ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ค่า Correlation ในแง่ของการเทรด คืออะไร? เรียนรู้วิธีหาค่าความสัมพันธ์ของราคาง่ายๆ ฉบับมือใหม่

การหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ในแง่ของการเทรด คือ การเปรียบเทียบความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์แต่ละตัว เพื่อดูว่าราคาของสินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งส่งผลอย่างไรและมีความสัมพันธ์อย่างไรต่อราคาของสินทรัพย์อีกตัว ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเราจะนำประเด็นนี้มาใช้สำหรับการเทรดคู่เงินในตลาด Forex เพื่อคาดการณ์ทิศทางราคาค่าเงินแต่ละตัวว่าจะขึ้นลงอย่างไร จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือจะสวนทางกันนั่นเอง

None

ยิ่งไปกว่านั้น ความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ยังใช้เป็นเครื่องมือในการคาดการณ์ราคาล่วงหน้า และเปรียบเทียบข้อมูลราคาย้อนหลัง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์สัญญาณทางเทคนิคเพื่อวิเคราะห์ตลาด

Correlation คืออะไร?

Correlation หมายถึง การหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตราสารการเงิน หรือที่เรียกว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) นั่นเองครับ โดยเราจะคำนวณระดับความสัมพันธ์ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ -100% ไปจนถึง 100% ซึ่งจำนวนเปอร์เซ็นต์จะบ่งบอกได้ว่าความสัมพันธ์ของตราสารเหล่านั้นอยู่ในระดับใด โดยคำนวณจากพฤติกรรมราคาย้อนหลังของตราสารแต่ละตัว

ตัวอย่าง:

  1. สมมุติท่านกำลังสนใจคู่เงิน 2 คู่ที่มีระดับความสัมพันธ์อยู่ที่ 50% นั่นหมายความว่ามีโอกาสถึง 50% ที่คู่เงิน 2 คู่นั้นจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน
  2. ในขณะเดียวกัน หากค่าความสัมพันธ์ของคู่เงิน 2 คู่อยู่ที่ -70% ท่านสามารถคาดการณ์ได้เลยว่าราคาคู่เงินทั้ง 2 คู่มีโอกาสสวนทางกันสูงมาก
  3. หากค่าดังกล่าวเท่ากับ 0 นั่นหมายความว่า ตราสารทั้ง 2 ไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ราคาตราสารตัวใดตัวหนึ่งจะไม่ส่งผลต่อทิศทางราคาของตราสารอีกตัวนั่นเองครับ

อย่างไรก็ดี ค่าความสัมพันธ์นั้นอาจบ่งบอกราคาได้ไม่แน่นอนเสมอไป เนื่องจากทิศทางราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา ไม่เหมือนกับพฤติกรรมราคาในอดีต ดังนั้น การที่ตราสารคู่ใดคู่หนึ่งมีทิศทางราคาที่สัมพันธ์กันมากๆ ในอดีต อาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะยังคงสัมพันธ์กันในอนาคต เพราะเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วในช่วงปีหลัง ตราสารทั้ง 2 อาจมีค่าความสัมพันธ์เป็นลบหรือเป็น 0 เลยก็ได้เช่นกัน ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญตามมานอกจากการเข้าใจความหมายของค่าความสัมพันธ์แล้ว ยังต้องเข้าใจประเภทความสัมพันธ์ของตราสารด้วยนะครับ

ประเภทของ Correlation

ค่าความสัมพันธ์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่เป็น 0, ความสัมพันธ์ที่เป็นบวก และความสัมพันธ์ที่เป็นลบ โดยมีรายละเอียดดังนี้:

  • ความสัมพันธ์เชิงบวก หมายถึง การที่สินทรัพย์ 2 ตัวมีทิศทางราคาแบบเดียวกัน หากราคาพุ่งก็จะพุ่งตามๆ กันไป หากราคาร่วงก็จะร่วงลงเหมือนกัน แม้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อราคานั้นจะต่างกันก็ตาม
  • ความสัมพันธ์เชิงลบ จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสินทรัพย์ตัวหนึ่งร่วง ในขณะที่สินทรัพย์อีกตัวราคาพุ่ง
  • ความสัมพันธ์ที่เป็น 0 จะบ่งบอกว่าสินทรัพย์ทั้ง 2 ไม่ได้มีราคาที่สัมพันธ์กันเลยแม้แต่น้อย
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ค่าความสัมพันธ์สำคัญต่อนักลงทุนยังไง?

ทำไมต้องนำค่าความสัมพันธ์มาใช้ในการเทรดหรือการลงทุนน่ะหรอ? ก็เพราะว่ามันจะช่วยให้พอร์ตของท่านโตขึ้นจากการกระจายสินทรัพย์การลงทุนได้ยังไงล่ะ! แถมยังช่วยลดความผันผวน และโอกาสที่จะขาดทุนมากๆ ได้อีกด้วยนะครับ พูดง่ายๆ ก็คือท่านสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นจากการพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งในเชิงบวกและลบของสินทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นำไปใช้ได้ผลจริงหากท่านต้องการลดความเสี่ยงของการเทรดในระยะยาว

ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตราสารแต่ละตัวก่อนตัดสินใจลงทุนจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและโอกาสในการเทรดให้มากขึ้นได้ โดยถึงแม้การกระจายการลงทุนในตราสารที่หลากหลายจะเป็นเสมือนการกระจายความเสี่ยงก็จริง แต่นั่นก็ทำให้ท่านมีโอกาสรับผลตอบแทนที่มากขึ้นได้เช่นกัน และที่สำคัญ การเลือกลงทุนทั้งในตราสารที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกและเชิงลบก็ยังเป็นกลยุทธ์การเทรดที่นักเทรดมืออาชีพนิยมใช้กันอีกด้วย

วิธีจัดการความเสี่ยงโดยการใช้กลยุทธ์ลงทุนตามความสัมพันธ์ของตราสาร

แน่นอน ไม่ว่าท่านจะใช้กลยุทธ์เทรดแบบใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อจะได้ตัดสินใจเทรดให้ถูกต้อง รอบคอบ และลดความผิดพลาดที่อาจก่อให้เกิดการขาดทุนได้ในที่สุด โดยวิธีการบริหารความเสี่ยงที่นิยมใช้กันเมื่อเลือกเทรดตราสารตามความสัมพันธ์ของตราสารเหล่านั้นคือการเลือกลงทุนในตราสารที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกเป็นหลัก เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนแล้ว ตราสารที่มีความสัมพันธ์เป็นบวกยังช่วยเพิ่มโอกาสและปริมาณกำไรให้มากขึ้นได้อีกด้วย และเมื่อไหร่ก็ตามที่ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตราสารแต่ละรายการเริ่มลดลง ลองวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ให้ถี่ถ้วน แล้วรีบตัดสินใจปิดออเดอร์ทันที เนื่องจากตราสารนั้นๆ อาจไม่ได้มีทิศทางราคาแบบเดียวกันอีกต่อไป

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน