ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

5 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาทองคำขึ้น-ลง ปี 2022

การเทรดทองคำเป็นหนึ่งในตัวเลือกยอดนิยมของนักลงทุนในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีการลงทุนที่ง่ายและปลอดภัย มั่นใจได้ว่าเงินทุนจะไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง และนอกจากทองคำจะเป็นสินทรัพย์ยอดนิยมในหมู่นักลงทุนทุกระดับแล้ว ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง มีโอกาสสูงในการทำกำไร โดยนักลงทุนสามารถนำกลยุทธ์หลายๆ แบบมาใช้ในการเทรดทองคำได้ อย่างไรก็ดี ท่านจะต้องเข้าใจว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลสำคัญต่อราคาทองคำในปัจจุบัน

None

วันนี้ เราจะมารีวิวเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาทองคำ รวมถึงวิเคราะห์ราคาทองคำวันนี้

ปัจจัยที่ 1 – นโยบายการเงิน (Monetary Policy)

ทุกครั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีการแถลงใดๆ ก็ตาม นักลงทุนจะต้องติดตามให้ดี เพราะนโยบายการเงินจาก FED มีอิทธิพลต่อราคาทองคำเป็นอย่างมาก อย่างที่ทราบกันดีว่า Federal Reserve หรือ FED เป็นผู้บริหารและควบคุมนโยบายการเงินของสหรัฐ โดยปัจจัยพื้นฐานที่จะมีผลต่อราคาทองคำ ได้แก่:

  • อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate): อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนราคาสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงทองคำ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อองค์ประกอบอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (Opportunity cost) นั่นเอง โดยอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวการันตีโอกาสในการลงทุนทำกำไรในทองคำ เพื่อให้นักลงทุนวางแผนได้ว่าควรทำกำไรในช่วงจังหวะใด อีกหนี่งประเด็นสำคัญคือทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยเสมอ ไม่เหมือนกับสินทรัพย์หลักอื่นๆ เช่น พันธบัตร และหุ้น ที่บางครั้งอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์เหล่านั้น
  • คำแถลงของ FED: อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาด โดยทุกๆ 6 สัปดาห์ จะมีการจัดการประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงเวลานั้นๆ และหารือเกี่ยวกับนโยบายการเงินในอนาคต หากคณะกรรมมีมติในการคงอัตราดอกเบี้ย ก็มีแนวโน้มที่ราคาทองจะพุ่ง
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ปัจจัยที่ 2 – ตัวเลขเศรษฐกิจ (Economic Data)

ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาสินทรัพย์และตลาดการเงินทั้งหมด โดยนักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวช่วยวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่:

  1. ตัวเลขการจ้างงาน (Job report) และอัตราการจ้างงาน (Employment rate)
  2. ค่าจ้าง (Wage) และตัวเลขการผลิต (Manufacturing data)
  3. การเติบโตของ GDP และข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมทางเศรษฐกิจชัดขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการเงินของ FED ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำอย่างชัดเจน

ปัจจัยที่ 3 – อุปสงค์และอุปทาน (Supply and Demand)

อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดการเงินและราคาสินทรัพย์ต่างๆ ที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ปัจจัยที่มีผลต่อราคาทองคำแท่ง ตามหลักการทั่วไปเมื่อ Demand สูง Supply ต่ำ ก็จะดันให้ราคาทองปรับตัวขึ้น แต่ถ้าหาก Supply มีมากเกินไป และ Demand มีน้อย ก็จะส่งผลให้ราคาทองปรับตัวลง

ปัจจัยที่ 4 – อัตราเงินเฟ้อ (Inflation)

อัตราเงินเฟ้อมาจากราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้น เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ราคาทองคำก็จะเพิ่มตาม แต่ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อลดลง แน่นอนว่าราคาทองคำก็จะปรับลงเช่นกัน

นอกจากจะส่งผลต่อราคาสินทรัพย์แล้ว อัตราเงินเฟ้อยังเป็นตัวบอกความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ เพื่อบอกแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะมีการเติบโตและขยายตัว และหากเศรษฐกิจมีการเติบโตก็หมายความว่าปริมาณเงิน (Money supply) ในเศรษฐกิจมีการขยายตัว ขณะที่สินทรัพย์จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และราคาทองคำก็จะปรับขึ้นเช่นกัน

ปัจจัยที่ 5 – การเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน (Currency Movement)

การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินหลักๆ ที่เรากำลังพูดถึงก็คือ “ดอลลาร์สหรัฐ” (USD) นั่นเอง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ราคาทองคำนั้นมีความสัมพันธ์กับค่าเงินดอลลาร์ ทำให้เงินดอลลาร์เป็นค่าเงินที่มีอิทธิพลต่อราคาสินทรัพย์ต่างๆ มากที่สุด โดยหากค่าเงิน USD อ่อนค่า ราคาทองจะพุ่ง แต่ถ้าหาก USD แข็งค่าขึ้น ราคาทองก็จะปรับตัวลง

อัปเดตราคาทองคำวันนี้

ปี 2022 นี้ ทองคำก็ยังคงเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มั่นคงที่สุด โดยเราจะแปลงน้ำหนักทองคำออกเป็น 3 หน่วย: ต่อออนซ์, ต่อกรัม และต่อกิโล

ราคาทองคำวันนี้อยู่ที่:

ราคาทองคำล่าสุด
ราคาทองต่อออนซ์ $2,042.00 +41.00
ราคาทองต่อกรัม $65.65 +1.32
ราคาทองต่อกิโล $65,650.30 +1318.15

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน