ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) คืออะไร? นโยบายการเงินสำคัญต่อการลงทุนอย่างไร?

นโยบายการเงิน (Monetary policy) เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารกลางหรือแบงก์ชาติใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่รัฐเป็นผู้กำหนด ไม่ว่าจะเป็นสภาพคล่อง การบริโภค หรืออัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น อย่างไรก็ดี เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินนั้นมักใกล้เคียงกัน อาจแตกต่างกันเล็กน้อยตามประเภทของนโยบายการเงินนั้นๆ

None

เพื่ออธิบายให้นักลงทุนมือใหม่เข้าใจง่ายขึ้น วันนี้เราจะพูดถึงประเภทหลักของนโยบายการเงิน รวมถึงบทบาทสำคัญของนโยบายการเงินทั้งในแง่เศรษฐกิจของประเทศ และความสำคัญต่อนักลงทุนและการลงทุน

อธิบายนโยบายการเงินแบบง่ายๆ

นโยบายการเงิน คือ นโยบายที่ธนาคารกลางหรือองค์การเงินตราใช้ในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยและอุปทานทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจัดหาช่องทางต่างๆ ให้เงินมีการไหลเวียน

โดยช่วงที่มีการประกาศนโยบายทางการเงินเป็นช่วงจังหวะที่สำคัญสำหรับนักลงทุน นักวิเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน เนื่องจากนอกจากการรายงานตัวเลขและผลการเงินต่างๆ จะส่งผลในระยะยาวต่อเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังมีผลต่อเนื่องถึงตลาดการเงินและความเคลื่อนไหวของราคาในภาคเศรษฐกิจ อัตสาหกรรม และกลุ่มการลงทุนต่างๆ อีกด้วย

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ประเภทหลักของนโยบายการเงิน

ผู้เชี่ยวชาญแบ่งนโยบายการเงินออกเป็นหลายประเภทตามรูปแบบการดำเนินการของนโยบายนั้นๆ โดยประเภทนโยบายการเงินที่สำคัญที่ท่านควรพิจารณา ได้แก่:

  • นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary policy) – เป็นนโยบายที่ใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอยหรือมีการชะลอตัว สังเกตได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้นโยบายการเงินประเภทนี้มีเป้าหมายในการเพิ่มอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และเพิ่มความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ โดยรัฐจะลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงเพื่อกระตุ้นให้มีการจับจ่ายบริโภคเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนอยากที่จะออกมาใช้จ่ายมากกว่าที่จะเก็บเงินเพียงอย่างเดียว
  • นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary policy) – นโยบายนี้จะแตกต่างจากนโยบายก่อนหน้าอย่างชัดเจน เนื่องจากจะใช้เมื่ออุปทานทางการเงินเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลให้เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูง รวมถึงต้นทุนทางธุรกิจและค่าครองชีพก็จะสูงตาม และเพื่อป้องกันสถานการณ์เหล่านั้น รัฐจะมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อและอุปทานทางการเงิน

ปัจจัยสำคัญของนโยบายการเงินที่ไม่ควรมองข้าม!

การกำหนดนโยบายการเงินใดๆ ก็ตามจะต้องมาจากระดับความไว้วางใจของสาธารณชน เพราะถ้าหากไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ก็อาจไม่มีเกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายดังกล่าว พูดง่ายๆ ก็คืออัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับเดิม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

หวังว่าตอนนี้ทุกท่านคงเข้าใจแล้วว่านโยบายการเงินมีความสำคัญต่อนักลงทุนอย่างไร ดังนั้น ท่านจะต้องติดตามการออกนโยบายทางการเงินอย่างใกล้ชิด รวมถึงความไว้วางใจของสาธารณชน ซึ่งจะมีผลต่อมูลค่าการลงทุนของท่าน และทำให้ท่านสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน