ความวิตกกังวลก่อนการรายงาน NFP กระตุ้นนักลงทุนในตลาดในช่วงต้นวันศุกร์นี้ร่วมกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจและข้อกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมไปถึงความกลัวในสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก
ท่าทีที่ระมัดระวังของตลาดส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯสามารถหยุดการร่วงลงติดต่อกันสองวันได้ซึ่งจะท้าทายการดีดตัวขึ้นล่าสุดของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในการซื้อขายยังคงไม่มั่นคงและคู่สกุลเงินหลักอื่นๆก็ขาดทิศทางที่ชัดเจนในขณะที่รอการรายงานข้อมูลการจ้างงานที่สำคัญทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแถลงการณ์ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden เกี่ยวกับสภาพการจ้างงานและประเด็นทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯสืบเนื่องมาจากการขับไล่ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา
ทั้งนี้ คู่เงิน USDJPY แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและการหยุดลงของการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯท่ามกลางการคงกลยุทธ์การเงินแบบผ่อนคลายของผู้กำหนดนโยบายญี่ปุ่น ในขณะที่สถานการณ์คู่สกุลเงิน G10 อื่นๆยังคงไม่แน่ชัดท่ามกลางสัญญาณทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ซับซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับจีนและสหรัฐอเมริกา ส่วนทางด้านคู่เงิน EURUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อโรงงานของเยอรมนีที่เป็นบวก เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายของ ECB ลังเลที่จะส่งเสริมให้คงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นต่อไป
ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำไม่สามารถพยุงการฟื้นตัวในช่วงกลางสัปดาห์ได้ ในขณะที่ช่วงแนวโน้มขาลงของราคาน้ำมันดิบยังคงชะลอตัว นอกจากนี้ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทยังปรับตัวลดลง ในขณะที่หุ้นเอเชียแปซิฟิกก็ได้รับแรงกดดันเช่นกัน
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ทรงตัวจากการร่วงลงในรอบสัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนในตลาดคาดว่าจะมีการเปิดตัว crypto ETFs ก่อนกำหนด
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ภาวะกระทิงและหมีปะทะกันในวันสำคัญก่อนการรายงานข้อมูลการจ้างงานจากสหรัฐฯและแคนาดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนและสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคที่ไม่ชัดเจนโดยเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งแกร่งแม้ว่าล่าสุดจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ในขณะที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนในตลาดได้
อีกทางด้านหนึ่ง เงินดอลลาร์สหรัฐฯส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นบวกและสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed เช่นเดียวกับความกังวลทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนในตลาดต่างกำลังรอคอยข้อมูลสำคัญ ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาดุลการค้าสินค้าและบริการของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็น 58.3 พันล้านดอลลาร์จาก -64.7 พันล้านดอลลาร์ แต่ดุลการค้าสินค้าลดลงเล็กน้อยเป็น 84.5 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ที่ -84.3 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ การขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็น 207K จากก่อนหน้านี้ที่ 205K แต่ผ่อนคลายลงเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของตลาดที่ 210K ด้วยเหตุนี้ ค่าเฉลี่ยในช่วงสี่สัปดาห์ของการขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นจึงลดลงเหลือ 208.75K จาก 211.25K ในขณะที่การขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องรายสัปดาห์ลดลงเหลือ 1.664 ล้านรายเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ที่ 1.665 ล้านราย อีกทั้งรายงานข้อมูล US Challenger Job Cuts ลดลงเหลือ 47.457K ในเดือนกันยายนจาก 75.151K และน่าสังเกตว่า Daly และ Barkin ของ Fed ต่างแสดงถึงอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นในวันพฤหัสบดี
นอกจากนี้ รายงานเสถียรภาพทางการเงิน (FSR) ของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) กล่าวว่าความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินทั่วโลกมีการยกระดับและเพิ่มสูงขึ้น รายงานยังระบุถึง“ความเสี่ยงที่รวมไปถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน,ราคาทรัพย์สินทั่วโลกที่ลดลงอย่างไม่เป็นระเบียบและความเสี่ยงต่ออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์” นอกจากนี้ Georgieva จาก IMF เน้นย้ำถึงความกลัวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะชะลอตัวลงแต่ความเชื่อมั่นที่เป็นบวกในสหรัฐฯและอินเดียร่วมกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนที่น่าจะผ่อนคลายลงเนื่องจากการพบกันของประธานาธิบดี Biden ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดี Xi ของจีนในเดือนพฤศจิกายนจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของตลาด
ทั้งนี้ นักลงทุนคริปโตต่างกังวลท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกและความตึงเครียดของ SEC อย่างไรก็ตาม ความหวังที่จะได้รับการอนุมัติ ETF เร็วขึ้น และการมีส่วนร่วมมากขึ้นจากฝั่งเอเชียทำให้แรงเทซื้อ BTCUSD และ ETHUSD มีความหวัง
เมื่อมองไปข้างหน้า นักลงทุนในตลาดจะจับตาดูรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนกันยายน เนื่องจากนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวของ Fed ส่งเสริมการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งและดึงกลับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ในปี 2024 หากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯบ่งชี้ว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับตัวสูงขึ้น อัตราการว่างงานลดลง และการเติบโตของค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้น จะเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯจะมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นต่อไปซึ่งจะส่งผลต่อสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ด้วยเช่นกัน อีกทางด้านหนึ่ง การรายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ตกต่ำลงอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนตัวลงแต่แนวโน้มโดยรวมจะยังคงเป็นช่วงแนวโน้มขาขึ้น เนื่องจากสถิติเศรษฐกิจนอกสหรัฐฯไม่น่าประทับใจนัก ในขณะที่บทบาททางภูมิรัฐศาสตร์ยังสนับสนุนอุปสงค์ของเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย ดังนั้นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงมีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นบวกในภาพรวม แต่ช่วงแนวโน้มขาขึ้นอาจได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นบวก
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !