ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

วิธีเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity): ทำกำไรจากสิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ต้นกำเนิดของสินค้าโภคภัณฑ์

ย้อนกลับไปเมื่อ 4500 ปีก่อนคริสตกาล การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์เกิดขึ้นครั้งแรกในอาณาจักรซูเมอร์ (หรือประเทศอิรักในปัจจุบัน) และรูปแบบการซื้อขายดังกล่าวก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยชาวอารยชนในอดีตนั้นได้ทำการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์หลากหลายชนิด อาทิเช่น เครื่องเทศ, อาหาร, น้ำมัน, ผ้า และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งความสามารถในการควบคุมและบริหารการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านั้น รวมถึงระบบการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นตัวบ่งบอกความยิ่งใหญ่ของแต่ละอาณาจักรได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นการบ่งบอกว่าระบบเศรษฐกิจของโลกได้พัฒนามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

None

และแล้วตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกก็เปลี่ยนไปเมื่อเกิด Chicago Board of Trade ในปี 1848 ซึ่งในปัจจุบันตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ได้กลายเป็นหนึ่งในตลาดที่มีความนิยมมากที่สุดสำหรับการเทรด ยิ่งไปกว่านั้น เราทุกคนต่างก็ได้รับผลกระทบจากพัฒนาการของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คนขับรถอาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งทำให้ราคาแก๊สนั้นเพิ่มสูงขึ้นตาม หรือบางทีอาหารที่ท่านทานบางมื้ออาจได้รับสารอาหารไม่ครบเนื่องจากราคาวัตถุดิบ เช่น ผักหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ นั้นแพงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารตามมาในที่สุด

ขณะกำลังอ่านบทความนี้ ท่านอาจนึกอยากทดลองเทรด Forex ดูบ้าง ไม่ยากเลยครับ! เราขอแนะนำให้ท่านลองคัดลอกดีลเทรดดีๆ จากนักเทรดมืออาชีพ แล้วเรียนรู้การเทรดและทำกำไรได้ในเวลาเดียวกัน!

ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์

เอาล่ะครับ มาทำความรู้จักสินค้าโภคภัณฑ์ให้มากขึ้นว่าสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไรกันแน่? แล้วนักเทรดนิยมเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทใด? สินค้าโภคภัณฑ์ หมายถึง สินค้าหรือวัตถุดิบทั่วไปที่ใช้หรือบริโภคกันในทางการค้า

โดยสินค้าเหล่านั้นสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเดียวกันได้ นั่นหมายความว่าสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดเดียวกันอาจมีคุณภาพและราคาที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศทั่วโลก (ไม่รวมส่วนต่างราคาสินค้าที่ได้เกิดจากปัจจัยท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ค่าขนส่ง หรือภาษี เป็นต้น) ตัวอย่างเช่น ทองคำ 24 K จะมีคุณภาพแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะผลิตขึ้นในประเทศใดของโลกก็ตาม

พูดง่ายๆ สินค้าโภคภัณฑ์ คือ สินค้าที่ได้จากการสกัด, ปลูก หรือผลิต โดยเทรดเดอร์และนักลงทุนมักจะเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือมีสภาพคล่องสูงสุดในตลาดการลงทุน โดยจะแบ่งประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ที่เทรดกันอยู่ในตลาดออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้:

None

โลหะมีค่าอย่างทองคำนั้นเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่าและมีความน่าเชื่อถือมาเนิ่นนาน อีกทั้งยังนิยมใช้กันสำหรับการ Hedging ในจังหวะที่เกิดสภาวะเงินเฟ้อจนมูลค่าสกุลเงินลดลง

การผลิตสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มพลังงานนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับพัฒนาการของเศรษฐกิจโลก โดยราคาของสินค้าประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับกลุ่มตลาดหลักทั่วโลกและความต้องการทางพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตลาดน้ำมันนั้นขึ้นอยู่กับบริษัทขุดเจาะน้ำมันทั้งของเอกชนและของรัฐ รวมถึงบริษัทผู้จำหน่ายและให้บริการเกี่ยวกับน้ำมัน เช่น British Petroleum และ Shell อีกทั้งผู้ใช้บริการน้ำมันอย่างสายการบิน และผู้ซื้อขายน้ำมันประเภทอื่นๆ

ผลผลิตทางเกษตรกรรมก็เป็นอีกหนึ่งประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวนและไม่แน่นอน แต่ก็ยังเป็นตลาดที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเช่นกัน โดยราคาของสินค้าประเภทนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศในแต่ละฤดู และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่สำคัญการเติบโตของจำนวนประชากรและผลผลิตทางการเกษตรที่จำกัดนั้นอาจก่อให้เกิดความต้องการที่มากล้นจนทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้พุ่งสูงขึ้นได้

None

เนื้อสัตว์ หรือ สินค้าปศุสัตว์นั้นได้รับความนิยมน้อยลงมาเมื่อเทียบกับสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ตามการรายงานของ Chicago Mercantile Exchange ปริมาณการซื้อขายของ Feeder Cattle (การปศุสัตว์เพื่อส่งขายให้ผู้อื่นเลี้ยงต่อ) ในเดือน พ.ย. ปี 2018 นั้นมีเพียง 1,365 เท่านั้น โดยตัวเลขนี้เป็นการบ่งบอกจำนวนการซื้อขายสัญญามอบสิทธิ์ในการทำปศุสัตว์ให้ผู้อื่นเลี้ยงต่อ โดยตัวเลขนี้ถือเป็นจำนวนที่น้อย เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและไม่ได้สนใจเกี่ยวกับการเทรดมากนัก

หลังจากทุกท่านได้ทำความรู้จักประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าโภคภัณฑ์ที่นิยมเทรดกันแล้ว ได้เวลามาเรียนรู้วิธีการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมค้นหาคำตอบว่าทำไมท่านจึงควรเทรด CFD ในสินค้าโภคภัณฑ์

จะลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ได้อย่างไร?

หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์จึงต้อง… แค่ซื้อจากแหล่งขายสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านั้นโดยตรงแล้วขายต่อเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคาเลยไม่ได้หรือ? สาเหตุก็เพราะว่า ท่านจะต้องเผชิญกับอุปสรรคที่แสนท้าทายเหล่านี้: จะต้องหาผู้ผลิตที่มีคุณภาพ, ต้องมีที่สำหรับจัดเก็บสินค้า, ต้องใช้บริการบริษัทขนส่ง และยังจะต้องติดต่อบริษัทประกันภัยสำหรับกรณีที่สินค้าอาจเสียหายจากการขนส่งอีกต่างหาก กว่าสินค้านั้นจะถึงมือลูกค้า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ ครับ

ในขณะที่ทองคำเป็นสินค้าที่จัดเก็บง่ายและสามารถเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยทั้งในบ้านและธนาคารได้ แต่มีสินค้าโภคภัณฑ์อีกหลายประเภทที่ยากสำหรับการจัดเก็บ ลองคิดภาพการขายน้ำตาลเป็นจำนวน 112,000 ปอนด์ดูนะครับ ทุกท่านพอจะนึกออกไหมว่าจะจัดเก็บน้ำตาลจำนวนมหาศาลนั้นไว้ที่ไหนดีโดยปราศจากความชื้นและหนูทั้งหลาย?

None

ฟังดูยุ่งยากมากเลยว่าไหมครับ? ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ปัญหาเหล่านั้นมักจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำตาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือบางครั้งราคาน้ำตาลอาจร่วงลงในขณะที่ท่านกำลังลำเลียงน้ำตาลเหล่านั้นไปยังโกดังของท่าน สทำให้ราคาของน้ำตาลมีความผันผวนตามมาในที่สุด ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยกระบวนการเช่นนี้ถือเป็นการทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากจริงๆ ครับ ว่าแต่… มีวิธีการอื่นๆ ที่ทำให้เราสามารถลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยปราศจากความเสี่ยงต่างๆ ได้หรือไม่? มีแน่นอนครับ โดยหนึ่งในวิธีการที่ว่าคือ การเทรดผ่านโบรกเกอร์นั่นเอง

เทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) สินค้าโภคภัณฑ์

เราเชื่อว่าโบรกเกอร์หลายๆ เจ้าอาจได้เสนอหนทางในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ให้กับท่านมากมาย แต่หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การเทรดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ Futures นั่นเองครับ โดยฟิวเจอร์สเป็นสัญญาล่วงหน้าสำหรับการเทรดหรือซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดหุ้น โดยการทำสัญญาตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อให้ท่านสามารถซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์หรือสินทรัพย์ต่างๆ ที่ราคาคาดการณ์ล่วงหน้า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาจัดเก็บหรือขนส่งสินค้าเหล่านั้นให้ยุ่งยาก โดยในกรณีนี้ ราคาของตลาดฟิวเจอร์สจะเป็นผลมาจากการบังคับและควบคุมโดยตลาดหลักทรัพย์นั่นเองครับ

หากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เทรดเดอร์จะต้องจ่ายค่าสัญญาต่างๆ เมื่อเริ่มต้นทำการซื้อ และหากราคาพุ่งขึ้นระหว่างวันที่ซื้อและวันที่สัญญาหมดอายุ เทรดเดอร์ก็จะได้กำไร แต่ถ้าหากราคาร่วงลง เทรดเดอร์ก็จะขาดทุน

สินค้าโภคภัณฑ์: Futures หรือ CFD?

แน่นอนว่า วิธีการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ทางอ้อมผ่านโบรกเกอร์เช่นนี้ก็อาจมีอุปสรรคบ้างเช่นกัน เนื่องจากตลาดฟิวเจอร์สแต่ละแห่งนั้นย่อมมีวันส่งมอบสินค้า (Delivery date) และปริมาณการซื้อขาย (Size of purchase) ที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้น สัญญาฟิวเจอร์สบางสัญญานั้นมีวอลุ่มที่ค่อนข้างมากและราคาก็มักจะแพงตาม ทำให้เทรดเดอร์เลือกที่จะเทรด CFD มากกว่า ซึ่งเป็นวิธีการเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์

แล้วทำไมต้องเทรด CFDs? CFD (Contract for DIfference หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) เป็นสัญญาระหว่างโบรกเกอร์และเทรดเดอร์ เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องครอบครองสินค้าเหล่านั้นจริงๆ CFDs เป็นตราสารเทรดที่ให้กำไรตอบแทนที่ดีมากที่สุดชนิดหนึ่งเลยทีเดียวครับ เนื่องจากว่ามันสามารถใช้ทำกำไรได้มหาศาลแม้จะเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อยก็ตาม

None

หลักการสำคัญในการเทรด CFDs ก็คือ การพิจารณาว่าส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิดของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นจะมีค่าเป็นบวกหรือลบ โดยเทรดเดอร์สามารถใช้หลักการเดียวกันนี้ในการเทรด CFDs สำหรับดัชนีตลาด หรือ CFDs สำหรับหุ้นก็ได้

CFDs มีหลักการทำงานอย่างไร? เมื่อสัญญานั้นหมดอายุหรือสิ้นสุดลง ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องแลกเปลี่ยนส่วนต่างระหว่างราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เมื่อเริ่มต้นสัญญาและราคาของสินค้าเมื่อสัญญานั้นสิ้นสุด ซึ่งถ้าหากเทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์จากการเทรดได้อย่างแม่นยำ ผู้ขายก็จะต้องจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาล่าสุดของสินทรัพย์นั้นให้กับท่าน ในทางกลับกัน หากเทรดเดอร์คาดการณ์ผิดและราคาสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนไปในทิศตรงกันข้าม เทรดเดอร์ก็จะต้องจ่ายส่วนต่างนั้นให้กับผู้ขาย ดังตัวอย่างการเทรด CFDs ที่ประสบความสำเร็จด้านล่างนี้:

None

เมื่อเทรด CFDs ท่านสามารถทำการเปิดและปิดสัญญาได้แบบสบายๆ ไม่ต้องอาศัยจังหวะให้ยุ่งยาก ทำให้การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยสัญญาซื้อขายส่วนต่างนั้นได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่เทรดเดอร์และนักลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น การเทรด CFDs ยังมีข้อดีอีกมากมาย อาทิเช่น:

  1. เลเวอเรจ - CFDs ช่วยให้ท่านสามารถต่อยอดเงินทุนของท่านไปได้อีกยาวไกล เพราะในการเปิดสัญญาหนึ่งๆ ท่านจะต้องฝากเงินเพียงแค่ส่วนหนึ่งของมูลค่าการเทรดทั้งหมด
  2. 5 วันตลอด 24 ชม. - ตลาดเปิดให้เทรด 24 ชม. ตลอดทั้ง 5 วันต่อสัปดาห์ ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกได้แทบจะทุกเวลาเลยก็ว่าได้
  3. ทำกำไรทั้งขาขึ้นและขาลง - CFDs ทำให้นักลงทุนทำกำไรทั้งจากการเทรด Short และ Long หรือสัญญาการซื้อและขายได้แบบง่ายๆ โดยเพียงแค่ท่านเทรด Buy หากคาดว่าราคานั้นจะวิ่งขึ้น และเทรด Sell หากท่านคิดว่าราคาจะร่วงลง

ปัจจัยขับเคลื่อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์

เทรดเดอร์ทุกคนย่อมรู้ดีว่าราคาของสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละชนิดนั้นได้รับผลกระทบมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง แม้แต่ความเสี่ยงจากการขาดแคลนหรือการมีปริมาณสินค้าที่มากเกินไปก็อาจส่งผลให้ราคาเกิดการสวิงได้ ดังนั้น ลองมาดูภาพรวมของผลกระทบจากความต้องการขาย (อุปทาน) และความต้องการซื้อ (อุปสงค์) ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคากันดีกว่าครับ

อุปทาน (Supply)

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปทานหรือความต้องการขายนั้นมีหลายอย่าง เช่น การแทรกแซงโดยรัฐบาล, สภาพอากาศ และเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ท่านยังจำเหตุการณ์การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของประเทศอิหร่านในวันที่ 6 ส.ค. ในปี 2018 ได้หรือเปล่า? ถึงแม้อิหร่านจะเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีการผลิตน้ำมันเยอะที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับกลายเป็นว่าอิหร่านนั้นมีน้ำมันไม่เพียงพอสำหรับการจำหน่าย มีน้ำมันขายในตลาดในจำนวนที่น้อยลง ในขณะที่อุปสงค์หรือความต้องการซื้อนั้นเท่าเดิม ทำให้ผู้ขายนั้นฉวยโอกาสในการขึ้นราคาน้ำมันและขายน้ำมันที่เหลืออยู่ด้วยราคาที่สูง ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการขาดแคลนน้ำมันทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น และทำให้เกิด Price swing ในที่สุด

กราฟด้านล่าง (กราฟ 1) แสดงให้เห็นภาพการสวิงของราคาหลังเกิดการคว่ำบาตรของเศรษฐกิจตามที่เราได้กล่าวมาด้านบน ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในวันต่อมาหลังการคว่ำบาตรนั้นเกิดขึ้น (7 ส.ค.) โดยทะยานขึ้นไปกว่า 900 จุด (ในกรอบสีเหลือง) ก่อนที่จะโดนทุบร่วงลงมาอย่างหนักในเวลาต่อมา

None

จากในกราฟ 1 โปรดทราบ: ในบางครั้งเราไม่สามารถใช้พฤติกรรมของราคาในอดีตเป็นเครื่องมือในการวัดพฤติกรรมหรือผลลัพธ์ราคาในอนาคต

อุปสงค์ (Demand)

แล้วอย่างนั้นปัจจัยใดที่ส่งผลต่ออุปสงค์หรือความต้องการซื้อ? ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออุปสงค์ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและสภาวะทางเศรษฐกิจนั่นเองครับ ทุกวันนี้เราจะสังเกตได้ว่า ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าบางชนิดนั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก เช่น น้ำตาลและยาสูบกลายเป็นสินค้าที่ผู้คนไม่นิยมบริโภคเนื่องจากให้ผลร้ายต่อสุขภาพ ทำให้ความต้องการของสินค้าประเภทนี้ลดน้อยลงจากในอดีต

ในกราฟด้านล่าง (กราฟ 2) ท่านจะเห็นได้ว่าราคาน้ำตาลเกิดการสวิงเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี (ตั้งแต่ปี 2007-2019)

None

จากกราฟ 2 คำเตือน: เช่นเดียวกัน เราไม่อาจใช้พฤติกรรมของราคาในอดีตเป็นตัววัดพฤติกรรมหรือผลลัพธ์ราคาในอนาคต

กราฟด้านบนแสดงให้เห็นราคาน้ำตาลที่ร่วงลงมาในปี 2010 โดยตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2015 ถึงเดือน ก.ย. ปี 2016 ราคานั้นอยู่ในขาขึ้น เนื่องจากมีความกังวลจากทั่วโลกว่าอาจเกิดการขาดแคลนน้ำตาล เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างบราซิลนั้นหยุดชะงักจนน้ำตาลขาดแคลนและราคาพุ่งสูงขึ้น

อย่างไรก็ตามในกรณีดังกล่าว ราคาน้ำตาลแพงขึ้นในขณะที่ความต้องการบริโภคนั้นลดน้อยลง ทำให้ราคานั้นค่อยๆ ลดต่ำลงมาในที่สุด อย่างที่เราได้เน้นย้ำเสมอครับว่า ท่านสามารถทำกำไรจากการเทรดได้จริงๆ แม้ในจังหวะที่ตลาดอยู่ในขาลง ผู้ที่เข้าใจหลักอุปสงค์และอุปทานนั้นสามารถทำกำไรได้มหาศาลจากการเทรด CFD สินค้าโภคภัณฑ์ในจังหวะที่ราคาดิ่งลง ในขณะที่ท่านอาจไม่สามารถใช้หลักการเดียวกันนี้สำหรับการเทรดตราสารประเภทอื่นๆ (ตัวอย่างเช่น หุ้น) ได้ นั่นก็เพราะว่าการร่วงลงอย่างรุนแรงของราคาน้ำตาลอาจทำให้การเทรดหุ้นต้องหยุดลงชั่วคราว และระยะเวลาการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เกิดการชะงัก หรือที่เรียกกันว่า Blackout period นั่นเองครับ แต่ข้อดีของการเทรด CFDs ก็คือ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์การตกต่ำอย่างรุนแรงของราคาจะเกิดขึ้น แต่ท่านก็ยังคงเทรดได้อย่างต่อเนื่องเสมอ ทำให้ท่านสามารถใช้โอกาสวิกฤตเหล่านั้นในการทำกำไรมหาศาลได้

None

อย่างไรก็ดี น้ำตาลอาจไม่ใช่สินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในการเทรดมากนัก ที่เราใช้น้ำตาลเป็นตัวอย่างนั้นก็เพื่อให้ท่านเห็นภาพโอกาสในการทำกำไรจากการเทรด CFDs ทั้งขาขึ้นและขาลงแม้แต่ในสินค้าที่ได้รับความนิยมไม่มากก็ตาม แต่รับรองได้เลยครับว่า MTrading นั้นมีตัวเลือก หลากหลายตราสารยอดนิยม ให้ท่านเลือกเทรด รับรองความต้องการของลูกค้าทุกท่านอย่างแน่นอน

ขอให้เทรดเดอร์ทุกท่านโชคดีกับการเทรด แล้วอย่าลืมหมั่นเพิ่มความรู้ในการเทรดเพิ่มเติม ด้วย คลาสสอนเทรดออนไลน์ และ บทเรียนการเทรด จาก MTrading ทุกครั้งที่ท่านมีข้อสงสัยใดๆ สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากทีมงานของเราผ่านทาง Live Chat บนหน้าเว็บไซต์ MTrading.com/th

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน