เหล่านักลงทุนยังคงมีท่าทีระมัดระวังท่ามกลางความหวังที่จะได้เห็นการยุตินโยบายการเงินแบบเข้มงวดจากธนาคารกลางทั่วโลกเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้โดยได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคมนี้ โดยปัจจัยที่เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อยนี้อาจเป็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำและข่าวที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ-จีน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ราคาเสนอซื้อ (bid) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเริ่มปรับสูงขึ้นโดยพลิกกลับจากการกลับตัวของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบสองเดือน ในขณะเดียวกันก็ผลักดันแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ขณะที่สกุลเงินหลักและค่าเงิน AUD,NZD ประสบกับสภาวะผันผวน
ส่วนทางด้านคู่เงิน EURUSD สถานการณ์ยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI ของสหรัฐฯและยูโรโซนปรับลดลงอย่างรวดเร็ว และนักลงทุนต่างกำลังรอการแถลงการณ์จากการประชุมประจำปี Jackson Hole อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD ร่วงลงเล็กน้อยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหราชอาณาจักรขยายเป็นวงกว้าง ในขณะที่คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงินหลัก
ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ แต่ราคาน้ำมันดิบกลับร่วงลงเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน
ส่วนทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD มีการเคลื่อนไหวที่ผันผวน เนื่องจาก Ethereum ดูเหมือนจะได้เปรียบกว่า Bitcoin เนื่องจากมีข่าวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้เกิดความสนใจเพิ่มขึ้นใน Ethereum
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ในขณะที่แนวโน้มเชิงบวกที่เกิดจากการรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI จางหายไปในช่วงต้นวันพฤหัสบดี ท่าทีระมัดระวังของนักลงทุนในตลาดก่อนที่จะมีการเผยแพร่รายงานคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯและแถลงการณ์จากธนาคารกลางที่งานประชุมประจำปี Jackson Hole จะกระตุ้นให้เกิดสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ความเชื่อมั่นในหุ้นเทคโนโลยีและการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำลงนั้นสามารถสนับสนุนความเชื่อมั่นได้ แต่การส่งเสริมความเชื่อมั่นเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ เนื่องจากนักลงทุนต่างมีความกังวลว่า Jerome Powell ประธาน Fed อาจจะยังคงการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในวันศุกร์ที่จะถึงนี้
ในอีกทางหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่มีแนวโน้มดีขึ้นและการปฏิเสธกระบวนการลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯของ BRICS ยังทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯขยับสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการพูดคุยของ Fed รอบล่าสุด
และเป็นที่น่าสังเกตว่าสถานการณ์ของตลาดคริปโตดูเหมือนจะมีความผันผวน เนื่องจากคาดว่าสำนักงาน ก.ล.ตของสหรัฐฯอาจจะอนุญาตให้มีการเปิดตัว ETH ETFs ก่อนกำหนด แต่ยังคงควบคุม Bitcoin อย่างเข้มงวด นอกจากนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้สามารถสนับสนุนแรงเทซื้อคริปโตได้
ปัจจัยที่เร่งปฏิกิริยาความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้นและการเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ควรจับตามองเพื่อที่จะสามารถคาดการณ์ถึงทิศทางการซื้อขายที่ชัดเจน โดยในบรรดาคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ, ข้อมูลที่อยู่อาศัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนแถลงการณ์ของธนาคารกลาง จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแรงผลักดันครั้งใหม่ หากธนาคารกลางยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ความพร้อมรับความเสี่ยงในวันก่อนหน้าอาจกลับคืนมาได้ และสิ่งเดียวกันนี้อาจทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวที่ระดับสูงสุดในรอบหลายวันได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !