ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-06-26

EURUSD ยังคงถูกกดดันเนื่องจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯร่วมกับความกังวลทางการเมืองในสหภาพยุโรป

EURUSD ยังคงถูกกดดันเนื่องจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯร่วมกับความกังวลทางการเมืองในสหภาพยุโรป

แม้ตลาดจะมีบรรยากาศการซื้อขายที่ระมัดระวังแต่ยังแฝงด้วยสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยในเช้าวันพุธ ขณะที่ นักลงทุนกำลังประเมินโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในปี 2024 อีกครั้ง ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะ "soft landing" โดยปัจจัยที่หนุนให้บรรยากาศดีขึ้นเล็กน้อยอาจเป็นพาดหัวข่าวที่ชี้ว่าจีนอาจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ข่าวเชิงลบที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในตลาดจากรัสเซียและฝรั่งเศสประกอบกับการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานในวันอังคาร จะท้าทายความเชื่อมั่นของตลาดและส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯขยับตัวสูงขึ้น

คู่เงิน EURUSD ได้รับผลกระทบสืบเนื่องมาจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรป โดยเฉพาะความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของผู้นำฝ่ายค้านที่ท้าทายพรรครัฐบาลในฝรั่งเศสและเยอรมนี อย่างไรก็ตาม คู่เงิน GBPUSD กลับปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางสภาวะทรงตัวของตลาดในช่วงการปรับพอร์ตปลายไตรมาส แม้ว่าเทรดเดอร์จะยังขาดความเชื่อมั่นในทิศทางขาขึ้นของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังคงดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากวันก่อนหน้าไปที่ระดับ 160.00 แม้ว่าจะขาดโมเมนตัมขาขึ้นก็ตาม

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD แสดงปฏิกิริยาเชิงบวกต่อข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลีย ขณะที่ คู่เงิน NZDUSD ได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ ส่วนทางด้านคู่เงิน USDCAD กำลังพยายามรักษาระดับการกลับตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบพลิกกลับการดึงกลับจากจุดสูงสุดในรอบหลายสัปดาห์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาและตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาที่เพิ่มสูงขึ้น

ราคาน้ำมันดิบร่วงลงจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนในวันก่อนหน้า หลังจากสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) รายงานตัวเลขสินค้าคงคลังน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่เพิ่มสูงขึ้นเหนือความคาดหมาย นอกจากนี้ การรายงานข่าวเกี่ยวกับการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ และการชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางรายสำคัญหลายแห่ง ก็ยิ่งกดดันแรงเทซื้อน้ำมันดิบที่ระดับสูงสุดในรอบหลายวัน อย่างไรก็ตาม ข่าวความตึงเครียดทางการเมืองจากรัสเซียและตะวันออกกลาง ยังคงทำให้ความกังวลเรื่องภาวะขาดแคลนอุปทานยังคงอยู่ อีกทั้งยังช่วยพยุงแรงเทซื้อน้ำมันดิบไว้อีกด้วย

ทั้งนี้ ราคาทองคำร่วงลงต่ำกว่าแนวรับสำคัญที่ราวๆ $2,318 ซึ่งประกอบด้วยเส้น 50-EMA และเส้นแนวโน้มขาขึ้นอายุสองสัปดาห์ โดยแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของความอ่อนแอของราคาโลหะมีค่า ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงสภาวะทรงตัวของตลาดในช่วงปรับฐานการเคลื่อนไหวรายเดือนและรายไตรมาส

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ยังคงซบเซา หลังจากพลิกกลับจากจุดต่ำสุดในรอบเดือนเมื่อวานนี้ ท่ามกลางความกังวลที่หลากหลายเกี่ยวกับกระแสเงินทุน ETF และท่าทีของสำนักงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ (US SEC) ต่อนักเทรดคริปโต

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI มีราคาเสนอซื้อเป็นบวก ขณะที่พลิกกลับการถอยกลับของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบสองเดือน โดยเพิ่มขึ้น 0.70% ระหว่างวันที่ประมาณ $81.30
  • ทองคำ (Gold) ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์หลังจากทะลุแนวรับสำคัญ โดยลดลง 0.40% ต่อวันมาอยู่ที่ประมาณ $2,310
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ขยับตัวสูงขึ้นในขณะที่รักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าที่ประมาณ 105.70
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสมถึงแม้ว่าหุ้น Tech จะกลับมาฟื้นตัว หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงมีทิศทางเป็นบวกเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD พลิกกลับการดีดตัวสูงขึ้นของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน ในขณะที่ร่วงลงกลับมาที่ประมาณ $61,600 และ $3,390 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ตลาดที่ผันผวนหนุนแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญ…..

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ฟื้นตัวจากการร่วงลงในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีทิศทางดีขึ้นและแนวโน้มสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ช่วยหนุนความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯยังเป็นความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นในยุโรป สหราชอาณาจักร และแคนาดา

ดอลลาร์สหรัฐฯพลิกกลับการอ่อนค่าลงในวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ (US CB Consumer Confidence) ประจำเดือนมิถุนายน และดัชนีชี้วัดกิจกรรมภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโก (Chicago Fed National Activity Index) ในเดือนพฤษภาคมมีการรายงานออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงปรับตัวสูงขึ้นในวันพุธนี้ โดย DXY ไม่ตอบสนองต่อข้อมูลภาคอสังหาริมทรัพย์และดัชนีภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำดัลลัสที่ถดถอยลง ขณะที่ได้รับแรงหนุนจากการพูดคุยกันของ Fed ที่บ่งบอกว่าอาจจะลดจำนวนครั้งหรืออาจจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ซึ่งแตกต่างจากการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้

อีกทางด้านหนึ่ง รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Belousov ได้ออกมาเตือนรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ Llyod Austin เกี่ยวกับความอันตรายของการส่งอาวุธจากสหรัฐฯไปยังยูเครนอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ยุโรป แคนาดา และสหรัฐฯต่างเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาสินค้าจากจีนที่อาจมีมากขึ้น หลังจากจีนแสดงความไม่พอใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและไต้หวัน

ซึ่งในอีกทางหนึ่ง ฝรั่งเศสมุ่งหน้าสู่การเลือกตั้งซ่อมในช่วงสุดสัปดาห์นี้ และมีสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าพรรคฝ่ายรัฐบาลตอนนี้อาจจะต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่หลวงหลังจากพรรคฝั่งขวาจัดของ Marine Le Pen เอาชนะพรรค Renaissance ของประธานาธิบดี Emmanuel Macron ในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

นอกเหนือไปจากปัญหาทางการเมืองและท่าทีการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แล้ว การขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแถลงการณ์ของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่บ่งชี้ว่าอาจจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไปยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาของคู่เงิน EURUSD อีกด้วย ในขณะที่ ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ GfK ของเยอรมนีในเดือนกรกฎาคมล่าสุดมีตัวเลขอยู่ที่ -21.8 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ -18.9 และการรายงานก่อนหน้าที่ -21.0

โดยคู่เงิน GBPUSD ดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบสนองต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหราชอาณาจักรและข้อมูลเศรษฐกิจที่ผสมปนเปกันของอังกฤษมากนัก เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังคงผลักดันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป การพุ่งสูงขึ้นล่าสุดของคู่เงิน Cable อาจเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงการปรับฐานรายเดือนและรายไตรมาส ท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางในประเทศ ขณะที่ คู่เงิน USDJPY ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากนักลงทุนในตลาดต่างเตรียมพร้อมสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในเดือนกรกฎาคมและการเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตรท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของออสเตรเลียที่แข็งแกร่งขึ้นได้สนับสนุนให้มีการเรียกร้องให้ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และยังช่วยให้คู่เงิน AUDUSD พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในกลุ่มสกุลเงิน G10 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยดัชนี CPI ถ่วงน้ำหนักของคู่เงินออสซี่แตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ 4.0% เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.8% และการรายงานก่อนหน้าที่ 3.6% ขณะที่เพิ่มโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ RBA ในเดือนกันยายนเป็น 51% อีกทางหนึ่ง คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงเป็นวันที่สองติดต่อกันหลังจากที่กระทรวงการคลังนิวซีแลนด์อ้างถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ปรับลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน USDCAD ปรับตัวสอดคล้องกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาที่ปรับตัวสูงขึ้น และความแข็งแกร่งล่าสุดของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดา ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นโดยพลิกกลับการปรับลดลงในวันก่อนหน้า ซึ่งเป็นการร่วงลงมาจากจุดสูงสุดในรอบ 2 เดือน โดยราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นก่อนที่จะมีการรายงานข้อมูลคลังน้ำมันอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) รายงานการเพิ่มขึ้นที่เหนือความคาดหมายของตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบ ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง

นอกจากนี้ ราคาทองคำยังคงถูกกดดันอยู่ภายในกรอบการซื้อขาย 12 สัปดาห์ โดยปรับลดลงไปใกล้แนวรับสำคัญที่ระดับ $2,292 ตามเวลาที่เขียนบทความนี้ ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ขยับตัวสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ โลหะมีค่าจึงไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและความต้องการของตลาดที่มีต่อทองคำในยามที่เกิดสถานการณ์ความไม่แน่นอน โดยการปรับตัวลงของราคาทองคำอาจเกี่ยวข้องกับความต้องการทองคำของจีนที่ลดลงเมื่อไม่นานมานี้ด้วยเช่นกัน

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

ไม่มีอะไรให้คาดหวังมากนักสำหรับเทรดเดอร์รายวัน...

เทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดอาจพบกับวันที่น่าเบื่อ เนื่องจากยังไม่มีการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยแนวโน้มที่น่าจะท้าทายการเคลื่อนไหวของตลาดอาจเป็นบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการดีเบตระหว่าง Biden-Trump ครั้งสำคัญในวันพฤหัสบดีและการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของ Fed ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม ปฏิทินเศรษฐกิจจะยังคงเต็มไปด้วยข้อมูลสำคัญ โดยเริ่มจากการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ZEW ของสวิตเซอร์แลนด์ และรายงานประจำไตรมาสของธนาคารกลางสวิส (SNB) ร่วมกับ ข้อมูลการทดสอบ Stress Test ของธนาคารสหรัฐฯ และยอดขายบ้านใหม่ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ย SNB ที่ปรับลดลงจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินสวิสฟรังค์ (CHF) แต่การอัปเดตในวันนี้อาจส่งผลให้คู่เงิน USDCHF อ่อนค่าลงได้ หากข้อมูลจากธนาคารและข้อมูลที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯท้าทายการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในอีกทางหนึ่ง เหตุการณ์ทางการเมืองในยูโรโซน สหราชอาณาจักร และแคนาดาจะดึงดูดความสนใจของเทรดเดอร์คู่เงิน EURUSD,คู่เงิน GBPUSD และคู่เงิน USDCAD ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY อาจมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ขยับตัวสูงขึ้นและความนิยมของเทรดเดอร์ที่ระดับ 160.00

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !