ตลาดอยู่ในบรรยากาศแห่งความระมัดระวัง เนื่องจากเทรดเดอร์กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญของสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ข้อมูลเศรษฐกิจจะถดถอยลงก็ตาม สิ่งที่ท้าทายความเชื่อมั่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ พาดหัวข่าวภูมิรัฐศาสตร์เชิงลบที่ส่งผลต่อความเสี่ยง ซึ่งส่งแรงกดดันด้านลบต่อสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงฟื้นตัวอีกครั้งจากเส้น 200-SMA ในขณะที่ราคาทองคำปรับลดลงสู่แนวรับสำคัญระยะสั้น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวันแม้จะมีปัญหาอุปทานขัดข้อง ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 เนื่องจาก RBNZ ได้ส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน อีกทั้ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังชะลอการพุ่งสูงขึ้นล่าสุด ขณะที่ คู่เงิน USDJPY ยังคงพุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยภายในกรอบการซื้อขายประจำสัปดาห์
อีกทางด้านหนึ่ง ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดตลาดแบบผสม และหุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลง ส่วนทางฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯก็ร่วงลงเล็กน้อยเช่นกัน
แม้ดอลลาร์สหรัฐฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะฟื้นตัวขึ้นทั่วทั้งตลาด แต่คริปโตเคอร์เรนซีก็ยังคงแข็งค่าขึ้นใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในรอบหลายเดือนเมื่อวันก่อน โดยปริมาณเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ Bitcoin แตะระดับสูงสุดตลอดกาล รวมไปถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นต่อ Ethereum ยังสนับสนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน BTCUSD และ ETHUSD
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
เงินดอลลาร์สหรัฐฯมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกก่อนการรายงานสถิติสำคัญของสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และการพูดคุยเกี่ยวกับ "การลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing)" ของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯจึงเพิกเฉยต่อข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ตกต่ำเมื่อไม่นานมานี้
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ Janet Yellen ออกมาปฏิเสธความกังวลว่าสถานการณ์ที่ตึงเครียดในทะเลแดงจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก เว้นแต่สถานการณ์จะเลวร้ายลง ซึ่งสอดคล้องกับเสียงส่วนใหญ่ของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีกทั้งยังจะเป็นการท้าทายโมเมนตัมดังกล่าวอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พุ่งขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบสัปดาห์ แม้ว่าจะมีตัวเลขการสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ตกต่ำก็ตาม ขณะที่ เทรดเดอร์เตรียมรับมือกับการรายงานข้อมูลสำคัญประจำสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ Michelle Bowman ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นต้องระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการยืนยันแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น และส่งสัญญาณบวกต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ในขณะเดียวกัน เหล่าสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯแสดงถึงความคาดหวังที่จะบรรลุข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์ของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นในสหรัฐฯมีทิศทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย และยังส่งผลดีต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยช่วยชะลอการร่วงลงที่เกิดขึ้นล่าสุด
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ปรับตัวดีขึ้นจากสำนักงานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งริชมอนด์และดัลลัสช่วยหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ การปรับการประมาณการ GDPNow สำหรับไตรมาส 1 ของธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งแอตแลนตาจาก 2.9% เป็น 3.2% ในสัปดาห์นี้ ยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการร่วงลงที่เกิดขึ้นล่าสุด
ในอีกด้านหนึ่ง สัญญาณทางอ้อมจากรองรัฐมนตรีต่างประเทศจีนเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์กับรัสเซีย และความตึงเครียดในตะวันออกกลางยังเป็นแรงหนุนต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของ XAUUSD โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากสำนักข่าว Reuters มีการรายงานข่าวว่า OPEC+ อาจขยายข้อตกลงการลดกำลังการผลิตไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2024
นอกจากนี้ แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันประจำเดือนมีนาคมจะมีทิศทางที่ดีขึ้นและจะมีสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แต่ก็ไม่สามารถกระตุ้นแรงเทซื้อคู่เงิน EURUSD ได้ เนื่องจากแรงดึงดูดที่แข็งแกร่งกว่าของดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งรองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) Dave Ramsden อ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อ โดยการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ท้าทายแรงเทซื้อคู่เงิน GBPUSD เป็นผลให้ปรากฏแท่งเทียน Doji ซึ่งเป็นสัญญาณขาลงบนกราฟรายวัน และส่งผลให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงต่อเนื่องมาจนถึงวันพุธนี้
การประมาณการตัวเลขครั้งที่สองของ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของสหรัฐฯ และดุลการค้าสินค้าในเดือนมกราคมรวมไปถึงการพูดคุยกันของ Fed จะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นโมเมนตัมของนักลงทุนในตลาด อย่างไรก็ตาม ความสนใจหลักจะมุ่งไปที่การรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของ (PCE) ของสหรัฐฯในวันพฤหัสบดีหรือที่รู้จักในชื่อมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สรุปได้ว่า ความผันผวนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น และอาจขยายการฟื้นตัวล่าสุดของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเร่งปฏิกิริยาที่มีกำหนดการเผยแพร่จำเป็นต้องสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพื่อให้สถานการณ์ที่กล่าวถึงนี้เกิดขึ้น
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !