วิธีใช้ Sentiment Indicator สำหรับมือใหม่ เพื่อศึกษาอารมณ์ตลาด

หลังจากที่มือใหม่หัดเทรดหลายๆ ท่านเริ่มเข้าสู่วงการเทรดแบบเต็มตัวแล้ว คงจะรู้จัก 2 รูปแบบหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลในตลาดเป็นอย่างดี นั่นก็คือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) นั่นเอง โดยปัจจัยทางเทคนิคจะช่วยให้เทรดเดอร์จับจังหวะการเทรดสำคัญๆ จากพฤติกรรมราคาได้ดีเลยทีเดียวครับ

None

และอีกหนึ่งประเภทก็คือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลประกอบการของแต่ละบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่ท่านสนใจเทรด รวมถึงข่าวที่บ่งบอกภาพรวมของเศรษฐกิจโลกอีกด้วย โดยข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เทรดเดอร์ประเมินได้ว่าสภาวะทางเศรษฐกิจขณะนั้นเป็นอย่างไร ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองหรือปัจจัยอื่นๆ หรือไม่ และที่สำคัญเทรดเดอร์จะวิเคราะห์ได้ว่าตราสารใดที่กำลังเป็นที่นิยม และผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดที่มีมูลค่าน้อยลง

โดยส่วนใหญ่แล้วเทรดเดอร์มักจะคำนึงเกี่ยวกับการวิเคราะห์ 2 ประเภทนี้เป็นหลัก แต่มักจะลืมว่ายังมีการวิเคราะห์อีกประเภท… ใช่แล้วครับ! ที่เรากำลังพูดถึงก็คือ การวิเคราะห์ความรู้สึกหรือความอ่อนไหวของตลาด หรือ Sentimental Analysis นั่นเอง!!

เอาล่ะ! หลายท่านที่ยังไม่คุ้นหูคงเริ่มสงสัยกันแล้วว่าการวิเคราะห์ sentiment ของตลาดมีประโยชน์อย่างไร? และจะใช้ sentiment indicator เป็นตัวช่วยในการเทรดได้ยังไงบ้าง? ไปติดตามบทความของเรากันต่อเล้ยยย!

การวิเคราะห์อารมณ์ของตลาด (Sentiment Analysis) คืออะไร?

จากชื่อคงพอคาดเดากันได้บ้างแล้วว่าการวิเคราะห์ sentiment ของตลาด หรือ sentiment analyis คือการประเมินสภาวะอารมณ์และความอ่อนไหวของตลาดเพื่อคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางราคาของตลาดหรือสินทรัพย์ที่เฉพาะเจาะจงนั่นเอง ซี่งถ้าหากท่านพิจารณาแล้วว่าสภาวะของตลาดและสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงข้อมูลข่าวสารในตลาดส่อแววเป็นปัจจัยบวก ก็ถือเป็นสัญญาณขาขึ้นซึ่งเป็นจังหวะในการเปิดออเดอร์ Long (buy) นั่นเอง ในขณะเดียวกัน สัญญาณขาลงหรือจังหวะในการขายชอร์ต (Short sell) จะมาก็ต่อเมื่อมีข่าวสารที่เป็นปัจจัยลบจากการวิเคราะห์ของอินดิเคเตอร์ sentiment

อย่างไรก็ตาม บางครั้งข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาก็อาจไม่ได้บอกสัญญาณเทรดที่ถูกต้องเสมอไป ทั้งนี้ เทรดเดอร์ก็ควรพิจารณาข้อมูลข่าวสารทางการเงินทั้งที่เป็นปัจจัยบวกและลบร่วมด้วยในระหว่างการเทรด ซึ่งมีโอกาสสูงที่ข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ที่ท่านกำลังเทรดอยู่ แต่อย่าลืมว่าท่านจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ดี ซึ่งหากท่านรู้จักใช้ sentiment indicator ให้เป็นประโยชน์ ก็หมดห่วงได้เลย!

Sentiment Indicator คืออะไร?

ตัวชี้วัดสภาวะอารมณ์ของตลาดอาจมาในรูปแบบกราฟหรือตัวเลขก็ได้เช่นกัน โดยตัวชี้วัดเหล่านั้นจะวิเคราห์ะตราสารหรือผลิตภัณฑ์ในแต่ละกลุ่ม แล้วประเมินว่าตราสารนั้นๆ มีสภาวะในตลาดอย่างไร พูดง่ายๆ ก็คือเทรดเดอร์จะเห็นได้ว่าข้อมูลข่าวสารต่างๆ การคาดการณ์ รวมถึงความเชื่อมั่นในตลาด จะมีโอกาสส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนในตลาดอย่างไรต่อไป

ทั้งนี้ การวิเคราะห์ของอินดิเคเตอร์ดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์แต่ละรายการที่ท่านเทรดนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หากท่านใช้ sentiment indicator ของหุ้น ท่านก็จะรู้ได้ว่ากลุ่มซื้อขายหุ้นนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าตลาดกำลังจะเป็นขาขึ้น (Bullish) หรือขาลง (Bearish) นั่นเอง โดยหากตลาดอยู่ในช่วงขาลงมานานเกินไป ก็เป็นไปได้ที่ราคาอาจปรับตัวขึ้นในไม่ช้า แต่ถ้าหากตลาดเป็นช่วงขาขึ้นมานานแล้ว ราคาก็อาจกลับตัวลงเร็วกว่าที่ท่านจะรู้ตัวเสียอีก

อารมณ์ของตลาด (Market Sentient) คืออะไร?

อารมณ์ของตลาดเป็นตัวบ่งบอกสภาวะของตราสารในแต่ละกลุ่มนั่นเอง โดยอารมณ์เหล่านั้นก็คือความอ่อนไหวของตลาดซึ่งได้รับปัจจัยมาจากความเคลื่อนไหวของราคา ณ ขณะนั้น ทั้งนี้ เทรดเดอร์จะต้องพิจารณาพฤติกรรมของตลาดในช่วงเวลานั้นร่วมด้วย:

  1. หากราคาเพิ่มขึ้น ถือเป็นสัญญาณตลาดขาขึ้น (Bullish market)
  2. หากราคาลดลง ถือเป็นสัญญาณตลาดขาลง (Bearish market)

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

อินดิเคเตอร์ Sentiment กำลังบอกอะไร?

การตีความ sentiment indicator นั้นขึ้นอยู่กับว่าท่านอ่านตัวชี้วัดชนิดนี้อย่างไร หากตัวเลขอยู่ในระดับต่ำๆ หมายความว่าผู้บริโภคกำลังได้รับแรงกดดันจากสภาวะเชิงลบของตลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดมีการปรับตัวบวก และราคาก็อาจกลับตัวขึ้นหลังจากนั้น

ในขณะเดียวกัน หากอินดิเคเตอร์ดังกล่าวอยู่ในระดับสูงๆ ก็หมายความว่าผู้บริโภคกำลังมองตลาดอยู่ในเกณฑ์บวก ซึ่งเทรดเดอร์มืออาชีพโดยส่วนใหญ่จะมองว่า indicator นั้นอาจปรับตัวลงพร้อมๆ กับตลาดในไม่ช้า  

อินดิเคเตอร์ Sentiment ของตลาด vs. อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค

Indicator บางตัวอาจใช้วิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงเทคนิคและสภาวะอารมณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม อินดิเคเตอร์ทั้ง 2 ประเภทก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนี้:

  1. อินดิเคเตอร์ Sentiment ใช้บอกพฤติกรรมของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องในตลาดดังกล่าว
  2. อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค บ่งบอกภาพรวมของตลาด ไม่ว่าจะเป็นราคา (Price), ปริมาณการซื้อขาย (Volume), และข้อมูลอื่นๆ ในเชิงเทคนิคที่ปรากฎใน กราฟเทรด

สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับ Sentiment Indicator

ข้อมูลที่ได้จากการใช้ sentiment indicator อาจมีข้อจำกัดและไม่ได้ครอบคลุมปัจจัยทั้งหมดที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มของตลาด ดังนั้น เทรดเดอร์ไม่ควรด่วนตัดสินสัญญาณเทรดและรีบเทรดหลังจากอ่านอินดิเคเตอร์เหล่านั้นในทันที แต่ควรอาศัยการวิเคราะห์รูปแบบอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะตัวชี้วัดทางอารมณ์จะไม่ได้บ่งบอกเวลาที่ราคาหรือเทรนด์อาจเปลี่ยนแปลงแบบแน่นอน แต่จะแสดงผลเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุน และนักเทรดในตลาดเท่านั้น ซึ่งหากจะวิเคราะห์ตลาดให้ได้ผลและแม่นยำจริงๆ เทรดเดอร์ควรใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคประกอบด้วย เพื่อยืนยันแนวโน้มราคาที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน