ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2023-09-13

แรงเทขายทองคำยังคงมีความหวังเนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าก่อนการรายงานข้อมูลเงินเฟ้อ

แรงเทขายทองคำยังคงมีความหวังเนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าก่อนการรายงานข้อมูลเงินเฟ้อ

ตลาดการเงินแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลก่อนการเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจ ขณะที่นักลงทุนกำลังรอตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสำคัญของสหรัฐฯในเดือนสิงหาคมนี้ โดยปัจจัยที่หนุนการพร้อมรับความเสี่ยงที่ตกต่ำลงอาจเป็นความกังวลเรื่องความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนรวมถึงการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ออกจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและเกาหลีเหนือยังเพิ่มการสนับสนุนการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในตลาดอีกด้วย

และเมื่อรวมกับความเชื่อมั่นที่ถดถอยลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นและการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นของการชะลอตัวลงอย่างนุ่มนวลของเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเป็นตัวขับเคลื่อนค่าเงินดอลลาร์ หลังจากพลิกกลับจากระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า

นอกจากนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯส่งผลต่อคู่เงิน GBPUSD หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเป็นไปตามสัญญาณการจ้างงานของอังกฤษที่ตกต่ำลงในวันก่อนหน้า ในขณะเดียวกัน คู่เงิน AUDUSD ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันเนื่องจากมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับประเทศจีนและมีสถานะเป็นมาตรวัดความเสี่ยง (risk-barometer status) อีกด้วย

และเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน EURUSD ยังคงตกต่ำจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นในวงกว้างร่วมกับจุดยืนของตลาดก่อนการประชุม ECB ในขณะที่ JPY ร่วงลงจากความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวของ BoJ

ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำแตะแนวรับที่เส้น 200-EMA ขณะที่ราคาน้ำมันเบรนท์และน้ำมันดิบ WTI ยังคงแข็งค่าขึ้นที่ระดับสูงสุดในรอบปีเมื่อวันก่อนหน้า

อีกทางด้านหนึ่ง ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดลบ เช่นเดียวกันกับหุ้นเอเชียแปซิฟิกที่ร่วงลง นอกจากนี้ การซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลนั้นมีความผันผวน เนื่องจากนักลงทุนในตลาดยังคงต้องการความชัดเจน ท่ามกลางความกลัวต่อกฎระเบียบที่เข้มงวดและการอนุมัติ ETF ที่ล่าช้ารวมไปถึงความตึงเครียดระหว่างอุตสาหกรรมกับรัฐบาล

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) น้ำมันเบรนท์ยังคงแข็งค่าที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 โดยเพิ่มขึ้น 0.5% ที่ราวๆ $92.60
  • ทองคำ (Gold) ราคาทองคำร่วงลงเล็กน้อยที่ราวๆ $1,910 ในขณะที่แตะแนวรับที่เส้น 200-DMA
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พยายามรักษาการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าที่ราวๆ 104.70
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบเล็กน้อยเช่นเดียวกันกับ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ผันผวน
  • BTCUSD พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ราวๆ $29,580 และ ETHUSD ร่วงลงที่ราวๆ $1,590
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ท่าทีระมัดระวังของตลาดหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

จากการพูดคุยล่าสุดเกี่ยวกับการชะลอตัวลงอย่างนุ่มนวลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมไปถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ที่จะได้เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้ายของ Fed ในเดือนพฤศจิกายน 2023 และรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในวันนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นและเพิ่มความวิตกกังวลก่อนการเผยแพร่ข้อมูลดัชนี CPI ในเดือนสิงหาคม

นอกจากนี้ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนยังสนับสนุนการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของตลาดมากขึ้น เนื่องจากผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯ Chuck Schumer นักการเมืองที่สนับสนุนนโยบายที่ส่วนใหญ่มีความแข็งกร้าวต่อจีนจะเดินทางไปยังปักกิ่ง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เร็วๆนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ-จีน

ยิ่งไปกว่านั้น ความกลัวที่จะได้เห็นวิกฤติสภาพคล่องในจีนหลังจากที่ BoJ ออกจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษก็เข้าร่วมกับความเชื่อมั่นในกลุ่มธุรกิจที่ตกต่ำลงซึ่งจะทำให้สถานการณ์ในตลาดปั่นป่วนเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม รายงานตัวเลขดัชนี PPI ของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคมปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าแต่ยังคงลดต่ำลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมของปีที่แล้วโดยร่วมกับมุมมองที่เกี่ยวกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ BoJ ที่รายงานโดยสื่อต่างๆทั้ง Bloomberg และ Nikkei รวมไปถึง Reuters จะท้าทายแรงเทซื้อคู่เงิน USDJPY โดยรายงานนี้จะชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นที่ BoJ จะออกจากนโยบายการลดอัตราดอกเบี้ยในต้นปี 2024

และเป็นที่น่าสังเกตว่าการสำรวจของ Reuters-Tankan ในเดือนกันยายนพบว่าความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ผลิตในญี่ปุ่นลดลงมากที่สุดในรอบแปดเดือน ในขณะที่ในภาคบริการก็ลดลงเช่นกัน การสำรวจระบุว่าปัญหาเศรษฐกิจของจีนและความยากลำบากทั่วโลกเป็นตัวเร่งหลักที่ทำให้สถานการณ์ความเชื่อมั่นในกลุ่มธุรกิจในญี่ปุ่นถดถอยลงครั้งใหม่

อีกทั้ง การพูดคุยเกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยกเลิกการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินที่เข้มงวด รวมทั้งปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหราชอาณาจักร จีน และยูโรโซน ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดต่อไป

ด้วยเหตุนี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯยังปรับตัวขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD นอกจากนี้ คู่เงิน GBPUSD ยังรับภาระจากตัวเลขกิจกรรมเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD ทำหน้าที่เป็นมาตรวัดความเสี่ยงพร้อมทั้งพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางการค้าที่ใกล้ชิดกับจีน

ทั้งนี้ ราคาทองคำแตะแนวรับหลักที่เส้น EMA (ดังที่กล่าวไว้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคของเรา) ในขณะที่แรงเทซื้อน้ำมันยังทรงตัวที่ระดับสูงสุดในรอบปี ส่วนทางด้านหุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วงลงด้วยความเชื่อมั่นที่ลดลงจากจีนหลังจากตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดลบ

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล ความกลัวว่าประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต. Gary Gensler จะไม่อนุญาตให้ผ่อนคลายเงื่อนไขของสกุลเงินดิจิทัลส่งผลกระทบต่อราคาของ BTCUSD และ ETHUSD แต่อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นที่ดีมากขึ้นเกี่ยวกับ Bitcoin ช่วยให้ BTCUSD พุ่งสูงขึ้นได้เล็กน้อย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD
  • สัญญาณขายแรง: ETHUSD, GBPUSD, Gold
  • สัญญาณซื้อ: USD Index, Nasdaq, USDJPY
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน,อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯอยู่ในโฟกัส

ตลาดมีแนวโน้มที่จะเห็นความผันผวนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรายงานข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือนกรกฎาคมและดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯในเดือนสิงหาคม และด้วยการคาดการณ์จากทั้ง 2 ข้อมูลที่มีกำหนดการเผยแพร่นี้ แรงเทซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงมีความได้เปรียบเมื่อพิจารณาถึงจุดยืนของตลาดก่อนการประชุม ECB เว้นแต่ว่าตัวเลขดัชนี CPI ของสหรัฐฯจะลดลงอย่างหนัก โดยปัจจัยเดียวกันนี้อาจส่งผลต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นในอนาคต

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !