ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-01-22

USDJPY ปรับตัวลดลงหลังแสดง Doji ในวันศุกร์ก่อนการแถลงการณ์ของ BOJ

USDJPY ปรับตัวลดลงหลังแสดง Doji ในวันศุกร์ก่อนการแถลงการณ์ของ BOJ

ตลาดมีความผันผวนน้อยลงและมีแนวโน้มเป็นบวกในช่วงเช้าวันจันทร์ ขณะที่นักลงทุนกำลังรอคอยการรายงานข้อมูลสำคัญอย่างตัวเลขค่าดัชนี PMI และดัชนีราคา PCE หลัก นอกจากนี้ การที่เจ้าหน้าที่ Fed ไม่มีกำหนดการแถลงการณ์ใดๆก่อนการประชุม FOMC ยังช่วยให้นักลงทุนลดความกังวลกับความเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อตลาดก่อนหน้านี้

เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีทิศทางเป็นบวกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังช่วยลดความคาดหวังเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนมีนาคม อีกทั้งยังช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นในทะเลแดงและภาวะตกต่ำของตลาดหุ้นจีนก็เป็นเหตุผลเพิ่มเติมที่ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3

ด้วยเหตุนี้ คู่เงิน USDJPY จึงถอยจากระดับสูงสุดในรอบแปดสัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD ขยายการฟื้นตัวในวันศุกร์ นอกจากนั้น คู่เงิน GBPUSD ยังพุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงได้รับแรงกดดัน เนื่องจากธนาคารประชาชนจีน (PBoC) ยังคงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่สัญญาณทางเศรษฐกิจจากจีนนั้นดูเหมือนจะไปในเชิงลบ

ราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบก็ปรับลดลงเช่นกัน ขณะที่นักลงทุนกำลังรอคอยข้อมูลเพิ่มเติมที่จะหนุนดอลลาร์สหรัฐฯให้ปรับตัวขึ้นต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางในวันจันทร์

ในอีกด้านหนึ่ง ราคา BTCUSD และ ETHUSD กลับตัวจากช่วงขาขึ้นในช่วงปลายปี 2023 เนื่องจากความหวังเกี่ยวกับการอนุมัติ spot ETF Bitcoin ลดลง ในขณะที่การอนุมัติ ETF Ethereum ยังคงอยู่ในภาวะคลุมเครือ

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) ร่วงลงมากที่สุดติดต่อกันสามวันที่ราวๆ $78.30 โดยลดลง 0.15% ระหว่างวัน
  • ทองคำ (Gold) ดีดตัวออกจากการพุ่งสูงขึ้นติดต่อกันสองวัน ขณะที่ร่วงลงเล็กน้อยที่ประมาณ $2,020
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ขาดโมเมนตัมขาขึ้นที่ประมาณ 103.30 หลังจากปรับตัวสูงขึ้นในรอบสามสัปดาห์
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวก หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะมีการซื้อขายเพียงเล็กน้อยก็ตาม ส่วน หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน
  • BTCUSD ขยายการร่วงลงจากวันศุกร์ที่ประมาณ $40,800 และ ETHUSD ร่วงลงติดต่อกันสามวันที่ประมาณ $2,410
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ตลาดที่ผันผวนทำให้ช่วงแนวโน้มขาขึ้นดอลลาร์สหรัฐฯมีความหวัง...

แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะขาดแรงหนุนที่ชัดเจนและเป็นผลให้คู่สกุลเงินหลักบางคู่ เช่น คู่เงิน USDJPY และคู่เงิน EURUSD ปรับลดการเคลื่อนไหวจากครั้งล่าสุด แต่ความเชื่อมั่นโดยรวมของตลาดยังคงโน้มเอียงไปทางดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงใน Fed Fund Futures เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเดิมคาดการณ์ว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม แต่ตอนนี้โอกาสนั้นเหลือน้อยกว่า 50%

อีกทางด้านหนึ่ง ความพร้อมของเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายญี่ปุ่นที่จะดำเนินการผ่านตลาดเพื่อพยุงค่าเงินเยนและแรงผลักดันของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) บางคนที่ต้องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ดูเหมือนจะเป็นผลให้คู่เงิน USDJPY ทรงตัวจากการเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดก่อนการประกาศนโยบายการเงินของ BOJ ในวันอังคารนี้

ความเชื่อมั่นของตลาดที่ถดถอยลงและความสนใจที่ลดลงต่อความตึงเครียดในทะเลแดงได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน แม้สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯจะร่วมมือกันยกระดับการต่อสู้กับฮูตีก็ตาม

นอกจากนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่อ่อนแรงลง และการปฏิเสธที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็เป็นความท้าทายเพิ่มเติมต่อภาพรวมของตลาดเช่นกัน โดยปัจจัยเหล่านี้ยังช่วยหนุนความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างดอลลาร์สหรัฐฯ และกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงค่าเงิน AUD,NZD อีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY
  • สัญญาณขายแรง: Crude Oil, US Dollar, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, AUDUSD, EURUSD

ไม่มีอะไรสำคัญในวันจันทร์...

ปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางและความผันผวนในตลาดอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ อย่างไรก็ตาม มุมมองโดยรวมยังคงสนับสนุนความต้องการถือครองดอลลาร์สหรัฐฯในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งยังเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้นก่อนการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในวันพรุ่งนี้และการเริ่มต้นการเผยแพร่ผลข้อมูลค่าดัชนี PMI ของเดือนธันวาคม หลังจากนั้น ดัชนีราคา PCE หลักของสหรัฐฯในวันศุกร์จะเป็นกุญแจสำคัญในการจับตาดูทิศทางที่ชัดเจนก่อนการประชุม FOMC ในสัปดาห์หน้า โดยสรุป แนวทาง "รอคอย" มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจอย่างมาก โดยหลีกเลี่ยงการเปิดสถานะซื้อขายใหม่ก่อนทราบผลการประชุมนโยบายการเงินของ Fed

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !