ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-05-21

ราคาน้ำมันดิบไม่ตอบสนองต่อปัญหาการขาดแคลนอุปทาน ท่ามกลางการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบไม่ตอบสนองต่อปัญหาการขาดแคลนอุปทาน ท่ามกลางการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ

บรรยากาศการซื้อขายในตลาดเช้าวันอังคารยังคงซบเซา หลังจากที่เริ่มต้นสัปดาห์นี้อย่างเงียบเหงา สืบเนื่องมาจากการขาดข้อมูลเศรษฐกิจหรือกิจกรรมสำคัญประกอบกับตลาดการเงินสำคัญหลายแห่งยังคงปิดทำการในวันหยุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ท้าทายการพร้อมรับความเสี่ยงในตลาดคือ ความคิดเห็นที่แสดงท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับตลาดจีน

ท่ามกลางปัจจัยเหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) เริ่มต้นสัปดาห์อย่างแข็งแกร่ง และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องก่อนเข้าสู่ช่วงการซื้อขายของตลาดยุโรปในวันอังคารนี้ ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่จะปิดทำการ แต่คู่เงิน EURUSD ยังคงร่วงลงเล็กน้อย ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากการที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีความลังเลที่จะสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง

คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ ขณะที่ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีแนวโน้มที่จะไม่เข้าแทรกแซงเพื่อหยุดยั้งการอ่อนค่าลงของเงินเยนพร้อมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BoJ อีกครั้ง

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD ไม่ตอบสนองต่อการรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ที่บ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่มีการหารือเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในออสเตรเลียและจีน นอกจากนี้ คู่เงิน NZDUSD ยังร่วงลงมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม โดยเผชิญแรงกดดันจากนักลงทุนที่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) จะยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ที่อ่อนแอ

ในขณะที่ ราคาทองคำถอยกลับจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยร่วงลงเล็กน้อยเนื่องจากการขาดแรงผลักดันขาขึ้น ราคาน้ำมันดิบกลับไม่ตอบสนองต่อความท้าทายที่เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาอุปทานพลังงานและความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง

ทางฝั่งของสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD พุ่งขึ้นแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ก่อนที่จะปรับตัวลงในวันนี้ เช่นเดียวกันกับ ETHUSD ที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี ก่อนที่จะเกิดการดึงกลับในวันนี้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้แรงเทซื้อคริปโทเคอร์เรนซีจึงได้รับแรงหนุนจากโอกาสที่เพิ่มมากขึ้นที่ spot ETH ETF จะได้รับการอนุมัติและสัญญาณทางเทคนิคที่บ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้น

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ยังคงถูกกดดันต่ำกว่าระดับ $79.00 โดยปรับลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน
  • ทองคำ (Gold) ยุติการพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวัน ในขณะที่ถอยจากระดับสูงสุดตลอดกาลมาที่ $2,417
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนที่บริเวณช่วง 104.00 กลางๆ โดยชะลอตัวจากการฟื้นตัวของสัปดาห์ก่อนหน้าจากเส้น 100-SMA
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม เช่นเดียวกันกับ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงซบเซาในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายวัน โดยร่วงลงเล็กน้อยที่ประมาณ $71,200 และ $3,670 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

การซื้อขายที่ซบเซาและท่าทีคุมเข้มนโยบายการเงินของ Fed ช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวจากการร่วงลงล่าสุด

ในวันจันทร์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) บางส่วนมีการแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯดีดตัวสูงขึ้น โดยผลักดันความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสามครั้ง ในปี 2024 ออกไป ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ Fed จะยังมีความลังเลที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ยังคงมีความเชื่อมั่นเชิงบวกต่อสภาพเศรษฐกิจ ในบรรดาพวกเขา Loretta Mester ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำคลีฟแลนด์ Philip Jefferson และ Michael Barr ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึง Raphael Bostic ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตา จะได้รับความสนใจอย่างมาก นอกเหนือไปจากความเห็นของเจ้าหน้าที่ Fed แล้ว ช่วงวันหยุดในแคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และยุโรป ยังส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอตัวจากการร่วงลงในรอบสัปดาห์ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีอิหร่านเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก และความเป็นไปได้ที่อิสราเอลจะโจมตีทางอากาศเพื่อกำจัดกลุ่มฮิซบุลลาห์ (Hezbollah) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะดึงดูดความสนใจของตลาด และช่วยพยุงการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น ความกังวลเกี่ยวกับการที่เงินทุนไหลออกจากจีนในระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2016 ยังเอื้อต่อแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในกรณีนี้ แม้จะมีความกังวลเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ แต่กลับไม่สามารถหนุนราคาน้ำมันได้ ท่ามกลางการคาดการณ์ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ว่าความต้องการพลังงานจะปรับลดลง และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนยังส่งผลต่อการชะลอตัวลงของการบริโภคน้ำมันของจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยนักลงทุนควรเตรียมพร้อมสำหรับการประชุม OPEC+ ครั้งต่อไป ซึ่งคาดว่า OPEC+ จะขยายเวลาการลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไป

ในอีกทางหนึ่ง การที่จีนได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อรวมกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนโดยรวมของตลาด ทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย และปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ยังช่วยหนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของราคาทองคำ แม้ล่าสุดจะปรับตัวลงก็ตาม อีกทั้ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังรายงานว่า รัสเซียและจีนมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำ ซึ่งจะช่วยหนุนให้ XAUUSD ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน

Mārtiņš Kazāks หนึ่งในผู้กำหนดนโยบายธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กในวันจันทร์ โดยระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ ECB จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม Kazāks ยังกล่าวเสริมว่า กระบวนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่ควรเร่งรีบ ในอีกทางหนึ่ง Ben Broadbent รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ออกมากล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ BoE จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงฤดูร้อนนี้ ซึ่งจากคำพูดของ Broadbent กระตุ้นตลาดให้มีการคาดการณ์ว่า BoE อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคม ส่งผลให้คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวสูงขึ้นก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ ความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับความคิดเห็นของรัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น Sunichi Suzuki ยังได้ขับเคลื่อนราคาคู่เงิน USDJPY อีกด้วย โดยเขาได้ออกมากล่าวถึง ผลดีและผลเสียของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง พร้อมทั้งย้ำถึงความสำคัญของ เสถียรภาพของตลาดและปฏิเสธ ความกังวลเกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นอกจากนี้ รายงานการประชุมนโยบายการเงินล่าสุดของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ส่งสัญญาณว่า คณะกรรมการฯเคยมีการหารือเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก่อนที่จะลงมติคงนโยบายตามเดิม ซึ่งปกติแล้ว ความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย น่าจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) แข็งค่าขึ้น แต่ในกรณีนี้ ค่าเงิน AUD กลับไม่ปรับตัวขึ้นตามการคาดการณ์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของออสเตรเลียไม่เอื้ออำนวยต่อนโยบายการเงินที่เข้มงวด อีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงินออสซี่ก็คือ การฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯและความกังวลที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน นอกจากนี้ รายงานจากกระทรวงการคลังนิวซีแลนด์ (NZ Treasury) ที่ระบุว่า เศรษฐกิจนิวซีแลนด์ไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในเร็วๆนี้ ท่ามกลางการใช้จ่ายภาคค้าปลีกที่ลดลง และกิจกรรมทางธุรกิจที่ชะลอตัวในหลายภาคส่วน ประกอบกับสภาวะทรงตัวก่อนการประชุมธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ยังส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน NZDUSD อีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

ข้อมูลเงินเฟ้อของแคนาดาและการประชุมธนาคารกลางรายสำคัญจะดึงดูดเทรดเดอร์ท่ามกลางตลาดที่คึกคัก

หลังจากที่ได้เห็นการเริ่มต้นสัปดาห์ที่เงียบเหงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางและช่วงวันหยุดในยุโรป แคนาดา และสวิตเซอร์แลนด์ โมเมนตัมการซื้อขายในวันอังคารนั้นเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทรดเดอร์กลับมามีความเคลื่อนไหวหลังจากวันหยุดยาว นอกจากตลาดที่กลับมามีความเคลื่อนไหวเต็มรูปแบบแล้ว การรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแคนาดา และแถลงการณ์จากเหล่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และยุโรป ก็จะช่วยผลักดันสภาพคล่องให้มากขึ้นอีกด้วย เหนือสิ่งอื่นใด ข้อมูลดัชนี PMI ของวันพฤหัสบดีประจำเดือนพฤษภาคมและคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯในวันศุกร์จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาดูเพื่อหาทิศทางที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง และการที่ตลาดยอมรับสัญญาณแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถชะลอการร่วงลงของสัปดาห์ก่อนหน้าได้ ซึ่งอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดการดึงกลับของราคาทองคำ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ด้วยเช่นกัน และในทางกลับกัน ปัจจัยนี้ยังช่วยหนุนให้คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ควรสังเกตว่า ราคาน้ำมันดิบอาจยังคงปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางโอกาสที่จะเกิดวิกฤติอุปทานเพิ่มขึ้น

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !