การกลับมาของตลาดเต็มรูปแบบทำให้เกิดความเชื่อมั่นในช่วงเช้าของวันอังคาร ขณะที่ นักลงทุนประเมินความเชื่อมั่นเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารประชาชนจีน (PBoC) ซึ่งประเด็นที่เพิ่มความตึงเครียดให้กับตลาดก็คือพาดหัวข่าวจากตะวันออกกลาง รวมไปถึงการยืนยันที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ล่าช้าออกไป
ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ชะลอการร่วงลงสี่วันติดต่อกัน ขณะที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ 104.40 ทั้งนี้ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลงในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงรักษาระดับการพุ่งสูงขึ้นของสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางการเริ่มต้นวันใหม่ที่ซบเซา
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ร่วงลงเล็กน้อย ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ยังอยู่ในสถานะบารอมิเตอร์ความเสี่ยงด้วยการปรับลดลงเล็กน้อย โดย คู่เงิน NZDUSD ยังคงได้รับแรงกดดันจากผลกระทบที่เกิดจากจีน
แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะปรับตัวดีขึ้น แต่ราคาทองคำและน้ำมันดิบยังคงแข็งค่าขึ้นเช่นกัน และยังได้ท้าทายความเคลื่อนไหวของสัปดาห์ก่อนหน้าอีกด้วย
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ยังคงทรงตัวที่จุดสูงสุดในรอบหลายเดือนเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว นักลงทุนคริปโตกำลังชะลอการซื้อขายหลังจากได้เห็นกิจกรรมของเหล่านักลงทุนรายใหญ่และตัวเลข on-chain ที่น่าประทับใจ ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ดีเกี่ยวกับ spot ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ตลาดเปิดสัปดาห์อย่างเงียบเหงาเนื่องจากวันหยุดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในตลาดก็ปรับลดลงในช่วงต้นวันอังคารเช่นกัน ถึงกระนั้น ดัชนีหุ้นในสหราชอาณาจักรและยุโรปยังคงปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แม้จะมีความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นในทะเลแดง ทั้งนี้ คู่สกุลเงินหลักยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคาเดิม ขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย
เมื่อวันอังคาร ธนาคารประชาชนจีน (PBoC) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Loan Prime Rate (LPR) ระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับการจำนองระยะยาวเหลือ 3.95% จาก 4.20% อย่างไรก็ตาม PBoC ยังคงระดับอัตราดอกเบี้ย LPR ระยะสั้น 1 ปี ไว้ที่ 3.45% ซึ่งความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้เงินหยวนจีน (CNY) ร่วงลงอย่างหนักและกระตุ้นแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์
ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีคมนาคมจากกลุ่มประเทศ G7 จะร่วมกับนักการทูตระดับสูงจากสหภาพยุโรป องค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ (IMO) และเวทีการขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) เพื่อหารือเกี่ยวกับการโจมตีทางเรือในทะเลแดง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเส้นทางการค้าโลก เนื่องจากคลองสุเอซถูกปิด
อีกทั้ง เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างคือข้อเท็จจริงที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่เปิดเผยจนถึงขณะนี้ได้ส่งสัญญาณถึงความจำเป็นต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงต่อไป ซึ่งในทางกลับกัน สิ่งนี้อาจทำให้การคาดการณ์เดิมที่คาดว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2024 ต้องเปลี่ยนไป .โดยโอกาสที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยจริงๆน่าจะอยู่ที่เดือนมิถุนายน 2024 มากกว่า ซึ่งจะเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นและท้าทายแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ แม้ว่าความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในโซนเอเชียแปซิฟิกจะช่วยรักษาระดับการฟื้นตัวครั้งล่าสุดก็ตาม
นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ร่วมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่ออกมาปฏิเสธการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ส่งผลให้ราคาคู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้น ในสถานการณ์นี้ คู่เงินเยนยังเพิกเฉยต่อการแทรกแซงทางวาจาจากนักการทูตญี่ปุ่นที่ดำเนินการเพื่อปกป้องสกุลเงินเยน
แม้ว่าปฏิทินเศรษฐกิจในวันอังคารจะดูเบาบางเป็นส่วนใหญ่ นอกเหนือไปจากการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแคนาดา ตลาดก็มีแนวโน้มที่จะเห็นการกลับมามีความเคลื่อนไหวจากเทรดเดอร์ในสหรัฐฯ และแคนาดาหลังจากช่วงวันหยุดยาว นอกจากนี้ หัวข้อข่าวที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของ G7 ในเรื่องทะเลแดงก็มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นโมเมนตัมของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะขยายการฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงต้นวัน ในขณะที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างเช่น หุ้นและค่าเงิน AUD,NZD อาจปรับลดลง อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุม Fed และค่าดัชนี PMI ทั่วโลกในสัปดาห์นี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการจับตาดูทิศทางที่ชัดเจน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !