นักลงทุนในตลาดต่างเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯในช่วงต้นวันศุกร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการไม่ดำเนินกิจกรรมใดๆก่อนการเผยแพร่รายงาน NFP อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯติดตามการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แม้ว่าสัญญาณการจ้างงานของสหรัฐฯส่วนใหญ่จะปรับลดลงก็ตาม
ถึงกระนั้น ดอลลาร์สหรัฐฯก็ยังคงแข็งค่าขึ้นในสัปดาห์นี้ และท้าทายราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างเช่น ทองคำ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบได้ขยายการดีดตัวขึ้นของวันก่อนหน้าหลังจากมีการลดลงอย่างไม่คาดคิดของสินค้าคงคลังของสหรัฐฯเมื่อวันก่อน ทั้งนี้ สิ่งที่ช่วยหนุนแรงเทซื้อพลังงานคือความหวาดกลัวจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และการผลักดันของซาอุดีอาระเบียในการลดกำลังการผลิตมากขึ้น
นอกจากนี้ ความกังวลเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปและสหราชอาณาจักรได้ท้าทายคู่เงิน EURUSD และ GBPUSD ในขณะที่ AUDUSD ไม่ได้รับผลกระทบจากการส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากแถลงการณ์นโยบายการเงิน (MPS) ของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDCAD ยังขาดทิศทางที่ชัดเจนแม้ว่าธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันได้ฟื้นตัวขึ้นก็ตาม
ในอีกทางหนึ่ง หุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกพยายามเลียนแบบการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ในขณะที่ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯร่วงลงเล็กน้อย โดยที่หุ้นในฝั่งยุโรปและอังกฤษเริ่มต้นวันเผยแพร่ NFP ในแดนบวก
BTCUSD ร่วงลงเป็นวันที่สามติดต่อกันหลังจากพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดประจำปี ขณะที่ ETHUSD ถอยกลับจากระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือนหลังจากพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 12 วัน ถึงกระนั้นก็ตาม ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคริปโตยังมีความหวังก่อนที่จะได้รับการอนุมัติ spot ETF ท่ามกลางความคาดหวังที่สนับสนุนช่วงขาขึ้นของตลาดในช่วงต้น
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ดีดตัวออกจากการพุ่งขึ้นสูงสุดติดต่อกันสามวันโดยร่วงลงมากที่สุดในรอบหนึ่งสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า โดยมีราคาเสนอซื้อ (bid) เป็นบวกเล็กน้อยที่ 103.70 อย่างไรก็ตาม เบาะแสการจ้างงานของสหรัฐฯที่เผยแพร่ ณ ขณะนี้ในช่วงสัปดาห์ดังกล่าวส่งสัญญาณว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ (NFP) อาจปรับลดลงเป็นส่วนใหญ่ และสภาพการจ้างงานที่ชะลอตัวลง ซึ่งในทางกลับกันก็ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯและเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ถึงกระนั้น ความคิดเห็นจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ Janet Yellen ร่วมกับท่าทีระมัดระวังของตลาดก่อนรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯประจำเดือนพฤศจิกายนนั้นช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้ง Yellen ยังชื่นชมผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็แสดงความรู้สึก "พึงพอใจมาก" เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ณ ขณะนี้
นอกจากนี้ ความกังวลทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับจีน ยุโรป และสหราชอาณาจักรรวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างทางฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกจะจำกัดช่วงขาขึ้นของราคาทองคำแต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ตกต่ำลงนั้นยังส่งผลให้นักลงทุนมองหาการลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย อีกทางหนึ่ง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีพยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ท่ามกลางสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจาก Fed และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ถดถอยลงเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม การพูดคุยถึงการชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างนุ่มนวลของสหรัฐฯก็ท้าทายแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การอัปเดตล่าสุดจากหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน (Prudential Regulation Authority - PRA) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ระบุถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อส่วนบุคคลและการให้สินเชื่อที่มีการกู้ยืมที่มีหนี้สูง (leveraged lending) ยิ่งไปกว่านั้น ความหวาดกลัวที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรยังส่งผลต่อความแข็งแกร่งของเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) อีกด้วย
อีกทางด้านหนึ่ง การรายงานค่า GDP ไตรมาสที่ 3 ของญี่ปุ่นครั้งสุดท้ายมีส่วนทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังปรับตัวดีขึ้น และส่งผลให้คู่เงิน USDJPY ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบสี่เดือน โดย GDP ไตรมาสที่ 3 ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น -0.7% QoQ เมื่อเทียบกับ -0.5% ที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรกและ +1.2% ของการรายงานก่อนหน้านี้ ถึงกระนั้น คู่เงินเยนร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสี่เดือน ขณะที่การพูดคุยเกี่ยวกับการออกจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้รับแรงผลักดันจากแถลงการณ์ของผู้ว่าการ BoJ Kazuo Ueda เกี่ยวกับทางเลือกต่างๆหลังจากสิ้นสุดการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบัน
ในอีกทางหนึ่ง Andrea Brischetto หัวหน้าแผนกเสถียรภาพทางการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลียก็มีท่าทีที่ไม่ชัดเจนนักในช่วงเช้าของวัน ขณะที่เขาปฏิเสธที่จะยอมรับว่ามีโอกาสที่จะเผชิญกับความกดดันทางการเงินที่รุนแรงแม้ว่าแรงกดดันด้านงบประมาณจะส่งผลกระทบต่อครัวเรือนทั่วออสเตรเลียก็ตาม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงนโยบายการเงินที่เข้มงวดในขณะที่พยายามควบคุมความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยืดเยื้อในยูโรโซน เช่นเดียวกับการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯส่งผลกระทบต่อคู่เงิน EURUSD ก่อนการรายงานข้อมูลการจ้างงานสำคัญของสหรัฐฯ
รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายนและการรายงานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) ในเดือนธันวาคมจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทิศทางของตลาดระหว่างวัน นอกจากนี้ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ (NFP) ปรับขึ้นเป็น 180,000 จากรายงานก่อนหน้านี้ที่ 150,000 และอัตราการว่างงานที่คงที่ 3.9% อาจส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯขยายการฟื้นตัวก่อนหน้าและสิ้นสุดสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวก อย่างไรก็ตาม หากตัวเลขข้อมูลนั้นเป็นที่น่าผิดหวังจะเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงได้รับแรงกดดันซึ่งในอีกทางหนึ่งอาจช่วยหนุนสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ก่อนการรายงานค่าเงินเฟ้อของจีนในช่วงสุดสัปดาห์และ การประชุม FOMC ในสัปดาห์หน้า
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !