกับทิศทางขาลงของตลาดหุ้น ซึ่งการปรับตัวลดลงของตลาดมีสาเหตุมาจากรายงานตัวเลขค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ล่าสุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคมสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยพบว่าตลาดมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 0.4% นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2023 ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นโดยรวมต่อปี 3.1%
ดัชนีสำคัญทั้งหมดปิดตลาดในแดนลบ โดย Nasdaq, S&P และ Dow ปิดตัวลดลงที่ 1.80%, 1.37% และ 1.35% ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน Bitcoin ก็เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ตอบรับรายงานค่าดัชนี CPI ในทางลบ แม้ราคาจะปรับตัวลงมาที่ 48,335 ดอลลาร์หลังจากแตะจุดสูงสุดในรอบ 2 ปี แต่ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของตลาดยังคงหนุนราคาให้ขยับขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ Bitcoin มีการซื้อขายเหนือแนวรับที่ราวๆ 49,400 ดอลลาร์
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มีความเชื่อมั่นในเชิงบวกต่อแนวโน้มระยะยาวของราคา Bitcoin ก่อนการลดลงครึ่งหนึ่ง (halving) ในเดือนเมษายน แม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนเตือนถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดลงอย่างรุนแรง แต่ราคา Bitcoin ก็ยังคงปรับตัวสูงขึ้นตามธรรมเนียมที่เคยเกิดขึ้นหลังจากการลดอุปทานใหม่ทุกๆ 4 ปี
หลังจากเปิดตัว Spot ETF ก็มีการกำหนดราคาอย่างรวดเร็วในตลาด อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้คาดการณ์ถึงภาวะขาดแคลนอุปทานที่จะเกิดขึ้นจากการลดลงครึ่งหนึ่ง (halving) ของ Bitcoin โดยนักลงทุนในตลาดเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะทำให้เกิด "ภาวะกลัวพลาดโอกาส" (FOMO) ซึ่งจะส่งผลให้ Bitcoin อาจพุ่งแตะจุดสูงสุดตลอดกาลอีกครั้ง
ข้อมูลการไหลเวียนของ Spot Bitcoin ETFs ในวันจันทร์ โดยการรายงานข้อมูลจาก Farsite เผยว่า กองทุน Spot Bitcoin ETFs ทั้งหมดรวมกันสะสม Bitcoin มากกว่าที่นักขุดสามารถผลิตได้ถึง 10 เท่า ซึ่งบ่งชี้ถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุนรายใหม่ๆ
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !