การที่ดอลลาร์สหรัฐฯไม่ได้รับแรงหนุนจากข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม สาเหตุหลักอาจสืบเนื่องมาจากการพูดคุยกันในหลากหลายทิศทางของ Fed ร่วมกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ทดสอบสภาวะความเสี่ยงของตลาดในวันศุกร์นี้
ด้วยเหตุนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯจึงยังคงผันผวนทั้งรายวันและในรอบสัปดาห์ โดยสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ได้ อีกทางด้านหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากสถานะสินค้าคงคลัง อุปสงค์จากจีน และความกลัวว่าจะเกิดวิกฤตอุปทาน ขณะที่ราคาทองคำฟื้นตัวจากแนวรับหลักระยะสั้น แม้ว่าจะขาดโมเมนตัมขาขึ้นในช่วงหลังก็ตาม
อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังคงถูกกดดันที่ระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือน และส่งผลให้หุ้นและค่าเงิน AUD,NZD ขยับตัวสูงขึ้น อีกทั้ง หุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกชะลอตัวลงท่ามกลางการเลือกตั้งของไต้หวันที่กำลังจะเกิดขึ้นและความหวาดกลัวเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน
คู่เงิน EURUSD พยายามรักษาการพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังร่วงลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลง และยังดึงดูดแรงเทขายท่ามกลางความไม่สบายใจของตลาดด้วยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD กำลังมองหาเบาะแสเพิ่มเติมเพื่อขยายการถอยกลับจากระดับสูงสุดประจำปีในวันก่อนหน้า
เพื่อเอาชนะความไม่แน่นอนของตลาด ในวันศุกร์นี้ การรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯและแถลงการณ์จากธนาคารกลางหลายแห่งจะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจับตาดู
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในเดือนธันวาคมออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้และดีกว่าตัวเลขของเดือนก่อนหน้า ซึ่งส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯลดลง อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และรายละเอียดของข้อมูลดัชนี CPI ไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ได้ สิ่งนี้ยิ่งกระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับการสิ้นสุดนโยบายการเงินแบบเข้มงวดและส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่พุ่งสูงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อก่อนหน้า อีกทั้งยังเป็นผลให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นจากแนวรับระยะสั้น นอกจากนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับลดลงและอัตราเงินเฟ้อของจีนที่ปรับตัวดีขึ้น รวมไปถึงตัวเลขการค้ายังทำให้ XAUUSD สามารถชะลอการร่วงลงล่าสุดได้
ตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯอย่างเช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดในอดีตและการรายงานก่อนหน้านี้เป็น 0.3% MoM และ 3.4% YoY ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องสังเกตคือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยไม่รวมอาหารและพลังงาน หรือที่รู้จักกันในชื่อดัชนีราคาพื้นฐาน (Core CPI) ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 0.3% MoM ในขณะที่ลดลงต่ำกว่าจากเดือนก่อนหน้า 4.0% YoY เป็น 3.9% และเมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.8%
ในการพูดคุยกันของ Fed ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งคลีฟแลนด์ Loretta Mester ได้ออกมากล่าวว่า "เรายังไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เราต้องการหลักฐานเพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจกำลังก้าวหน้าตามที่คาดไว้" อย่างไรก็ตาม Thomas Barkin ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งริชมอนด์ยังกล่าวอีกว่าเขาพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่ออัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ 2% ขณะที่ Austan Goolsbee ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งชิคาโกระบุว่าเขาไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า Fed จะดำเนินการอะไรในการประชุมประจำเดือนมีนาคมโดยที่ไม่มีข้อมูล
ในช่วงต้นวัน ตัวเลขค่าดัชนี CPI ของจีนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนเป็น 0.1% MoM และ -0.3% YoY ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ก็เพิ่มขึ้นเป็น -2.7% จากการรายงานก่อนหน้าที่ -3.0% และจากการคาดการณ์ของตลาดที่ -2.6% นอกจากนี้ ดุลการค้าของจีนยังเพิ่มขึ้นเป็น 75.34 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับการรายงานครั้งก่อนซึ่งอยู่ที่ 68.39 พันล้านดอลลาร์ และที่คาดการณ์ไว้ที่ 74.75 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ซบเซา และหุ้นที่มีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในทะเลแดงยังทำให้ XAUUSD สามารถรักษาระดับการฟื้นตัวไว้ได้
ข่าวการโจมตีกลุ่มฮูติร่วมกันของสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร อีกทั้งรายงานการโจมตีสถานทูตสหรัฐฯ ในอิรักและการชื่นชมทั่วโลกต่อฝั่งตะวันตกในการต่อสู้เพื่อปกป้องทะเลแดง อาจทำให้นักลงทุนในตลาดมองว่าความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อาจยุติลงได้เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ทั้งนี้ ประธานาธิบดี Joe Biden ของสหรัฐฯยังออกมากล่าวว่าเขาไม่ลังเลที่จะกำหนดมาตรการเพิ่มเติมต่อเป้าหมายอย่างกลุ่มฮูตีในเยเมน
นอกจากนี้ ตลาดยังเผชิญกับความท้าทายจากบรรยากาศที่ระมัดระวังก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปของไต้หวัน ซึ่งจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯ ถ้าหากรัฐบาลที่สนับสนุนสหรัฐฯได้รับชัยชนะ ซึ่งนับว่าเป็นผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง สถานการณ์นี้อาจกระตุ้นความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงและส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น
และเป็นที่น่าสังเกตว่าความคิดเห็นที่แสดงท่าทีเอนเอียงไปทางการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Christine Lagarde และผู้กำหนดนโยบาย Francois Villeroy de Galhau ได้ช่วยพยุงค่าเงินยูโร (EUR) และยังท้าทายการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังมีความกังวลที่หลากหลายเกี่ยวกับค่าแรงและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งยังเป็นการท้าทายมุมมองโดยรวมในการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอีกด้วย ในอีกทางหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2023 และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง
แม้ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯและดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะออกมาสอดคล้องกับการคาดการณ์ว่า Fed อาจชะลอการปรับลดดอกเบี้ย แต่ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันนี้จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed หากตัวเลขค่าดัชนี PPI สอดคล้องกับคาดการณ์ที่ดี สิ่งนี้จะช่วยพยุงการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯและจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !