ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-05-14

USDJPY เมินตัวเลข PPI ของญี่ปุ่นที่ปรับตัวสูงขึ้นและแถลงการณ์ของ IMF โดยแตะจุดสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์

USDJPY เมินตัวเลข PPI ของญี่ปุ่นที่ปรับตัวสูงขึ้นและแถลงการณ์ของ IMF โดยแตะจุดสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์

ตลาดการเงินทั่วโลกส่วนใหญ่ยังคงผันผวนในช่วงต้นวันอังคาร หลังจากที่ได้เห็นการเริ่มต้นสัปดาห์สำคัญอย่างซบเซา ซึ่งประกอบไปด้วยการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และแถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตลาดอาจเป็นปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางก่อนที่จะมีการประกาศข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญและพาดหัวข่าวที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในตลาดที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางจากจีนและตะวันออกกลาง

ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงทรงตัวหลังจากปิดตลาดในวันจันทร์ที่ผ่านมาด้วยการปรับลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ยังคงไม่มีความเคลื่อนไหวและบรรยากาศการซื้อขายที่ระมัดระวังก่อนการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯและแถลงการณ์ของประธาน Fed Jerome Powell ในวันนี้

การทรงตัวของดอลลาร์สหรัฐฯยังช่วยให้คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ขยับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะขาดโมเมนตัมขาขึ้นในช่วงหลัง ทว่า คู่เงิน USDJPY กลับมีแนวโน้มสวนทางกับตลาด ในขณะที่ไม่ตอบสนองต่อการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์ที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งครั้งใหม่ของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังขาดทิศทางที่ชัดเจนจากปัจจัยสำคัญที่ผันผวน ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD ขยายการฟื้นตัวในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ โดยเพิกเฉยต่อราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDCHF ขยับตัวสูงขึ้นท่ามกลางปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในประเทศ

ในอีกทางหนึ่ง ทองคำมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับการร่วงลงของวันก่อนหน้า ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในแนวรับหลังจากพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบสามสัปดาห์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ทางฝั่งของสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ปรับตัวลงหลังจากฟื้นตัวติดต่อกัน 3 วัน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่นักลงทุนรายใหญ่เทขายสินทรัพย์ โดยนักลงทุนเหล่านี้ไม่สนใจแถลงการณ์ของวุฒิสมาชิกสหรัฐฯที่แสดงความไม่พอใจต่อนโยบายที่เข้มงวดของกระทรวงยุติธรรม (DoJ) ที่มีต่อผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ชะลอตัวจากโมเมนตัมการฟื้นตัวของวันก่อนหน้า ขณะที่ถอยกลับไปอยู่ที่ประมาณ $79.00
  • ทองคำ (Gold) พยายามรักษาระดับแรงเทซื้อที่ประมาณ $2,337 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) มีราคาเสนอซื้อเป็นบวก โดยพลิกกลับการร่วงลงเมื่อเริ่มต้นสัปดาห์ที่ประมาณ 105.30
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ร่วงลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังคงถูกกดดันที่ประมาณ $62,000 และ $2,920 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

การพักตัวก่อนการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญ….

นักลงทุนกำลังปรับเปลี่ยนการเทรดจากช่วงต้นสัปดาห์เพื่อเตรียมรับการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่ร่วงลงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นล่าสุด อาจเป็นเพราะความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed สัญญาณเงินเฟ้อที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น และข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองระหว่างประเทศที่มีการรายงานในทิศทางที่หลากหลาย

โดย ธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์กเปิดเผยข้อมูลคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับ 1 ปีและ 5 ปีที่เพิ่มขึ้นเป็น 3.3% และ 2.8% จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 3.0% และ 2.6% ตามลำดับ ขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 3 ปีข้างหน้ากลับลดลงเล็กน้อยจาก 2.9% เหลือ 2.8%

ในอีกทางหนึ่ง Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯกลับมีท่าทีที่ขัดแย้ง โดยแสดงความไม่สบายใจต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่านโยบายของประธานาธิบดี Joe Biden จะมุ่งเน้นไปที่การลดอัตราเงินเฟ้อเป็นลำดับแรกก็ตาม ในทางกลับกัน Philip N. Jefferson รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯได้ออกมากล่าวว่า การคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยอย่างเข้มงวดเป็นสิ่งที่เหมาะสม จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลง

โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า Yellen ยังได้กล่าวอ้างอิงถึงความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งส่งผลต่อการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญที่จะมีขึ้นในวันนี้ โดย Yellen ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังระบุอีกว่า แม้ว่าสหรัฐฯให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับจีน แต่ก็ยังคงมีประเด็นที่เห็นต่างกันอยู่

ในอีกทางหนึ่ง ญี่ปุ่นได้รายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนเมษายนที่ปรับตัวดีขึ้น พร้อมทั้งมีการเรียกร้องให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ในขณะเดียวกัน ก็สอดคล้องกับการแสดงความเห็นของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ระบุว่า "การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของญี่ปุ่นในอนาคต ควรดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจ" อีกทั้ง รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น Sunichi Suzuki ยังได้ออกมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพของค่าเงินเยน ซึ่งยังเป็นการช่วยพยุงระดับราคาคู่เงิน USDJPY และส่งผลให้คู่เงินเยนพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆในกลุ่ม G10

ตัวเลขยอดค้าปลีกของนิวซีแลนด์ที่ผันผวน และความกังวลก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานของออสเตรเลียยังจำกัดการเคลื่อนไหวของคู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน AUDUSD ขณะที่ คู่เงิน USDCAD ได้รับผลกระทบสืบเนื่องมาจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้น และรายงานตัวเลขการจ้างงานของแคนาดาเมื่อวันศุกร์จะออกมาในเชิงบวกก็ตาม นอกจากนี้ คู่เงิน USDCHF ยังปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสำนักงาน SECO ประจำไตรมาส 2 ปี 2024 จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสาเหตุอาจเชื่อมโยงกับแถลงการณ์จาก Thomas Jordan ประธานธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจาก SNB

ทั้งนี้ คู่เงิน EURUSD ยังคงซบเซาโดยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีประจำเดือนเมษายนในการรายงานล่าสุด แต่ทว่า คู่เงิน GBPUSD กลับพุ่งสูงขึ้นจากการร่วงลงในช่วงต้นวัน แม้ว่ารายงานข้อมูลการจ้างงานของสหราชอาณาจักรจะมีทิศทางไม่ชัดเจน ประกอบกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น ตัวเลขการเติบโตของค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมไปถึงจำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงานที่เปลี่ยนแปลง (Claimant Count Change) ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ราคาทองคำชะลอตัวลงในช่วงต้นวัน เนื่องจากเทรดเดอร์ต่างมุ่งเป้าไปที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางความคาดหวังที่จะได้เห็นแถลงการณ์เชิงสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) Jerome Powell และข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้น สถานการณ์เดียวกันนี้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบด้วยเช่นกัน หลังจากที่ได้เห็นราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างมากเมื่อวันก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง รวมไปถึงความคาดหวังที่จะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

จับตามองงบประมาณของออสเตรเลีย, ดัชนี PPI ของสหรัฐฯ และแถลงการณ์จากประธาน Fed...

แถลงการณ์ของ Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ณ สมาคมธนาคารต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และอาจส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง หากธนาคารกลางสหรัฐฯยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดและชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ถึงแม้ว่าประธานธนาคารกลางสหรัฐฯจะส่งสัญญาณสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวด แต่ตลาดก็ยังมีความกังวลต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ เว้นแต่ว่าเขาจะปฏิเสธโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน จุดนี้เองที่สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องอาศัยตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง และสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เพื่อช่วยหนุนแรงเทซื้อของดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป

ในอีกทางหนึ่ง คาดว่างบประมาณประจำปีของออสเตรเลียจะสร้างความประทับใจให้กับแรงเทซื้อ AUD แต่ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) รวมไปถึงปัญหาเศรษฐกิจในจีน อาจส่งผลกระทบต่อคู่เงิน AUDUSD ด้วยเช่นกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !