ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการร่วงลงล่าสุดก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญเนื่องจากความคิดเห็นล่าสุดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจจะทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยชะลอตัวลง นอกจากนี้ ปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวคือความกังวลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในจีนและตะวันออกกลาง รวมไปถึงการปรับพอร์ตการลงทุนในช่วงปลายปีท่ามกลางสภาวะทรงตัวในวันหยุดเทศกาลนี้
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯล่าสุดที่ตกต่ำลง และการหยุดดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ FOMC ส่งผลให้ช่วงแนวโน้มขาลง USD มีความหวัง ซึ่งจะทำให้สินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ขยับตัวสูงขึ้นได้ โดยหุ้นในสหรัฐฯและโซนเอเชียแปซิฟิกก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันท่ามกลางการจับจ่ายซื้อของในช่วงปลายปี
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ชะลอตัวจากการร่วงลงติดต่อกันสองวันและสร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงเมื่อเร็วๆนี้จากยูโรโซนและสหราชอาณาจักร
ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลียที่เป็นบวกเล็กน้อยและความคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) Adrian Orr ทำให้คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงแข็งค่าขึ้น แม้ว่าจะขาดโมเมนตัมขาขึ้นในช่วงหลังก็ตาม
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวรับหลังจากการฟื้นตัวสองวัน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบพยายามรักษาระดับหลังจากพุ่งสูงขึ้นในช่วงห้าวันที่ผ่านมาติดต่อกัน
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD พลิกกลับการร่วงลงของวันก่อนหน้า ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการอนุมัติ Spot ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ข้อมูลที่อยู่อาศัยและตัวเลข GDP ของสหรัฐฯที่ผันผวนร่วมกับการพูดคุยของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการคงนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอาจอ่อนค่าลง ขณะที่ ตลาดกำลังรอการรายงานข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ US Conference Board (CB) ในเดือนธันวาคม
เมื่อพูดถึงการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูล US Housing Starts มีตัวเลขที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมโดยอยู่ที่ 1.560M ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 1.360M และการรายงานก่อนหน้าที่ 1.359M อย่างไรก็ตาม ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารปรับลดลงเหลือ 1.46M จากการรายงานครั้งก่อนที่ 1.498M และการคาดการณ์ของตลาดที่ 1.47M และเป็นที่น่าสังเกตว่าตัวชี้วัด GDPNow ของ Atlanta Fed ประมาณการการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของสหรัฐฯที่ 2.7% เมื่อเทียบกับตัวเลข 2.6% ที่ทำเครื่องหมายไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ การพูดคุยของ Fed ส่วนใหญ่จึงมีความพยายามที่จะลดทอนความเชื่อมั่นของตลาดที่คิดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ขณะที่ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งชิคาโก Austan Goolsbee ได้ออกมาเตือนในระหว่างการสัมภาษณ์ของ Fox News ว่า ตลาดมีอาการคึกคักเกินไปจนเกินความเป็นจริง พร้อมเสริมว่า “Fed ไม่ควรถูกรังแกจากสิ่งที่ตลาดต้องการ” ในแนวทางเดียวกัน Thomas Barkin ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งริชมอนด์ยังกล่าวว่า หากอัตราเงินเฟ้อลดลงตามที่คาดไว้ Fed จะดำเนินการตอบสนองอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ Raphael Bostic ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งแอตแลนตายังกล่าวอีกว่า "จะไม่เป็นเรื่องเร่งด่วน" สำหรับเฟดที่จะถอนตัวจากจุดยืนที่เข้มงวด
ในอีกทางหนึ่ง การคงนโยบายการเงินเดิมไว้ของธนาคารประชาชนจีน (PBoC) และการอัปเดตที่เกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและฮูตียังช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การรายงานครั้งสุดท้ายของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยูโรโซนในเดือนพฤศจิกายนเป็นไปตามการคาดการณ์เบื้องต้นที่ 2.4% YoY ซึ่งอาจดึงดูดแรงเทซื้อคู่เงิน EURUSD ได้น้อยกว่าก่อนการรายงานข้อมูลในวันนี้ ในทางกลับกัน ตัวเลขค่าดัชนี CPI ของสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 3.9% YoY ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 4.4% และการประมาณการของนักวิเคราะห์ที่ 4.6% ทั้งนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรส่งผลกระทบต่อคู่เงิน GBPUSD เนื่องจาก Sarah Breeden รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการขยายระยะเวลาในการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด พร้อมเสริมว่า “เงินเฟ้อกำลังลดลงแต่ยังคงสูงอยู่”
และเป็นที่น่าสังเกตว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงนโยบายการเงินไว้ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผู้ว่าการ Kazuo Ueda ได้กล่าวถึงการออกแผนยุติการใช้นโยบายดอกเบี้ยที่ติดลบนั้นไม่ง่าย นอกจากนี้ สำนักข่าวนิกเคอิยังมีการรายงานข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่ระบุชื่อว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะปรับขึ้นการประมาณการอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ใช้ในการรวบรวมงบประมาณของรัฐเป็น 1.9% ในปีงบประมาณหน้าจาก 1.1% ในปีปัจจุบัน โดยข่าวนี้ได้มีการแชร์ผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์อีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ การส่งออกและการนำเข้าของญี่ปุ่นมีตัวเลขที่ตกต่ำลงในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 776.9 พันล้านเยน เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้านี้ที่ 661 พันล้านเยน
อีกทางด้านหนึ่ง ดัชนี Westpac-Melbourne Institute Leading Index ของออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน โดยมีตัวเลขที่ 0.30% ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับตัวเลขที่ -0.39% ในเดือนตุลาคม โดยสถานการณ์นี้ร่วมกับสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงโดยรวมได้หนุนช่วงขาขึ้นของคู่เงิน AUDUSD โดย Adrian Orr ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ยังอ้างถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนอาจจะทดสอบภาวะกระทิงของคู่เงิน NZDUSD ได้ นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของแคนาดาในเดือนพฤศจิกายนมีตัวเลขที่ 3.1% YoY เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของตลาดที่ 2.9% ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับเดือนดังกล่าวปรับตัวดีขึ้นเป็น -0.4% MoM จากการรายงานก่อนหน้าที่ -0.9% และที่คาดการณ์ไว้ที่ -0.8%
การรายงานเบื้องต้นของข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซนในเดือนธันวาคมและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB ของสหรัฐฯสำหรับเดือนดังกล่าวจะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจับตาดูทิศทางของตลาดระหว่างวัน ขณะที่ตัวเลขทั้งสองมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และสามารถช่วยหนุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างเช่น หุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ได้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯอาจขยายการฟื้นตัวครั้งล่าสุดในช่วงสิ้นปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางผู้กำหนดนโยบายของ Fed ที่ยังคงยืนยันการดำเนินมาตรการที่เข้มงวดของพวกเขา
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !