นักลงทุนในตลาดยังมีท่าทีระมัดระวังขณะที่รอการเผยแพร่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯในช่วงต้นวันพุธนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสัญญาณอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอาจเป็นความหวังที่จะหลีกเลี่ยงการหมดอายุของเพดานหนี้ของสหรัฐฯแม้ว่าจะล้มเหลวในความพยายามครั้งแรกก็ตาม
ในทางกลับกัน ตัวเลขความเชื่อมั่นที่ลดลงของสหรัฐฯเข้ามาแทนที่สัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่ดุดันของ Fed ที่ส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลจะสูงขึ้นก็ตาม
ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่า่ลงและความเชื่อมั่นที่ไปในเชิงบวกเล็กน้อย รวมถึงผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลให้คู่เงิน USDJPY ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางด้านคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD พุ่งขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่ล่าสุดราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบร่วงลงเล็กน้อย
ทางด้านสถานการณ์ในตลาดคริปโตยังคงได้รับแรงกดดันแม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากการที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง ในขณะที่นักลงทุนยังคงกังวลต่อราคาที่อาจพุ่งสูงขึ้นรวมถึงความท้าทายด้านกฎระเบียบต่อ BTCUSD และ ETHUSD
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
การดำเนินนโยบายของสหรัฐฯไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนในตลาดได้ เนื่องจากราคายังคงทรงตัวตามกลไกตลาด แต่การไม่มีปัจจัยลบที่สำคัญในด้านธนาคารเข้าร่วมก็ยังสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นในตลาดได้เล็กน้อย
ความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่ดุดันของ RBA และ RBNZ ร่วมกับการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆนี้ รวมถึงความกังวลในการปรับขึ้นดอกเบี้ยจาก RBA กับ RBZN และแถลงการณ์จาก ECB และ BoE ยังเป็นสิ่งที่รักษาอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯให้ทรงตัวอีกด้วย นอกจากนี้ความอ่อนค่าลงล่าสุดของเงินดอลลาร์สหรัฐฯอาจเชื่อมโยงกับการรายงานรายละเอียดของ NFP และการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed
อีกทั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเผยแพร่ค่าดัชนี PMI ที่ลดลงเมื่อเร็วๆนี้ ร่วมด้วยความกลัวสภาวะที่สั่นคลอนธนาคารโลกประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะทำให้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้น
ในทางกลับกัน เกิดความกังวลเรื่องแรงกดดันของแรงเทขาย Ethereum ในขณะที่มีการพุ่งสูงขึ้นของ Bitcoin แม้จะมีความกลัวเกิดขึ้นในตลาดก็ตาม
หลังจากได้เห็นตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ของสหรัฐฯที่ตกต่ำลง เช่นเดียวกันกับชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ทิศทางของนักลงทุนในตลาดต่างขึ้นกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และด้วยเหตุนี้การเผยแพร่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯประจำเดือนเมษายนจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการกำหนดทิศทางในตลาดทันที นอกเหนือไปจากนั้นการพูดคุยเกี่ยวกับการหมดอายุของเพดานหนี้ของสหรัฐฯ และปัญหาวิกฤตการธนาคารอาจจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นนักลงทุนได้เช่นกัน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !