ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-08-05

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากความเชื่อมั่นที่ผันผวน โดยไม่ตอบสนองต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากความเชื่อมั่นที่ผันผวน โดยไม่ตอบสนองต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง

สภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงครอบงำตลาดในช่วงเช้าวันจันทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการรายงานข่าวที่มีทิศทางเชิงลบในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่น่าผิดหวัง อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐฯไม่สามารถฟื้นตัวได้ท่ามกลางการคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงข้อสงสัยใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ปลอดภัยแบบดั้งเดิมอย่างเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ฟรังก์สวิส (CHF) และทองคำ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง

คู่เงิน EURUSD ปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯที่ไม่น่าประทับใจนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่คู่เงิน GBPUSD ยังคงอ่อนตัวลงเนื่องจากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอังกฤษ

ส่วนทางด้านคู่เงิน USDJPY ร่วงลงอย่างหนักเช่นเดียวกับคู่เงิน USDCHF ขณะที่คู่เงิน USDCAD กลับปรับตัวสูงขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบปี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงและแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน AUDUSD ปรับตัวสอดคล้องกับสถานะบารอมิเตอร์ความเสี่ยง โดยไม่ตอบสนองต่อข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศและในประเทศจีนที่แข็งแกร่ง ในขณะที่ คู่เงิน NZDUSD ก็ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ต่างแบกรับภาระจากสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง โดยไม่ตอบสนองต่อการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ ความอ่อนแอของสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้อาจเชื่อมโยงกับโมเมนตัมความน่าจะเป็นที่ Donald Trump จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ลดลง เนื่องจาก Kamala Harris ได้เป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตในการลงสมัครเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้ ยังมีข่าวสารที่ไม่แน่ชัดเกี่ยวกับการกำกับดูแล Bitcoin และ spot Ethereum ETF ที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้อีกด้วย

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่สาม โดยแรงเทขายแตะที่ระดับต่ำสุดของเดือนมิถุนายนที่ประมาณ $72.40
  • ทองคำ (Gold) ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนใกล้กับระดับ $2,430 หลังจากพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบเดือน
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน โดยลดลง 0.30% ระหว่างวัน
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบและส่งผลต่อ ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ร่วงลงเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ลดลงมากกว่า 10.0% ระหว่างวันไปที่ประมาณ $52,000 และ$2,300 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ฉุดดอลลาร์ร่วง…

รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯที่น่าผิดหวังในวันศุกร์ที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลคำสั่งซื้อโรงงานที่ปรับลดลงในเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง ท่ามกลางแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed และความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่อ่อนแอลง อีกทั้งการรายงานข่าวเกี่ยวกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้นและรายงานผลประกอบการที่ตกต่ำของ Amazon ก็ยิ่งตอกย้ำสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยปัจจัยนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุล ร่วงลงมากที่สุดในรอบวันตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 และยังคงได้รับแรงกดดันอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน

ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ของสหรัฐฯที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ หรืออัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงการเติบโตของค่าจ้างที่ชะลอตัวลง รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯประจำเดือนกรกฎาคมก็มีตัวเลขการรายงานออกมาในภาพรวมที่ไม่สดใสเช่นกัน และปัจจัยนี้ยังกระตุ้นการคาดการณ์ของตลาดตราสารหนี้เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง ในขณะเดียวกันก็มีการรายงานการหดตัวลงของตัวเลขคำสั่งซื้อโรงงานสหรัฐฯ และความคิดเห็นจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโก Alan Goolsbee ที่มีมุมมองที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย

เป็นที่น่าสังเกตว่า อินดิเคเตอร์ที่บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามกฎของ Sahm ได้สร้างแรงกดดันด้านลบต่อดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอิหร่านและเฮซบอลเลาะห์ที่เตรียมพร้อมสำหรับการโจมตีอิสราเอล ยิ่งสนับสนุนสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในตลาด ขณะที่ด้วยปัจจัยเดียวกันนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯกลับไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ท่ามกลางแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed และความท้าทายครั้งใหม่ต่อสภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ความอ่อนแอของดอลลาร์สหรัฐฯดูเหมือนจะช่วยหนุนสกุลเงินที่มีความเสี่ยงอย่าง ดอลลาร์ออสเตรเลียและสินค้าโภคภัณฑ์น้อยลง เนื่องจากสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยนี้ยังส่งผลให้ค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) และราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่หุ้นและพันธบัตรแบกรับผลกระทบจากความวิตกกังวลของตลาด

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน EURUSD สามารถรักษาระดับการปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ก่อนหน้าได้ แม้ว่าจะยังไม่มีการรายงานข่าวสำคัญจากยุโรป แต่คู่เงิน GBPUSD ยังคงถูกกดดันหลังจากปรับลดลงติดต่อกันสามสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของสหราชอาณาจักรในการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

โดยคู่เงิน USDJPY ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2024 เนื่องจากความต้องการเงินเยนญี่ปุ่นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ร่วมกับความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรายงานการประชุมล่าสุดของ BoJ อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของผู้กำหนดนโยบายญี่ปุ่นในการแทรกแซงตลาดยังส่งผลให้ราคาคู่เงินเยนฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD ไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของจีน (Caixin) ปรับตัวดีขึ้น รวมไปถึงสัญญาณที่บ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อในออสเตรเลียที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนเตรียมรับมือกับการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) อีกทั้ง คู่เงิน NZDUSD ยังพลิกกลับจากการดีดตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปรับตัวตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสกุลเงิน Antipodeans ที่ลดลง ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง ประกอบกับการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก รองจากเงินเยนญี่ปุ่น เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวขึ้นแม้ได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางและความกังวลเกี่ยวกับพายุโซนร้อน Debby ในสหรัฐฯ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ซาอุดิอาระเบียได้ประกาศปรับขึ้นราคาน้ำมันดิบ Arab light สำหรับเอเชียเป็นครั้งแรก แต่กลับไม่สามารถกระตุ้นแรงเทซื้อพลังงานได้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความต้องการน้ำมัน

นอกจากนี้ ราคาทองคำยังคงอ่อนตัวลง หลังจากพุ่งขึ้นสูงสุดรายสัปดาห์ในรอบเดือน ขณะที่ความอ่อนแอของดอลลาร์สหรัฐฯ และความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยจะสนับสนุนแรงเทซื้อ XAUUSD แต่การขาดการรายงานข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจและข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของจีนในการซื้อทองคำเพิ่มขึ้น ยังทำให้ราคาทองคำไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

การรายงานดัชนี PMI อยู่ในความสนใจ

โดยภาพรวม การรายงานตัวเลขสุดท้ายของดัชนี PMI ประจำเดือนกรกฎาคมของยูโรโซน เยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM ของสหรัฐฯ จะเป็นจุดสนใจในวันนี้ แม้ว่าข้อมูลที่มีกำหนดการเผยแพร่ไว้คาดการณ์ว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯหรือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอื่นๆมากนัก แต่สภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed อาจกดดันดอลลาร์สหรัฐฯให้อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม การดีดตัวขึ้นของคู่เงิน EURUSD ดูยังไม่น่าเชื่อถือนัก ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY อาจมีการดีดตัวสูงขึ้นหากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีทิศทางเป็นบวก

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!