ตลาดการเงินโลกยังคงมีความผันผวนในช่วงเช้าวันจันทร์ หลังจากที่สกุลเงินต่างๆอ่อนค่าลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่กลับเป็นสัปดาห์ที่ดีสำหรับทองคำ อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์สหรัฐฯกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากความคาดการณ์ของนักลงทุนที่มองว่าธนาคารกลางหลักทั่วโลกจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ประกอบกับข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง
แม้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (US Dollar Index) จะปิดสัปดาห์ด้วยการร่วงลงมากที่สุดในรอบปี แต่ราคาทองคำกลับพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึงกระนั้น ราคาน้ำมันดิบยังคงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องความต้องการน้ำมันในจีน และความกังวลเรื่องปริมาณการผลิตจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC+
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน EURUSD แกว่งตัวที่ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบปี ส่วนทางด้านคู่เงิน USDJPY ยังคงอ่อนค่าที่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนหลังจากร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์ สำหรับคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ถอยจากจุดสูงสุดในรอบเดือนด้วยเช่นกัน ท่ามกลางสัญญาณที่ผันผวนจากจีน ขณะที่ คู่เงิน USDCAD ฟื้นตัวต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงและสัญญาณการจ้างงานที่ซบเซาของแคนาดา
อีกทางด้านหนึ่ง BTCUSD พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ราวๆ $70,000 ในขณะที่ ETHUSD แกว่งตัวอยู่ที่ระดับสูงสุดตลอดกาลท่ามกลางความเชื่อมั่นเชิงบวกของเทรดเดอร์คริปโต
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ไม่ได้รับแรงหนุนจากการรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ (NFP) ที่มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตของค่าจ้างที่ชะลอตัวส่งสัญญาณถึงความจำเป็นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจำเป็นต้องยุติการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ในขณะเดียวกัน แถลงการณ์ของประธาน Fed Powell เน้นย้ำถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนซึ่งส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯร่วงลงอย่างหนัก ไม่เพียงแต่ Powell จาก Fed เท่านั้น แต่ผู้กำหนดนโยบายรายอื่นๆอย่างเช่น John Williams ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งนิวยอร์กก็ได้ส่งสัญญาณถึงการเริ่มต้นลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 เช่นกัน
แม้ว่าการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น แต่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของจีนที่มีทิศทางที่ดีและความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ยังส่งผลดีต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้น XAUUSD ด้วยเช่นกัน อีกทั้ง ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของจีนตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งรายงานการเพิ่มสูงขึ้น YoY ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023 ก็ช่วยให้แรงเทซื้อทองคำยังคงสามารถควบคุมราคาทองคำไว้ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย ถึงกระนั้น แนวต้านทางเทคนิคและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ตกต่ำจากจีนร่วมกับความวิตกกังวลก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญนั้นจะทดสอบแรงเทซื้อ XAUUSD ในช่วงหลัง
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการนำเข้าน้ำมันของจีนที่ปรับลดลงในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และข่าวที่บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตน้ำมันจากนอกกลุ่ม OPEC+ ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกานั้นได้ส่งผลกระทบต่อเกณฑ์มาตรฐานของตลาดพลังงาน
อีกทางด้านหนึ่ง เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมิถุนายน ส่งผลให้คู่เงิน EURUSD ปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าบางคนจะยังคงสงสัยว่าการกำหนดเส้นตายในเดือนเมษายนจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้นหรือไม่ ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD ยังคงพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) คลายความกังวลเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับแผนงบประมาณของสหราชอาณาจักรที่ดูเหมือนจะสนับสนุนความต้องการภายในประเทศมากขึ้น
นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังปรับตัวลดลงเพราะความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ทั้งนี้ ผลการเจรจาค่าแรงช่วงฤดูใบไม้ผลิอาจส่งผลต่อการตัดสินใจของ BoJ ในสัปดาห์หน้า ดังนั้น ผลการเจรจาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์คู่เงิน USDJPY ต้องติดตาม เนื่องจากคู่เงิน USDJPY กำลังแกว่งตัวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ หลังจากเผชิญกับการร่วงลงมากที่สุดในรอบ 8 เดือน อีกทั้ง ข่าวสารช่วงสุดสัปดาห์ที่บ่งชี้ว่า BoJ มีแนวโน้มที่จะยกเลิกนโยบาย Yield Curve Control (YCC) ก็จะส่งผลต่อทิศทางของคู่สกุลเงินนี้ด้วยเช่นกัน
สำหรับคริปโทเคอร์เรนซี การไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากและการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ลดลงครึ่งหนึ่ง (halving) ของ Bitcoin ร่วมกับการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการอนุมัติ spot ETF ยังช่วยให้ BTCUSD และ ETHUSD แข็งค่าขึ้น
วันจันทร์นี้ ตลาดน่าจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม สัปดาห์นี้ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เน้นไปที่ผู้บริโภคจะมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงเวลา "blackout" สองสัปดาห์ก่อนการประชุม FOMC ในวันที่ 20 มีนาคม ข้อมูลที่สำคัญได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI), รายงานยอดค้าปลีก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) นอกจากนี้ ข้อมูลตลาดแรงงานของสหราชอาณาจักรและข้อมูลเศรษฐกิจจากยุโรปและแคนาดาก็เป็นสิ่งที่ควรติดตามเช่นกัน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !