สัปดาห์นี้ปิดตัวลงอย่างเงียบเหงา โดยมีการเคลื่อนไหวในตลาดน้อยมาก เนื่องจากปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางและการขาดการรายงานข่าวสารที่สำคัญ ทำให้สถานการณ์โดยรวมค่อนข้างซบเซา ถึงกระนั้น ความเชื่อมั่นเชิงบวกยังคงมีความหวัง แต่ความกังวลเกี่ยวกับสภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังจำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจในตลาด ก่อนการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า
ด้วยปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงมุ่งหน้าสู่การปรับลดลงติดต่อกันสามสัปดาห์ แม้ว่าจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงสามวันที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยนี้กลับไม่ส่งผลต่อนักเทรดคู่เงิน EURUSD เนื่องจากคู่สกุลเงินไม่มีการเปลี่ยนแปลงในรอบสัปดาห์ โดยที่ยังไม่มีการรายงานปัจจัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน คู่เงิน GBPUSD มีแนวโน้มปรับลดลงติดต่อกันสี่สัปดาห์ ขณะที่ คู่เงิน USDJPY เตรียมพร้อมสำหรับการพุ่งสูงขึ้นรายสัปดาห์ครั้งแรกในรอบห้าสัปดาห์ จากข้อสงสัยของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม
คู่เงิน AUDUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD ได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากความพยายามของจีนในการรักษาการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจและข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่สดใส นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นครั้งแรกในรอบห้าสัปดาห์ ขณะที่ราคาทองคำยังคงถูกกดดัน แม้ว่าจะพุ่งขึ้นแรงที่สุดในรอบสามสัปดาห์ในวันก่อนหน้าก็ตาม
ในอีกทางหนึ่ง หุ้นขยับตัวสูงขึ้น แม้ตลาดตราสารหนี้ยังคงผันผวน เนื่องจากนักลงทุนยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล เมื่อวันพฤหัสบดี Bitcoin (BTCUSD) พุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022 โดยชะลอการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดก่อนที่จะปรับตัวลงเล็กน้อยในเวลาต่อมา ขณะที่ Ethereum (ETHUSD) ก็ปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 12 สัปดาห์ ก่อนที่จะเกิดการดึงกลับในวันศุกร์ ซึ่งข่าวเกี่ยวกับความพยายามของทำเนียบขาวในการโน้มน้าวผู้นำวงการคริปโทเคอร์เรนซีที่ระบุว่า Kamala Harris มีนโยบายสนับสนุนคริปโทเคอร์เรนซีนั้นกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ในวันพฤหัสบดี ทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปิดบวกติดต่อกันสามวัน อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้สนับสนุนการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนของตลาด อีกทั้ง ยังท้าทายแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯในเวลาต่อมา โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า สัญญาณการจ้างงานของสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นและการประชุมของ Fed ที่มีแนวโน้มหนุนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ยังเป็นปัจจัยที่สนับสนุนความเชื่อมั่นเชิงบวกของตลาด แม้ว่าการรายงานข่าวสารทางภูมิรัฐศาสตร์จากจีน สหรัฐฯ และตะวันออกกลางจะทดสอบการมองโลกในแง่ดีของนักลงทุนในตลาดก็ตาม
โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแคนซัสซิตี้ Jeffrey Schmid กล่าวว่า “หากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวลง ก็ถือว่าเหมาะสมที่จะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ย” นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโก Austan Goolsbee ยังระบุว่า พวกเขาต้องการเห็นข้อมูลประกอบมากกว่าตัวเลขการจ้างงานและยังต้องการข้อมูลที่มีระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือน (เพื่อยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม) เจ้าหน้าที่นโยบายการเงินยังกล่าวเสริมอีกว่า “เศรษฐกิจสหรัฐกำลังกลับสู่สภาวะปกติมากขึ้น” อีกทางด้านหนึ่ง ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์ Thomas Barkin ได้ระงับความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ แต่กลับไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้มากนัก
ในช่วงต้นวัน จีนได้เปิดเผยข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสำคัญสำหรับเดือนกรกฎาคม โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักมีตัวเลขอยู่ที่ 0.5% YoY เมื่อเทียบกับตัวเลขที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.3% และการรายงานก่อนหน้าที่ 0.2% ในขณะที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) อยู่ที่ -0.8%ในรอบปี เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของตลาดที่ -0.9%
ซึ่งตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเบื้องต้นส่งผลให้คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างวัน ก่อนที่การรายงานข่าวความเสี่ยงเชิงลบจากจีนจะส่งผลกระทบต่อสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans รวมไปถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างอิงสื่อของทางการจีนว่า “ไม่อนุญาตการกู้ยืมบัญชีซื้อขาย” การดำเนินการของปักกิ่งอาจเชื่อมโยงกับความพยายามที่จะควบคุมการพุ่งสูงขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้ และปกป้องตลาดการเงินที่กำลังประสบปัญหาของประเทศ หลังจากการรายงานข่าว มูลค่าพันธบัตรของจีนร่วงลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวดังกล่าวดำเนินอยู่ได้ไม่นาน ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของจีน
ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวลดลง หลังจากทำสถิติปิดบวกติดต่อกันสามวัน ขณะที่ราคาทองคำปรับลดลงจากการพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบสามสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบกลับปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้คู่เงิน USDCAD อ่อนตัวลง ก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของแคนาดา เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ยังคงผันผวน
นอกจากนี้ คู่เงิน EURUSD ยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบาง และความคิดเห็นที่เป็นไปตามการคาดการณ์ของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่บ่งบอกถึงแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งการขาดการรายงานข่าวสำคัญหรือข้อมูลเศรษฐกิจจากกลุ่มยูโรโซนยังจำกัดการเคลื่อนไหวล่าสุดของคู่สกุลเงินหลักนี้ ถึงกระนั้นก็ตาม ช่วงแนวโน้มขาขึ้นคู่เงินยูโรดูเหมือนจะอ่อนแรงลง ขณะที่ช่วงแนวโน้มขาลงกำลังรออยู่หลังแนวรับเพื่อกลับมาควบคุมตลาดอีกครั้ง
ในขณะเดียวกัน คู่เงิน GBPUSD ต้านกระแสตลาดและฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบห้าสัปดาห์ในวันก่อนหน้า โดยปรับตัวสูงขึ้นในระยะหลัง ท่ามกลางการ breakout ทางเทคนิคและการประเมินใหม่เกี่ยวกับความกังวลเรื่องนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
วันนี้ หลังจากได้เห็นสัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อของจีน ปฏิทินเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของวันศุกร์ยังค่อนข้างเงียบเหงา ถึงกระนั้น ตัวเลขการจ้างงานในเดือนกรกฎาคมของแคนาดาอาจสร้างความผันผวนให้กับนักเทรดคู่เงิน USDCAD โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นและดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ควรคำนึงไว้ว่าท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) อาจสร้างความยากลำบากให้กับแรงเทขายคู่เงิน Loonie ขณะที่เรากำลังรอการรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า
โดยรวมแล้ว ตลาดมีแนวโน้มที่จะชะลอการเคลื่อนไหวลงในสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจช่วยให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสามารถรักษาระดับการปรับตัวสูงขึ้นไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ยังควรจับตามองทิศทางอย่างระมัดระวัง หากมีการรายงานข่าวเชิงลบ ดอลลาร์สหรัฐฯอาจดีดตัวกลับจากการร่วงลงก่อนหน้านี้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !