ช่วงเช้าวันพฤหัสบดีนี้ตลาดการเงินยังอยู่ในสภาวะทรงตัว ขณะที่ยังไม่มีการรายงานข้อมูลหรือเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจใดๆ ประกอบกับนักลงทุนอยู่ในสภาวะระมัดระวังก่อนการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกสหรัฐฯและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันนี้
อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงมีแนวโน้มขาขึ้น และมีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้นเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 4 สัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนกำลังเตรียมตัวสำหรับการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในสัปดาห์หน้า คาดว่าการประชุมครั้งนี้อาจจะมีทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินในเชิงเข้มงวดเนื่องจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ราคาทองคำกลับปรับตัวลดลงภายในช่วงกรอบการซื้อขายรายสัปดาห์ แต่ราคาน้ำมันดิบยังคงพุ่งสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม คู่เงิน EURUSD อ่อนค่าลงหลังจากข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปตกต่ำลง ส่วนคู่เงิน GBPUSD ก็อ่อนค่าลงเช่นกัน ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ถดถอยลงเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับนักลงทุนขาดความมั่นใจในนโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้น โดยคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงแกว่งตัวที่ระดับล่าสุด ขณะที่ สินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ขาดโมเมนตัมขาขึ้น เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของจีนและการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ทางฝั่ง BTCUSD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ $74,000 อีกครั้งแต่ ETHUSD กลับขาดโมเมนตัมขาขึ้นที่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีล่าสุด
ขณะที่มีเงินทุนไหลเข้า spot ETFs เพิ่มขึ้นก่อนเหตุการณ์ halving ของ Bitcoin อย่างไรก็ตาม ETHUSD ยังขาดโมเมนตัมขาขึ้น โดยแกว่งตัวอยู่ที่จุดสูงสุดในรอบหลายปี ขณะที่ เทรดเดอร์ต่างรอสัญญาณเพิ่มเติมจากผู้เทรด Ethereum เพื่อยืนยันแนวโน้มขาขึ้นล่าสุด
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) มีแนวโน้มที่จะต้านทานแนวโน้มขาลงที่ยาวนานสามสัปดาห์ เนื่องจากการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯได้สนับสนุนเสียงเรียกร้องที่ให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยสถานการณ์เดียวกันนี้ประกอบกับสภาวะระมัดระวังของตลาด ยังส่งผลกระทบต่อสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ในวันที่ตลาดค่อนข้างซบเซาก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯชุดใหญ่ที่กำลังจะประกาศออกมา
นอกจากนี้ ปัญหาหนี้สินของจีนและข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของอินเดีย ซึ่งเป็นสองผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก ยังช่วยให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯพุ่งสูงขึ้น ในทางกลับกันกลับกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD อีกด้วย เป็นผลให้ตัวเลขค่าดัชนี DXY ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 102.90 ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่มีทิศทางที่ดีขึ้น
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้กำหนดนโยบายในกรุงปักกิ่งกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซา เช่นเดียวกับกรณีของอินเดียที่การเติบโตของ GDP 8.0% นั้นถูกตั้งคำถามท่ามกลางตัวเลขข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดที่ชะลอตัวลง
แม้ว่านักลงทุนในตลาดจะดูเหมือนยอมรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางชั้นนำในเดือนมิถุนายนแล้ว แต่เทรดเดอร์สินค้าโภคภัณฑ์และคริปโตเคอร์เรนซียังคงมีความหวังที่จะเห็นราคาพุ่งไปแตะจุดสูงสุดตลอดกาลอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนในตลาดน่าจะกำลังเตรียมตัวสำหรับนโยบายการเงินของ Fed ในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่าจะยังคงยึดมั่นในการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดและเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ออกไป
ในอีกทางหนึ่ง การประมาณการ GDP ของ NIESR ของสหราชอาณาจักรสำหรับ 3 เดือนที่สิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์นั้นตรงกับการปรับปรุงที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.0% จาก -0.1% ก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลข GDP รายเดือนเติบโต 0.2% MoM สำหรับเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับ -0.1% ก่อนหน้าและการคาดการณ์ของตลาดที่ 0.2% ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เมื่อรวมกับการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯจึงส่งผลให้คู่เงิน GBPUSD ปิดตลาดในแดนบวก ถึงกระนั้น ตัวเลขการผลิตภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักรที่ถดถอยลงรวมถึงการขาดดุลการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นล้วนยังคงส่งผลกระทบต่อแรงเทซื้อคู่เงินเคเบิล
ในขณะเดียวกัน คู่เงิน EURUSD ปรับลดลงจากการฟื้นตัวในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางจากสหภาพยุโรปก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความกังวลของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เกี่ยวกับการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อีกทั้ง ช่วงแนวโน้มขาลงของคู่เงิน USDJPY ยังได้ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) อีกครั้ง โดยคู่เงิน USDJPY ชะลอการร่วงลงล่าสุดหลังจากที่ผู้กำหนดนโยบายออกมาปกป้องนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายดังกล่าว
ทั้งนี้ BTCUSDD กลับมาทำนิวไฮอีกครั้ง ท่ามกลางเงินทุนที่ไหลเข้า spot ETFs ก่อนเหตุการณ์ halving ของ Bitcoin อย่างไรก็ตาม ETHUSD ยังขาดโมเมนตัมขาขึ้น โดยแกว่งตัวอยู่ที่จุดสูงสุดในรอบหลายปี ขณะที่ เทรดเดอร์ต่างรอสัญญาณเพิ่มเติมจากผู้เทรด Ethereum ยืนยันแนวโน้มขาขึ้นล่าสุด
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในช่วงต้นสัปดาห์เป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการรายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ จำนวนผู้ที่ยื่นขอรับสิทธิ์การว่างงาน และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันนี้ อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯสามารถรักษาระดับการพุ่งสูงขึ้นรายสัปดาห์ได้ หากข้อมูลมีการรายงานในทิศทางบวก และถึงแม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯในวันนี้อาจจะไม่ดีมากนัก แต่ดอลลาร์ฯสหรัฐฯก็น่าจะอ่อนตัวลงแค่ชั่วคราว เนื่องจากยังมีข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่รอการประกาศอีกในวันศุกร์นี้ รวมไปถึงการประชุม FOMC ในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น เงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แม้ข้อมูลเศรษฐกิจจะออกมาไม่ดีก็ตาม เว้นแต่ว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรรายงานออกมานั้นจะแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้มาก
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !