ตลาดมีความผันผวนในช่วงต้นวันศุกร์ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) มีการเคลื่อนไหว สืบเนื่องมาจากการฟื้นตัวในวงกว้างของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เป็นบวก ซึ่งสิ่งที่หนุนโมเมนตัมนี้คือหัวข่าวที่เกี่ยวข้องกับ First Republic Bank (FRB) และประเทศจีน
อีกปัจจัยที่นอกเหนือจาก BoJ และการเมืองแล้ว ท่าทีของนักลงทุนที่ระแวดระวังก่อนการประกาศตัวเลขรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล (Core PCE price index) ของสหรัฐฯยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นและทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่าขึ้น
ด้วยเหตุนี้คู่เงิน USDJPY จึงเป็นคู่เงินที่พุ่งขึ้นสูงมากที่สุดในหนึ่งเดือน โดยพุ่งสู่จุดสูงสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ ในขณะที่คู่เงิน AUDUSD อยู่ในสถานะบารอมิเตอร์เสี่ยง (risk barometer status) เนื่องจากทิศทางของอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียที่เบาลงส่งผลต่อความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของ RBA
อีกทางนึง ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นระหว่างวัน ในขณะที่ราคาทองคำอยู่ในแนวโน้มขาลงเป็นวันที่สาม ซึ่งราคาได้ร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน
ในตลาดคริปโต BTCUSD ชะลอตัวหลังจากพุ่งสูงขึ้นล่าสุดเป็นวันที่สามติดต่อกัน ในขณะเดียวกัน ETHUSD ยังคงเสนอราคาขึ้นเล็กน้อยอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
แม้ว่า BoJ จะไม่ได้เสนออะไรนอกกรอบ เนื่องจากนโยบายการเงินยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะเปลี่ยนผู้ว่าการก็ตาม แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในคำแถลงของ BoJ และแนวโน้มเศรษฐกิจดูเหมือนจะไม่ส่งผลดีต่อค่าเงิน JPY ในขณะที่ค่าเงิน USD ก็แข็งค่าขึ้นจากผลของการดำเนินนโยบายการเงินที่ดุดันของ Fed อีกหนึ่งสิ่งที่หนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯอาจเป็นการที่ BoJ กล่าวถึงความเครียดในตลาดการเงิน เช่นเดียวกับข่าวล่าสุดที่ผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯกำลังรีบเร่งที่จะจัดการกับวิกฤตการธนาคารที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้มีการเชื่อมโยงกับ FRB นอกจากนี้การป้องกันไต้หวันอย่างต่อเนื่องของจีนและการวิจารณ์กองกำลังภายนอกที่ช่วยเหลือดินแดนที่ถูกอ้างสิทธิ ยังส่งผลต่อความเสี่ยงและทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (US Dollar Index) พุ่งสูงขึ้น
ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตัวเลข GDP ของสหรัฐฯที่ตกต่ำไม่ส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมากนัก เนื่องจากรายละเอียดนี้บ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นและขอบเขตสำหรับ Fed ในการชะลอการเปลี่ยนนโยบาย อย่างไรก็ตามรายรับที่น่ายินดีจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีกลับเป็นปัจจัยที่เข้ามาแทนที่ค่าเงิน USD แม้ว่าจะทำให้ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้นก็ตาม
อีกทางด้านหนึ่ง มีรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตออสเตรเลีย (Australia Producer Price Index) (PPI) ตกลงและการยืนยันการหยุดดำเนินนโยบายการเงินชั่วคราวจาก RBA ในขณะที่ตัวเลขความเชื่อมั่นที่สดใสจากนิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรไม่สามารถหนุนคู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน GBPUSD ได้ ทั้งนี้คู่เงิน USDJPY กลายเป็นผู้นำในคู่สกุลเงิน G10 ซึ่งสืบเนื่องมาจากการแข็งค่าขึ้นอย่างมากของค่าเงิน USD และการอ่อนค่าของค่าเงิน JPY
ทางฝั่งราคาทองคำยังคงติดอยู่ในเซฟโซน ขณะที่ราคาน้ำมันไม่ได้รับผลกระทบจากการลดปริมาณการผลิตของกลุ่มพันธมิตร OPEC+ อีกต่อไป แม้ว่าจะมีกำไรเล็กน้อยในช่วงสองวันที่ผ่านมา
แต่ในตลาดคริปโต BTCUSD และ ETHUSD กลับมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากผู้เล่นในอุตสาหกรรมเตรียมพร้อมสำหรับการคุมเข้มจากหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งสิ่งที่จะหนุนตลาดคริปโตคือการลดอุปทานและการเคลื่อนไหวสินทรัพย์เป็นไซเคิล
ในขณะที่ตัวกระตุ้นความเสี่ยงอย่าง BoJ และนโยบายการเงินที่ดุดันของ Fed ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่รายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล (Core PCE price index) ของสหรัฐฯในวันนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพุ่งสูงขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐฯรายสัปดาห์ ท่ามกลางความหวังเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในระยะยาว แต่ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นเหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ทั่วโลกต่างจะจับตามองเงินดอลลาร์สหรัฐฯในสัปดาห์การประชุมจากธนาคารกลาง และอาจกระตุ้นให้เกิดการดึงกลับของหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์เช่นเดียวกับในกลุ่มค่าเงิน AUD และ NZD
อีกด้านนึงข้อมูลตัวเลข GDP จากยูโรโซนและแคนาดายังสามารถกระตุ้นนักลงทุนในตลาดได้ แต่อาจจะไม่ได้รับความสนใจมากนัก
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !