แม้จะมีอุปสรรคทางการเมืองในฝรั่งเศสเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดโลกส่วนใหญ่ดูเหมือนจะยังมีความผันผวนในเช้าวันจันทร์นี้ ขณะที่ นักลงทุนต่างรอคอยการรายงานข้อมูลและกิจกรรมสำคัญของสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความกังวลที่ผ่อนคลายลงเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และสภาพแวดล้อมทางการเมืองในสหรัฐฯ นอกจากนี้ การรายงานข่าวในหลากหลายทิศทางจากรัสเซียและจีน ประกอบกับบรรยากาศการลงทุนที่มีความระมัดระวังมากขึ้น ยังช่วยหนุนดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) หลังจากที่ร่วงลงมากที่สุดในรอบ 10 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำทรุดตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ หลังจากที่พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ทว่า ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบ 11 สัปดาห์
คู่เงิน EURUSD เปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยช่องว่างของระดับราคา (downside gap) จากการรายงานข่าวสารทางฝั่งของฝรั่งเศส หลังจากที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบสัปดาห์ในปี 2024 แต่คู่เงิน USDJPY ยังคงถูกกดดันเป็นวันที่สามติดต่อกัน เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่แข็งแกร่งและความคาดหวังเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) อย่างไรก็ตาม คู่เงิน GBPUSD พุ่งสูงขึ้นแรงที่สุดในรอบ 10 สัปดาห์เมื่อวานนี้ ก่อนที่จะปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่ของสหราชอาณาจักรส่งสัญญาณแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวในการควบคุมเศรษฐกิจของอังกฤษ
ส่วนทางด้านคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างได้รับผลกระทบจากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในจีนและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อยู่ในภาวะ consolidation หลังจากที่ต่างพุ่งขึ้นสูงสุดในทุกๆสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDCAD พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวขึ้นจากแนวรับทางเทคนิคที่สำคัญในวันก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายงานตัวเลขการจ้างงานของแคนาดาที่ตกต่ำและราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ แต่กลับร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่พฤศจิกายน 2022 โดยเทรดเดอร์ในตลาดคริปโตต่างได้รับผลกระทบจากการชำระคืน BTC ของ Mt. Gox ซึ่งส่งผลเพิ่มปริมาณ Bitcoin ที่หมุนเวียนในตลาดและส่งผลกระทบต่อ altcoin อื่นๆ เช่น ETH อีกด้วย
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา ค่าแรงที่อ่อนตัวลง หรือการใบ้ทิศทางการปรับลดลงอัตราดอกเบี้ยของ Jerome Powell ประธาน Fed รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของสหรัฐฯ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ต่างได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว โดยส่งผลให้มีการร่วงลงรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบ 10 สัปดาห์ นอกเหนือไปจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางที่ชัดเจนแล้ว ความตื่นตระหนกทางการเมืองเกี่ยวกับความยากลำบากในการลงสมัครรับเลือกตั้งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden ก็ยังคงกดดันดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน ถึงกระนั้น น่าสังเกตว่า ชัยชนะอันพลิกความคาดหมายของแนวร่วมฝ่ายซ้ายของฝรั่งเศสอย่าง “the New Popular Front” (NFP) ร่วมกับความเสี่ยงเชิงลบจากรัสเซีย จีน และตะวันออกกลาง ยังช่วยให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยที่อาจช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐฯให้แข็งค่าขึ้นจากการปรับลดลงก็คือ บรรยากาศการลงทุนที่มีความระมัดระวังก่อนการรายงานข้อมูลและกิจกรรมสำคัญประจำสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงการแถลงการณ์ต่อสภาคองเกรสทุกๆสองปีของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ Jerome Powell และรัฐมนตรีคลัง Janet Yellen รวมไปถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ยังเป็นผลให้คู่เงิน EURUSD ปรับตัวขึ้น แม้ว่าตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีและยอดค้าปลีกของยูโรโซนจะถดถอยลง รวมถึงความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการปฏิเสธแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ตาม อย่างไรก็ตาม ยูโรยังคงปิดตลาดรายสัปดาห์ด้วยการพุ่งขึ้นสูงสุดในปี 2024 ก่อนที่จะร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบหนึ่งเดือน เนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองในฝรั่งเศสที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ
ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD ดูเหมือนจะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง เมื่อผลการเลือกตั้งทั่วไปที่พรรคแรงงาน (Labour Party) ได้รับเสียงข้างมากชัดเจนเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ อันเป็นผลมาจากการที่พวกเขาห่างหายไปจากการบริหารประเทศนานถึง 14 ปีนั้นยังคงท้าทายแรงเทซื้อเงินคู่เงิน Cable ท่ามกลางการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดที่อ่อนแอลงจากหอการค้าอังกฤษ (BCC) และ Halifax
คู่เงิน USDJPY ยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันเป็นวันที่สามติดต่อกัน หลังตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการค้าของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น ซึ่งรวมไปถึงผลสำรวจ Eco Watchers Survey นอกจากนี้ รายงานการประเมินเศรษฐกิจประจำไตรมาสของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) สำหรับ 9 ภูมิภาคของญี่ปุ่นในรายงาน Sakura ก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงินเยนอีกด้วย โดยรายงานดังกล่าว ยังคงตัวเลขการคาดการณ์เดิมสำหรับภูมิภาค 5 แห่ง ขณะที่ปรับเพิ่มตัวเลขการคาดการณ์สำหรับอีก 2 ภูมิภาค และปรับลดการประมาณการสำหรับอีก 2 ภูมิภาคที่เหลือ
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ท่ามกลางข้อมูลภาคอสังหาริมทรัพย์ของออสเตรเลียที่ปรับลดลง และความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน รวมถึงการพูดคุยกันเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD ก็ปรับตัวลงตามเช่นกันโดยยังไม่มีการรายงานปัจจัยสำคัญใดๆภายในบ้าน ก่อนการประกาศผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ในวันพุธที่จะถึงนี้
นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ยังร่วงลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สี่ติดต่อกัน ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดาที่แข็งแกร่ง และข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานที่ปรับลดลง และอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา ยังส่งผลให้คู่เงิน Loonie ฟื้นตัวขึ้นจากเส้นแนวรับที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการดึงกลับของราคาน้ำมันดิบ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน เนื่องจากภาวะกลืนไม่เข้า คายไม่ออกทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นจากทางฝั่งตะวันตก ควบคู่กับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของจีนที่ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ การพูดคุยเกี่ยวกับการหยุดยิงในฉนวนกาซา ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของแรงเทซื้อน้ำมันอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ราคาทองคำก็ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม หลังจากมีการรายงานระบุว่า ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ไม่ได้ดำเนินการซื้อทองคำเลยเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในเดือนมิถุนายน
ถัดไป ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน Sentix ของยูโรโซนประจำเดือนกรกฎาคม ประกอบกับแถลงการณ์แรกของรัฐมนตรีคลังอังกฤษคนใหม่ Rachel Reeve จะดึงดูดความสนใจของนักเทรดในระหว่างวันนี้ อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการแถลงการณ์ของ Powell และ Yellen ในวันอังคารนี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯประจำเดือนมิถุนายนในวันพฤหัสบดี อาจจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดต่อเหตุการณ์ต่างๆ และยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการร่วงลงล่าสุด ในอีกทางหนึ่ง การประชุมของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ข้อมูลเศรษฐกิจประจำเดือนของสหราชอาณาจักรที่ปรับลดลง และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของจีน จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในช่วงสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางการเมืองในยูโรโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสามารถท้าทายความเชื่อมั่นก่อนหน้านี้ของนักลงทุนในตลาดได้อีกด้วย ซึ่งส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวขึ้น
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !