บรรยากาศการซื้อขายในเช้าวันพุธยังคงคลุมเครือ เนื่องจากนักลงทุนต่างกำลังรอการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญประจำสัปดาห์ที่จะเผยแพร่ในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯประจำเดือนมีนาคม และสรุปการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ครั้งล่าสุด นอกเหนือไปจาก ความวิตกกังวลก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลแล้ว ข่าวสารที่มีการรายงานในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับจีน และการขาดปัจจัยกระตุ้นจากสหรัฐฯก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่จำกัดแรงขับเคลื่อนของตลาด
ท่ามกลางความเคลื่อนไหวเหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยุติการร่วงลงติดต่อกัน 2 วัน ขณะที่รักษาระดับการฟื้นตัวจาก Exponential Moving Average (EMA) 50 วัน อย่างไรก็ตาม คู่เงิน EURUSD ยังคงได้รับแรงกดดัน แต่คู่เงิน GBPUSD กลับปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกัน แม้ว่าจะขาดโมเมนตัมขาขึ้นในภายหลังก็ตาม นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY มีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับจากการร่วงลงในวันก่อนหน้า ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD และ USDCHF ไม่มีการเคลื่อนไหวที่สำคัญแต่ยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน
และเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน NZDUSD พุ่งสูงขึ้นระหว่างวันมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 เนื่องจากการหยุดการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ)
ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้นในขณะที่แตะจุดสูงสุดตลอดกาลในวันก่อนหน้า ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบกำลังฟื้นตัวหลังจากที่ร่วงลงมากที่สุดในรอบกว่าสองสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ต่างพุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยโดยชะลอการร่วงลงอย่างหนักในวันอังคารที่ผ่านมา ท่ามกลางพาดหัวข่าวในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับตลาดสกุลเงินดิจิทัล
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ในวันอังคาร ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตา Raphael Bostic คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างช้าๆในปี 2024 เขายังกล่าวอีกว่า "เขาไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะถูกเลื่อนออกไปอีก" ขณะเดียวกัน ที่ปรึกษาเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว Lael Brainard ก็กล่าวถึงปัญหาเงินเฟ้อเช่นกัน แต่เธอมองเห็นความคืบหน้าที่มั่นคงในการแก้ไขเงินเฟ้อในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณแนวโน้มที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับลดลงจะเป็นอุปสรรคต่อแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯก็ตาม นอกเหนือไปจาก ความกังวลเกี่ยวกับ Fed แล้ว ข่าวสารที่มีการรายงานในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลต่อความเสี่ยงยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น
นอกจากนั้น Fitch บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกได้ปรับแนวโน้มโดยภาพรวมของจีนเป็นลบ ในขณะที่ยังคงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ A+ เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม Fitch ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "ไม่ได้คาดการณ์ภาวะเงินฝืดในระยะยาว โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 0.7% ภายในสิ้นปี 2024 และ 1.3% ภายในสิ้นปี 2025"
ในอีกทางหนึ่ง Wall Street Journal (WSJ) มีการรายงานว่ายอดค้าปลีกรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลของจีนเพิ่มขึ้น 53% MoM หรือ 6.0% YoY โดยอ้างถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นหลังจากเทศกาลตรุษจีนในเดือนกุมภาพันธ์
นอกเหนือไปจากสัญญาณความผันผวนจากจีน ความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างจีนกับรัสเซียครั้งใหม่ และผลกระทบเชิงลบต่อภูมิรัฐศาสตร์โลก ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาดและยังช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อสำคัญของสหรัฐฯและรายงานการประชุมของ Fed
ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ คู่เงิน EURUSD ขยายการร่วงลงของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ ท่ามกลางการคาดการณ์การผ่อนคลายนโยบายการเงินจากการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบวกในเบื้องต้นเกี่ยวกับยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรและความคาดหวังว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยขณะที่แรงเทซื้อโจมตีแนวต้านอายุหลายเดือนที่บริเวณ 152.00 ท่ามกลางปัจจัยที่หลากหลายเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลัง โดย Bloomberg มีการรายงานว่า มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อภายหลังจากผลของการเจรจาค่าแรงล่าสุด แต่ในทางกลับกัน ผู้ว่าการ BoJ Kazuo Ueda ยังคงคาดการณ์ว่า การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะยังคงดำเนินต่อไปในเบื้องต้น
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน NZDUSD พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 เนื่องจากการยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) โดยธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้ในการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ แต่ยังกล่าวอีกว่า คณะกรรมการมีความมั่นใจว่า การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (OCR) ไว้ที่ระดับจำกัดเป็นระยะเวลานานจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคกลับมาอยู่ในเป้าหมายช่วง 1 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ภายในปีนี้
นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ยังปรับตัวตามคู่เงินกีวี โดยเฉพาะท่ามกลางความคาดหวังเชิงบวกอย่างระมัดระวังในตลาด ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD และคู่เงิน USDCHF ยังคงได้รับแรงกดดัน
อีกทางด้านหนึ่ง ราคาทองคำพยายามรักษาแนวโน้มขาขึ้นล่าสุด แม้จะขยับขึ้นเล็กน้อยใกล้ระดับสูงสุดตลอดกาลที่ทำเครื่องหมายไว้เมื่อวานนี้ สืบเนื่องมาจากการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯร่วมกับข่าวสารที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับอินเดียและจีน ซึ่งเป็นสองผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก นอกจากนั้น ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากการร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ โดยนักลงทุนกำลังรอการรายงานข้อมูลตัวเลขการสำรองน้ำมันรายสัปดาห์อย่างเป็นทางการจากสหรัฐอเมริกา หลังจากการสำรวจของภาคเอกชนชี้ว่ามีการสะสมน้ำมันในคลังสินค้าเป็นจำนวนมาก อีกปัจจัยที่ท้าทายนักลงทุนน้ำมันดิบคือ ข่าวจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา (EIA) ที่คาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันจะลดต่ำลง และการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นในปี 2024
ทั้งนี้ BTCUSD และ ETHUSD ฟื้นตัวจากการร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ ท่ามกลาง ปริมาณการซื้อขายที่หดตัวลงก่อนการ halving ของ Bitcoin และความกังวลที่หลากหลายเกี่ยวกับการอนุมัติ ETF ของ Ethereum
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯประจำเดือนมีนาคม การตัดสินใจด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) และรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ครั้งล่าสุด จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจับตาดูเพื่อหาทิศทางที่ชัดเจน
ตลาดกำลังให้ความสนใจกับการรายงานข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลภาวะเงินเฟ้อก่อนหน้านี้ของสหรัฐฯสนับสนุนการหารือของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ชี้ว่าอาจจะมีการชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหากได้รับการยืนยันจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯขยายการฟื้นตัวล่าสุด โดยคาดว่าดัชนี CPI จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.4% YoY จากเดิม 3.2% ขณะที่ดัชนี Core CPI (ดัชนี CPI ไม่รวมอาหารและพลังงาน) คาดว่าจะคงอยู่ที่ 3.7% เท่าเดิมจากเดิม 3.8%
นอกจากนี้ คาดว่าธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 5.0% แต่แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอาจทำให้เกิดแรงกดดันด้านลบต่อดอลลาร์แคนาดา (CAD) ได้ ซึ่งเมื่อร่วมกับการปรับลดลงล่าสุดของราคาน้ำมันจะเป็นผลให้เกิดการขับเคลื่อนคู่เงิน USDCAD
สุดท้าย รายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) จำเป็นต้องยืนยันแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของผู้กำหนดนโยบายของ Fed ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อฟื้นฟูแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ หากรายงานการประชุม FOMC ไม่สามารถยืนยันแนวโน้มดังกล่าว ดอลลาร์สหรัฐฯอาจอ่อนค่าลงอย่างหนัก และเปิดทางให้ราคาทองคำ พุ่งแตะจุดสูงสุดตลอดกาลอีกครั้ง
ขอให้โชคดีในการเทรด !