ตลาดเปิดตัวอย่างเงียบเหงาในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากเหล่าเทรดเดอร์ต่างกำลังประเมินการรายงานข้อมูลล่าสุดที่ชี้ว่า ธนาคารกลางรายสำคัญหลายแห่งอาจชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ขณะที่ตลาดมีบรรยากาศการซื้อขายอย่างระมัดระวังก่อนถึงการเลือกตั้งแห่งชาติในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ นอกจากนี้ ปัจจัยที่จำกัดโมเมนตัมของตลาดอีกประการหนึ่ง ยังมาจากการขาดข้อมูล/กิจกรรมสำคัญและการรายงานข่าวสารเศรษฐกิจที่เบาบาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นกัน หลังจากที่ดัชนีที่ใช้วัดมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (I.USDX) ขยับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 3 สัปดาห์
คู่เงิน USDJPY ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ขณะที่ถอยตัวลงมาจากระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน แม้ว่าการคาดการณ์ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะยังไม่มีความชัดเจน ในทางกลับกัน คู่เงิน USDCAD,คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD กลับปรับตัวลงตามการเคลื่อนไหวที่ไม่ค่อยคึกคักของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นที่ระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน เนื่องจากความวิตกกังวลทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในยูโรโซนและสหราชอาณาจักรได้ท้าทายแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
โดยราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในแนวรับหลังจากถอยกลับจากระดับสูงสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ ในขณะที่ราคาทองคำยังคงทรงตัวอยู่ในแนวรับระยะสั้นที่ระดับ $2,317
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ โดยปรับตัวลงต่อเนื่องจากช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ETHUSD ก็ร่วงลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันเช่นกัน เนื่องจากนักลงทุนต่างเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัว spot ETH ETF ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการที่สำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ (US SEC) อาจมีจุดยืนที่แข็งกร้าว จากกรณีปัญหาเรื่องช่องโหว่ด้านความปลอดภัยล่าสุดที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการรายใหญ่ของตลาด
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (I.USDX) ยังคงผันผวนในช่วงต้นวันจันทร์ ขณะที่นักลงทุนเริ่มชะลอการเทรดหลังจากดัชนีปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 3 สัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนการดีเบตครั้งแรก ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden กับคู่แข่งในการเลือกตั้งปี 2024 อย่าง Donald Trump ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ รวมไปถึงการรายงานข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (PCE) ของสหรัฐฯที่จะประกาศในวันศุกร์
ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในจีน รวมถึงความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นต่อความสัมพันธ์ของรัสเซียกับจีนและเกาหลีเหนือ ยังส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดและหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯขยับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ พาดหัวข่าวที่ชี้ว่าอาจเกิดการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงในฉนวนกาซา ยังส่งผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การรายงานข้อมูลดัชนี PMI ล่าสุดของสหรัฐฯประจำเดือนมิถุนายน รวมถึง ท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังส่งผลให้โอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดลงและช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น
ในอีกทางหนึ่ง สรุปความคิดเห็นจากการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ชี้ให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่เคยประกาศไว้ในเดือนกรกฎาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจะเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตร ยังส่งผลกระทบต่อแรงเทซื้อคู่เงินเยนในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะมีการประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นในวันศุกร์นี้
อีกทางด้านหนึ่งคู่เงิน EURUSD ดึงดูดแรงเทซื้อได้ยาก หลังจากดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของยูโรโซน (EU PMIs) ปรับตัวลงประกอบกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นของฝ่ายขวาในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป แม้ว่าจะมีความเห็นที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ตาม ในขณะเดียวกัน คู่เงิน GBPUSD ก็ขาดแรงผลักดันในการฟื้นตัวเช่นกัน แม้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะยังคงนโยบายการเงินเดิมในปัจจุบันและข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่จะมีทิศทางที่ค่อนข้างดีก็ตาม
ทั้งนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างสะท้อนความผันผวนของตลาด ท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจสำคัญที่เบาบาง ขณะที่ คู่เงิน USDCAD ยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากร่วงลงติดต่อกัน 6 วัน อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าขึ้นล่าสุดของคู่เงิน Loonie อาจเกี่ยวข้องกับราคาของน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแคนาดาที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ราคาทองคำยังปรับตัวสูงขึ้นได้ไม่มากนัก แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง เนื่องจากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการซื้อทองคำของลูกค้ารายใหญ่อย่างจีนนั้นไม่ค่อยน่าประทับใจ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯส่งสัญญาณว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามแนวทาง “higher for longer”
แม้ว่าปฏิทินเศรษฐกิจจะไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญมากนักสำหรับเทรดเดอร์สายโมเมนตัม แต่ข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (IFO) ประจำเดือนมิถุนายนของเยอรมนีและแถลงการณ์จากธนาคารกลางแคนาดา (BoC) โดยผู้ว่าการ Tiff Macklem ก็น่าจะเป็นปัจจัยที่น่าสนใจสำหรับการกำหนดทิศทางของราคาระหว่างวัน นอกจากนี้ ความเห็นจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางรายอื่นๆในสหรัฐฯ และยูโรโซน อาจช่วยให้เทรดเดอร์ได้รับสัญญาณอื่นๆเพิ่มเติมได้อีกด้วย เหนือสิ่งอื่นใด ในวันพฤหัสบดี การดีเบตระหว่าง Biden-Trump และการรายงานดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ ซึ่งเป็นข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ จะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการจับตาดูแนวทางที่ชัดเจนต่อไป อีกทั้ง ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อจากออสเตรเลียและญี่ปุ่น รวมไปถึงข้อมูลสถิติเศรษฐกิจจากยูโรโซนและสหราชอาณาจักร ก็อาจส่งผลต่อค่าเงินของแต่ละประเทศดังกล่าวอีกด้วย
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!