ราคาทองคำค่อยๆฟื้นตัวจากการปรับตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพุธ ขณะที่นักเทรดเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานข้อมูลดัชนี PMI เบื้องต้นประจำเดือนตุลาคมจากเขตเศรษฐกิจหลักต่างๆ โดยในวันก่อนหน้า ทองคำได้เผชิญกับการร่วงลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 11 สัปดาห์ เนื่องจากการคาดการณ์ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐฯจะชะลอออกไป รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจีน
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา แถลงการณ์จากผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE), ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ทำให้การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในอนาคตเกิดความไม่แน่นอน ขณะที่เจ้าหน้าที่จาก ECB, BoE และ BoC มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ เจ้าหน้าที่ Fed ยังคงยึดมั่นในจุดยืนที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯล่าสุด นอกจากนี้ ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จีนอาจเผชิญกับทศวรรษที่สูญหายไป (lost decade) เช่นเดียวกับญี่ปุ่น กำลังกดดันความเชื่อมั่นในตลาดและเสริมความแข็งแกร่งให้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ แรงเทซื้อทองคำจึงชะลอตัวลง ในขณะที่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบเกือบสามเดือน
ความคิดเห็นจากประธาน ECB Christine Lagarde และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ Philip Lane รวมถึงรายงานจากรอยเตอร์ที่อ้างอิงแหล่งข่าวหลายแห่ง บ่งชี้ว่า ECB มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยสะท้อนถึงความซบเซาของเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ยังคงดำเนินอยู่ และกดดันให้ราคายูโรปรับตัวลง ซึ่งส่งผลให้คู่เงิน EURUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยและยุติการร่วงลงติดต่อกันสามวันในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี
ในทำนองเดียวกัน ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) Andrew Bailey กล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ทั้งในสหราชอาณาจักรและภูมิภาคอื่นๆ แต่กลับไม่สามารถรักษาระดับแรงเทซื้อคู่เงิน GBPUSD ท่ามกลางการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์ในอังกฤษที่ยาวนานถึงเจ็ดเดือนได้ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดยังคาดการณ์ว่ามีโอกาส 95% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก BoE 25 จุด bps ในเดือนพฤศจิกายน และ 75% ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนธันวาคม ด้วยเหตุนี้ คู่เงิน GBPUSD จึงพักตัวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 สัปดาห์
ในอีกทางหนึ่ง ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) Kazuo Ueda ได้ระบุเมื่อวันพุธว่า การบรรลุอัตราเงินเฟ้ออย่างยั่งยืนในระดับ 2% ยังคงเป็นความท้าทาย โดยคำพูดของเขาสะท้อนให้เห็นถึงอุปสรรคในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาคู่เงิน USDJPY ในขณะเดียวกัน การรายงานดัชนี PMI เบื้องต้นของเดือนตุลาคมแสดงถึงการหดตัวที่รุนแรงขึ้นในภาคการผลิตและภาคบริการเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี แถลงการณ์จากรองหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น Kazuhiko Aoki และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น Katsunobu Kato ยังชี้ให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายพร้อมที่จะปกป้องเงินเยน ซึ่งได้ท้าทายแรงเทซื้อในช่วงที่ผ่านมา
เช่นเดียวกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดาต่างก็ปรับลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของจีน โดยคู่เงิน AUDUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD สะท้อนถึงข้อมูลดัชนี PMI ที่เป็นลบ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา แม้ว่าราคาน้ำมันจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยก็ตาม
ทางด้านราคาน้ำมันดิบหลังจากยุติแนวโน้มขาขึ้น 2 วัน ได้ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ภาวะ consolidation ของตลาดยังได้ช่วยให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวขึ้นจากการร่วงลงบางส่วนในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี
แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีนและตะวันออกกลางจะสร้างความท้าทายให้กับแรงเทซื้อทองคำ แต่โลหะมีค่ายังคงแข็งแกร่งใกล้กับระดับสูงสุดตลอดกาลที่ทำไว้เมื่อวันก่อนหน้า โดยความไม่แน่นอนในตลาดที่ยังคงอยู่ทำให้นักเทรดหันความสนใจมาสู่ทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ การคาดการณ์ว่า BRICS กำลังพิจารณาสกุลเงินใหม่ที่มีทองคำและเงินเป็นหลักประกันยังช่วยสนับสนุนให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นอีกด้วย
แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อแรงเทซื้อ Bitcoin (BTC/USD) และ Ethereum (ETH/USD) ที่กำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี ซึ่งแรงผลักดันเชิงบวกนี้ได้รับแรงหนุนจากความหวังเกี่ยวกับกฎระเบียบของ US SEC ที่จะเอื้อประโยชน์มากขึ้นหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นอกจากนี้ การไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากในกองทุน ETF ที่เกี่ยวข้องกับคริปโตยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนใน Bitcoin และ Ethereum อีกด้วย
ตลาดในวันพฤหัสบดีจะโฟกัสไปที่การรายงานข้อมูลดัชนี PMI ครั้งแรกของเดือนตุลาคมจากยูโรโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ตามมาด้วยข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯในเดือนกันยายนที่จะประกาศในวันศุกร์ นอกจากนี้ การแถลงการณ์ของผู้กำหนดนโยบายจาก ECB, BoE และ Fed อาจเป็นปัจจัยที่หนุนให้ตลาดผันผวนยิ่งขึ้น อีกทั้ง การอัปเดตเกี่ยวกับความพยายามพยุงเศรษฐกิจของจีน รวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยังคงดำเนินอยู่จะทำให้นักลงทุนต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
เมื่อการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed มีการเปลี่ยนแปลง ดอลลาร์สหรัฐฯน่าจะได้รับประโยชน์จากการรายงานข้อมูลดัชนี PMI และข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่จะประกาศในเร็วๆนี้ หากไม่มีข้อมูลที่น่าผิดหวังใดๆ นอกจากนี้ การอภิปรายเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางรายสำคัญแห่งอื่นๆ และความกังวลเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้นอาจสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน
ความแข็งแกร่งที่อาจเกิดขึ้นนี้อาจกดดันให้คู่เงิน EURUSD,คู่เงิน GBPUSD,คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ปรับตัวลดลง ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY และคู่เงิน USDCAD อาจยังคงมีความยืดหยุ่นอย่างไรก็ตาม ทองคำยังคงดึงดูดแรงเทซื้อซึ่งเป็นผลมาจากสถานะสินทรัพย์ปลอดภัย แม้ว่าการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบอาจเผชิญกับความท้าทายหลากหลายประการ
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!