ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-05-13

ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ และความกังวลด้านอุปสงค์-อุปทาน

ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ และความกังวลด้านอุปสงค์-อุปทาน

ตลาดเช้าวันจันทร์ยังคงค่อนข้างเงียบเหงา เป็นผลมาจากนักลงทุนกำลังรอคอยการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญของสหรัฐฯ ขณะที่พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ ความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ รวมไปถึงข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงจากจีนและปฏิทินข่าวเศรษฐกิจที่เบาบางยังท้าทายการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน EURUUSD ขยับตัวสูงขึ้นหลังจากช่วงแนวโน้มขาขึ้นสี่สัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD มีราคาเสนอซื้อเป็นบวกหลังจากสิ้นสุดช่วงขาขึ้นสองสัปดาห์

นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงได้รับแรงกดดันจากสัญญาณเชิงลบจากจีนและข้อมูลเศรษฐกิจในบ้านที่ไม่น่าประทับใจนัก ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD ดีดตัวขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 4 วัน ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง โดยไม่ตอบสนองต่อข้อมูลการจ้างงานของแคนาดาที่เพิ่มสูงขึ้น

ในอีกทางหนึ่ง ช่วงแนวโน้มขาขึ้นคู่เงิน USDJPY พยายามรักษาระดับการพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลที่หลากหลายเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) รวมไปถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่ซบเซา และความระมัดระวังของตลาดก่อนการเปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นของ GDP ไตรมาส 1 ของญี่ปุ่นในสัปดาห์นี้

ส่วนทางฝั่งของราคาน้ำมันดิบยังคงทรงตัวในระดับต่ำหลังจากร่วงลงมากที่สุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์เมื่อวันก่อน ส่วนทางด้านราคาทองคำยุติการพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวัน โดยชะลอตัวจากการปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็เผชิญแรงกดดันจากการกำกับดูแลของสหรัฐฯที่ไม่เอื้ออำนวยต่อตลาดคริปโต ท่ามกลางความพยายามในการปกป้องเทรดเดอร์และนักลงทุน

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ยังคงถูกกดดันที่ระดับ $78.00 หลังจากร่วงมากที่สุดในรอบกว่าหนึ่งสัปดาห์ในวันก่อนหน้า
  • ทองคำ (Gold) ยุติการพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวัน ขณะที่ถอยกลับจากระดับสูงสุดในรอบสามสัปดาห์มาอยู่ที่ $2,351
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังคงอยู่ในแนวรับที่ประมาณ 105.30 หลังจากมีการปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ร่วงลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงผันผวนในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังคงถูกกดดันที่ประมาณ $61,200 และ $2,900 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานข้อมูลเงินเฟ้อ...

ดอลลาร์สหรัฐฯได้รับแรงหนุนจากความไม่แน่นอนของตลาด ขณะเดียวกันยังรักษาการปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์ที่แล้วไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในจีนและตะวันออกกลาง

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) ของสหรัฐฯประจำเดือนพฤษภาคม ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ทว่าการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับอีก 12 เดือนข้างหน้ากลับพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นในรอบสัปดาห์

นอกจากนั้น ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีนที่มีการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งมีตัวเลขที่ปรับลดลง ประกอบกับความกังวลที่ว่าจีนจำเป็นต้องเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจนั้น ยังส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นด้วยเช่นกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ความกังวลที่ว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างหนักในช่วงการทบทวนประจำสัปดาห์นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตลาดและยังส่งผลดีต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้ง ข้อมูลจาก Bloomberg ที่ระบุว่า จีนมีการปล่อยสินเชื่อลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2017 ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับประเทศผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลก

ควรสังเกตว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่ถดถอยลงของจีนส่งเสริมโอกาสที่จะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสกุลเงินภายในประเทศ รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงิน Antipodeans โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางแนวโน้มความเป็นไปได้ในการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 20, 30 และ 50 ปี

นอกเหนือไปจากข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นและสถานการณ์ในจีนแล้ว ความคิดเห็นจากอิรักยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาน้ำมันดิบอีกด้วย โดยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของอิรักได้กล่าวในช่วงสุดสัปดาห์ว่า พวกเขาจะไม่เห็นด้วยกับการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมในการประชุม OPEC+ ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้

ทั้งนี้ ราคาทองคำเผชิญแรงกดดันเช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบ โดยราคาทองคำได้ชะลอตัวลงจากการพุ่งสูงขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และถอยกลับจากแนวต้านขาลงอายุ 1 เดือน ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น และด้วยสถานะของจีนซึ่งเป็นลูกค้าทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก

ในอีกมุมหนึ่ง ความคิดเห็นเชิงสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังช่วยให้คู่เงิน EURUSD ยืนหยัดต่อสู้กับช่วงขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯได้ ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางสัญญาณล่าสุดจากสหราชอาณาจักรที่บ่งชี้ถึงการชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) นอกจากนี้ ตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ปี 2024 ของสหราชอาณาจักรยังมีการรายงานตัวเลขที่ปรับตัวสูงขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่นายจ้างชาวอังกฤษคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดย Huw Pill หัวหน้าเศรษฐกรประจำธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ออกมากล่าวว่า “การเดิมพันมากเกินไปกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งอังกฤษในการประชุมอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน อาจเป็นความคิดที่ไม่ดี”

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังปรับตัวลง สืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจที่ไม่น่าประทับใจจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังขาดแรงขับเคลื่อนขาขึ้น เนื่องจาก Kato สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนสำคัญของญี่ปุ่น ได้ออกมากล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่นโยบายการเงินจะกลับมาใช้อัตราดอกเบี้ยบวก อีกทั้ง ความระมัดระวังก่อนการรายงาน GDP ไตรมาส 1 ปี 2024 ของญี่ปุ่นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับทิศทางการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ BoJ ที่ยังไม่ชัดเจนยังท้าทายเทรดเดอร์คู่เงิน USDJPY อีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

เริ่มต้นสัปดาห์สำคัญอย่างช้าๆ……

ในสัปดาห์นี้ แม้จะมีการแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลายท่านจากสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งน่าจะดึงดูดความสนใจของเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรด แต่ปฏิทินข่าวเศรษฐกิจที่เบาบางอาจจะจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดเช่นกัน นอกจากนี้ ความกังวลก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญยังอาจท้าทายความเชื่อมั่นของตลาดอีกได้อีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้สินทรัพย์ปลอดภัยยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงอาจจะแข็งค่าขึ้นโดยปัจจัยเดียวกันนี้อาจท้าทายช่วงขาขึ้นของราคาทองคำ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD รวมไปถึงสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาน้ำมันอีกด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หรือ FB