ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

เทคนิคเด็ดในการปกป้องเงินทุนและขยายเงินทุนให้โต

เมื่อพูดถึงวิธีการขยายเงินลงทุนให้เติบโต หลายท่านคงจำคำพูดของนักลงทุนระดับตำนานอย่าง Warren Buffet ได้ดี ที่ว่ายังไงก็ตาม “อย่าได้เสียเงินเชียว” แน่นอนว่าเขาต้องการจะบอกว่าเมื่อตลาดตกอยู่ในวิกฤตและการเงินทั่วโลกกำลังร้อนระอุ อย่าเพิ่งขายสินทรัพย์ที่ขาดทุนทั้งหมดทิ้งเด็ดขาด แต่นักลงทุนจะต้องคิดวิธีแก้ปัญหาในรูปแบบอื่นๆ และตัดสินใจอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาให้ดี เพื่อเป็นการปกป้องเงินทุน หรือที่เรียกว่า “Investment capital protection” นั่นเอง

None

ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับคำแนะนำในการปกป้องเงินลงทุนของท่านที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในจังหวะที่ตลาดหุ้นเข้าสู่ขั้นวิกฤต

เงินทุน (Investment Capital) คืออะไร?

เงินทุน (Investment capital) รวมถึงมูลค่าสินทรัพย์และตราสารทั้งหมดที่ท่านครอบครองอยู่ ซึ่งเป็นตราสารที่ช่วยเพิ่มความมั่งคั่งในระยะยาว อาทิ สินค้าโภคภัณฑ์, หุ้น, พันธบัตร และตราสารยอดนิยมประเภทอื่นๆ ที่อาศัยการซื้อขายระยะยาวเป็นหลัก

ดังนั้น เมื่อพูดถึงวิธีปกป้องเงินทุน นั่นหมายความว่าท่านจะต้องปกป้องมูลค่าสินทรัพย์และกองทุนทั้งหมดที่ท่านถืออยู่ เพื่อวางแผนไว้ใช้สำหรับการเกษียณอายุในอนาคตหรือเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนของลูกๆ ของท่านในอนาคต ประเด็นเกี่ยวกับการปกป้องเงินทุนได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างมาก เมื่อหุ้นตกก็ดิ่งหนัก แต่จู่ๆ ก็อาจพุ่งกลับขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาข่าวสารต่างๆ นักลงทุนทุกท่านจึงควรมองหาวิธีป้องกันเงินทุนของท่านให้อยู่ในความปลอดภัยเสมอ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

1. พิจารณาคุณภาพ

ทุกครั้งที่ท่านสงสัยว่าจะเก็บหุ้นตัวไหนไว้ดี เพื่อให้มูลค่ารวมของเงินทุนของท่านยังอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ ขอแนะนำให้ท่านมองที่คุณภาพของหุ้นเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องยากที่จะลองศึกษาข้อมูลในอดีตว่าบริษัทต่างๆ มีการดำเนินการอย่างไร วิเคราะห์ดูว่าสินทรัพย์เหล่านั้นเอาชนะวิกฤตครั้งที่ผ่านๆ มาได้อย่างไร และมูลค่าของสินทรัพย์นั้นเป็นอย่างไร หากหุ้นมีคุณภาพจริงจะต้องมีผลดำเนินการที่มั่นคง เพื่อให้ท่านลงทุนได้ด้วยความรู้สึกปลอดภัย แม้ตลาดจะอยู่ในช่วงที่แย่ที่สุดก็ตาม

2. จัดสรรสินทรัพย์

การจัดสรรสินทรัพย์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการป้องกันเงินทุนของท่าน เพราะเป็นหลักการทั่วไปในการปกป้องความเสี่ยงจากสภาพคล่องของตลาดและมูลค่าตลาดที่ผันผวนอย่างรุนแรง โดย "การจัดสรรสินทรัพย์" หมายถึง การวางแผนแนวทางที่ดีดีและมีระเบียบวินัย หรืออาจเป็นการวางแนวทางตามวัฏจักร ซึ่งมีวิธีการไม่ยาก ดังนี้:

  • เมื่อราคาหุ้นขึ้น การจัดสรรเงินสำหรับลงทุนที่มากเกินไปก็อาจทำให้ท่านเป็นหนี้ได้
  • เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างมากทำให้พอร์ตของท่านน่าพึงพอใจ แสดงว่าท่านมีการจัดสรรเงินทุนให้กับหุ้นระดับล่าง

3. ล็อกกำไรด้วยฟิวเจอร์ส

อย่าประมาทเกี่ยวกับการวางแผนการเงินในอนาคต เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าตลาดจะดีหรือแย่ไปได้นานแค่ไหน ขณะเดียวกัน การวางแผนในอนาคตเป็นทางออกที่ดีในการสร้างรายได้และล็อกกำไรผลตอบแทนในอนาคต โดยการล็อกกำไรในที่นี้หมายถึงการขายสัญญาฟิวเจอร์สนั่นเอง

เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถล็อกกำไรได้ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอย่างรุนแรงจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของท่าน โดยเราขอแนะนำให้ท่านขายชอร์ต (Short sell) สัญญาฟิวเจอร์สอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อเดือน เพราะนอกจากจะได้ค่าสเปรดรายเดือนแล้ว พอร์ตของท่านจะได้รับค่าดอกเบี้ยในแต่ละเดือนเพิ่มเติมอีกด้วย

4. ใช้เทคนิคกระจายพอร์ต

การกระจายพอร์ตการลงทุนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลจริงในการปกป้องเงินลงทุนของท่านจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยคำว่า “กระจาย” หมายถึง การลงทุนสินทรัพย์หลายประเภท, หลากหลายกลุ่ม, หลายตลาด และธีมการลงทุนหลายๆ แบบ ไม่ว่าจะเป็นทองคำ, อสังหาริมทรัพย์, หุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นๆ จะเห็นว่ามีตัวเลือกการลงทุนให้เลือกกว้างมาก อย่างไรก็ตาม ท่านไม่จำเป็นต้องซื้อสินทรัพย์ทุกอย่างที่ท่านสนใจ แต่เลือกดูให้ดีว่าสินทรัพย์ไหนที่มีแนวโน้มจะให้ผลตอบทุนที่คุ้มค่า

แนวคิดในการปกป้องเงินลงทุนนั้นไม่ยาก หากจะปกป้องเงินทุนให้สำเร็จ ขณะที่คนอื่นๆ กำลังอยู่ในความวิตกและหวาดกลัว ท่านยังต้องกล้าที่จะหวังผลตอบแทนจากการลงทุน และอย่าเพิ่งรีบขายสินทรัพย์ทั้งหมดทิ้งโดยเด็ดขาด

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน