ตลาดยังคงอยู่ในสภาวะซบเซาขณะที่นักลงทุนต่างติดอยู่ระหว่างความหวาดกลัวผลกระทบที่เกิดจากจีนและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับขึ้นสูงสุดในรอบหลายปี
ทั้งนี้ความพร้อมรับความเสี่ยงได้ถดถอยลงในช่วงแรกท่ามกลางข้อสงสัยว่าความพยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่าของปักกิ่งเพื่อพยุงเงินหยวนและหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจจะยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ S&P ของธนาคารสหรัฐฯและสถานการณ์ของไต้หวันยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นอย่างหนักอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนนโยบายของธนาคารกลางหลักทั่วโลก และการดึงกลับของเงินดอลลาร์สหรัฐฯสามารถช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นได้ในภายหลัง
ด้วยเหตุนี้ ราคาของคู่เงิน NZDUSD จึงพุ่งขึ้นสูงสุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 เนื่องจากนักลงทุนกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเผยแพร่รายงานยอดค้าปลีกรายไตรมาสในวันพุธที่จะถึงนี้ นอกจากนี้คู่เงิน AUDUSD ยังพุ่งสูงขึ้นตามช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงินกีวี ในขณะเดียวกันคู่เงิน GBPUSD,คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน USDJPY ต่างก็พุ่งสูงขึ้นประมาณ 0.30% ระหว่างวันเช่นกัน
ทางด้านราคาทองคำขยายการดีดตัวขึ้นของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน แต่ราคาน้ำมันเบรนท์ยังคงถูกกดดันท่ามกลางความกลัวว่าอุปสงค์พลังงานของจีนจะถดถอยลง
อีกทางด้านหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ไม่ได้รับผลประโยชน์จากเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง เนื่องจากความกลัวว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. สหรัฐฯจะเข้มงวดกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมยิ่งขึ้น รวมไปถึงความกังวลเกี่ยวกับกองทุนลงทุนขนาดเล็กในประเทศเศรษฐกิจหลักๆที่ส่งผลต่อการพยุงตลาดคริปโต
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
นักลงทุนยังคงเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะยาว ซึ่งจะท้าทายความเชื่อมั่นของตลาด แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงจะช่วยให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงฟื้นตัวได้หลังจากที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือนในสัปดาห์ก่อน
ทิศทางที่ไม่ชัดเจนของตลาดยังเป็นผลมาจากท่าทีระมัดระวังของนักลงทุนก่อนที่จะถึงการประชุม Jackson Hole Symposium ในวันที่ 24-26 สิงหาคมนี้ซึ่งธนาคารกลางรายใหญ่ทั่วโลกจะได้แบ่งปันรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวนโยบายทางการเงินของพวกเขา
นอกจากนี้ กำหนดการเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจที่ไม่แน่ชัดและสถิติเศรษฐกิจที่ผันผวนก่อนหน้านี้ยังส่งผลให้ทิศทางของตลาดขาดความแม่นยำอีกด้วย และเป็นที่น่าสังเกตว่าความกลัวที่เกิดขึ้นในตลาดธนาคารและความหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังสร้างความสับสนให้กับเหล่านักลงทุนในตลาดอีกด้วย ในขณะเดียวกันก็ยังส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯมีโอกาสที่จะพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดของปีอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การขาดความเชื่อมั่นก็เป็นความท้าทายของนักลงทุนด้วยเช่นกัน
นักลงทุนจะแสวงหาความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับปัจจัยหลักที่เร่งความเสี่ยง เช่น จีน Fed และภาคการธนาคาร ด้วยเหตุนี้ การเผยแพร่ข้อมูลที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯในวันนี้, การประชุมของ Fed และปฏิกิริยาของตลาดต่อการปรับลดอันดับเครดิตของ Fitch จะทำให้เกิดแรงกระตุ้นครั้งใหม่ หลังจากนั้นรายงานตัวเลขค่าดัชนี PMI ของวันพุธจะเป็นจุดสุดท้ายก่อนที่จะพบกับความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการประชุม Jackson Hole และสถิติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !