ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-07-02

USDJPY แตะระดับสูงสุดในรอบ 38 ปีก่อนแถลงการณ์ของ Powell ประธาน Fed

USDJPY แตะระดับสูงสุดในรอบ 38 ปีก่อนแถลงการณ์ของ Powell ประธาน Fed

บรรยากาศความเสี่ยงในตลาดลดลงเล็กน้อยในช่วงเริ่มต้นวันอังคาร ท่ามกลางท่าทีระมัดระวังของนักลงทุนในตลาดก่อนการเปิดเผยข้อมูลและกิจกรรมสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางการเมืองล่าสุดยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ปรับตัวลงล่าสุดยังท้าทายแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการดีดตัวสูงตัวขึ้นซึ่งเป็นการท้าทายการอ่อนค่าลงติดต่อกันสามวันของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการแถลงการณ์ของ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และ Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) อีกปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามเพิ่มเติมคือ การรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นประสำหรับเดือนมิถุนายนของยูโรโซนและจำนวนตำแหน่งงานว่าง JOLTS ของสหรัฐฯประจำเดือนพฤษภาคม

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบสี่วัน ส่งผลให้คู่เงิน EURUSD ปรับลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน โดยคู่เงิน GBPUSD ยุติการร่วงลงต่อเนื่องสามวันท่ามกลางข้อมูลทางเศรษฐกิจและสถานการณ์การเมืองของสหราชอาณาจักรที่ถดถอยลงก่อนการเลือกตั้งในวันพฤหัสบดีนี้ ในทางตรงกันข้าม คู่เงิน USDJPY ยังคงขยับตัวสูงขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกัน โดยแตะระดับสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ปี 1986 ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวดีขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับท่าทีที่แข็งกร้าวในการดำเนินนโยบายของ Fed

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD ยังคงขยายการร่วงลงต่อเนื่องจากช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางการรายงานผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ที่ไม่น่าประทับใจนัก ในขณะที่ คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ (NZ) ที่น่าผิดหวัง รวมถึงความเชื่อมั่นที่ตกต่ำลงในตลาด โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน USDCAD พุ่งขึ้นสูงสุด แม้ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 สัปดาห์ก็ตาม

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มขาขึ้นของอุปสงค์-อุปทานที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ยังคงปรับตัวสูงขึ้น แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นยังส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ ซึ่งยังคงเคลื่อนไหวอยู่ภายในกรอบการซื้อขายระยะสั้นอีกด้วย

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ยังคงรักษาระดับการฟื้นตัวจากช่วงปลายเดือนมิถุนายน แม้จะมีข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการไหลออกของเงินทุนและกิจกรรมการซื้อขายของนักลงทุนรายใหญ่ (whale) ที่ส่งผลต่อราคาในทางลบ โดยสาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวของเทรดเดอร์สำหรับการเปิดตัวกองทุน ETH ETF และท่าทีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งสหรัฐอเมริกา (US SEC) ที่มีต่อนักลงทุนคริปโตก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยที่ระดับสูงสุดในรอบเก้าสัปดาห์ โดยเพิ่มขึ้น 0.15% ระหว่างวันใกล้กับระดับ $83.50
  • ทองคำ (Gold) ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนใกล้กับระดับราคาที่ประมาณ $2,330 โดยยังคงอยู่ภายในกรอบการซื้อขายระยะสั้น
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยุติการร่วงลงติดต่อกัน 3 วัน ขณะที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ 105.90
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อย หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ร่วงลงเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ $62,900 และ $3,450 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯค่อยๆฟื้นตัวขึ้นก่อนการรายงานปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ...

ตัวเลขดัชนีชี้วัดภาคการผลิต (ISM Manufacturing PMI) ของสหรัฐฯและตัวเลขดัชนี PMI จาก S&P Global PMI ประจำเดือนมิถุนายนที่ปรับลดลงเมื่อวันจันทร์ ประกอบกับการพูดคุยกันในหลากหลายทิศทางของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งผลกดดันให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง นอกจากนี้ ความกังวลที่ท้าทายแนวโน้มเดิมที่คาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2024 ยิ่งกระตุ้นแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) ของสหรัฐฯลดต่ำลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สภาวะทรงตัวของตลาดก่อนแถลงการณ์ของประธาน Fed Jerome Powell และปัจจัยเชิงลบนอกสหรัฐฯ ยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถชะลอการร่วงลงล่าสุดได้ ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายในฝั่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ค่อนข้างซบเซาในเช้าวันอังคาร

อีกด้านหนึ่ง อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่อ่อนตัวลงและสัญญาณที่ออกมาในหลากหลายทิศทางจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทำให้คู่เงิน EURUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าลงก่อนหน้านี้ของดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงยังคงกดดันยูโรให้อ่อนค่าลงจากดอลลาร์สหรัฐฯที่ฟื้นตัวขึ้นล่าสุด อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอัตราเงินเฟ้อราคาสินค้าในสหราชอาณาจักรที่ชะลอตัวลงนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 ยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาคู่เงิน GBPUSD

คู่เงิน USDJPY พุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986 ขณะที่ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 3 วัน โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงทางวาจาของผู้กำหนดนโยบายการเงินของญี่ปุ่นยังทดสอบแรงเทซื้อที่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีอีกด้วย

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD ไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับรายงานการประชุม RBA ที่มีแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ค่อนข้างเข้มงวด และการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียอาจปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ตกต่ำในตลาดและความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของออสเตรเลีย ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 หลังจากตัวเลขความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำไตรมาสของนิวซีแลนด์ออกมาต่ำกว่าที่คาด นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ขณะที่ยังคงปรับตัวขึ้นสูงสุดต่อเนื่องจากวันก่อนหน้า แม้ว่าราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาจะปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานด้านพลังงานยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยใกล้กับระดับสูงสุดในรอบ 9 สัปดาห์ เนื่องจากแนวโน้มความต้องการน้ำมันในช่วงฤดูร้อนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนอุปทาน ด้วยเหตุนี้ ราคาน้ำมันดิบจึงไม่ตอบสนองต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของจีน นอกจากนี้ ราคาทองคำยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ขณะที่ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ $2,330 โดยยังคงอยู่ภายในกรอบการซื้อขายของช่วงเดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ และบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังของตลาดก่อนการรายงานปัจจัยสำคัญอื่นๆออกมา

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

อัตราเงินเฟ้อยูโรโซน แถลงการณ์จากประธาน Fed และ Lagarde จาก ECB กำลังอยู่ในความสนใจ...

แม้ว่าการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงเช้าวันอังคารนี้จะดูคลุมเครือและยังขาดโมเมนตัม แต่เทรดเดอร์สายโมเมนตัมยังมีปัจจัยหนุนที่น่าสนใจให้ติดตามตลอดทั้งวัน โดยปัจจัยแรกที่ต้องจับตามองคือ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นของยูโรโซนประจำเดือนมิถุนายน รวมไปถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้บริโภคแบบฮาร์โมไนซ์ (HICP) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้ความสำคัญ ซึ่งอาจออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ และอาจส่งผลกระทบต่อคู่เงิน EURUSD ก่อนแถลงการณ์ของประธาน ECB Lagarde โดยประธาน Lagarde ยังกล่าวไว้เมื่อวันจันทร์ว่า "อาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อให้แน่ใจว่าสภาวะเงินเฟ้ออยู่ในแนวโน้มที่ควบคุมได้"

ในอีกทางหนึ่ง Jerome Powell ประธาน Fed จำเป็นต้องปกป้องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดโดยการเสนอให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินหนึ่งครั้งในปี 2024 เพื่อรักษาให้ดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ในสภาวะฟื้นตัว หากไม่ทำเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรของเหล่านักลงทุนที่ได้รับมาก่อนหน้านี้ได้ นอกจากนี้ จำนวนตำแหน่งงานว่าง JOLTS ของสหรัฐฯสำหรับเดือนพฤษภาคมจะมีความสำคัญต่อการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ADP ของสหรัฐฯในวันพุธและตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ของสหรัฐฯในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ด้วยเช่นกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !