ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

10 ขั้นตอนการเตรียมแผนการเทรดให้สำเร็จ

การเทรด Forex เปรียบเสมือนการทำธุรกิจที่จะต้องมีแผนธุรกิจที่มั่นคง เพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งนักเทรดมือใหม่ส่วนใหญ่มักคิดว่าการจะมีแผนการเทรด Forex ที่ดีได้นั้นต้องการอ่านหนังสือ Forex หลายๆ เล่ม, เรียนรู้วิธีอ่านกราฟขั้นพื้นฐาน และเรียนรู้วิธีเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ แต่รู้ไหมว่านั้นอาจไม่เพียงพอสำหรับการซื้อขายที่ประสบความสำเร็จและปราศจากความเสี่ยง

None

วันนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ท่านวางแผนการเทรดและพัฒนาแผนการซื้อขายได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ในระยะยาว เนื่องจากท่านอาจต้องการปรับปรุงกลยุทธ์การซื้อขายให้เหมาะกับสถานการณ์ในจังหวะนั้นๆ อย่างไรก็ตาม แผนการเทรด Forex ของท่านจะต้องมีพื้นฐานบางอย่างที่สำคัญ

วิธีวางแผนการเทรด Forex สำหรับนักเทรดมือใหม่

แผนการเทรดของแต่ละคนหรือแผนการเทรดแต่ละแบบนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากการเทรดแต่ละประเภทก็ใช้เทคนิคแบบเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ดี แนวทางการเทรดทุกแบบจะสะท้อนถึงสไตล์และลักษณะนิสัยในการเทรดของท่าน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการยอมรับความเสี่ยงและแนวทางการจัดการที่แตกต่างกันอีกด้วย แต่ไม่ว่าแผนการเทรดของท่านจะเป็นแบบใด องค์ประกอบสำคัญที่ต้องมี ได้แก่:

1. การพัฒนาทักษะ

มั่นใจมากแค่ไหนว่าท่านสามารถที่จะเข้าสู่ตลาดการเงินด้วยเงินลงทุนจริง? สิ่งสำคัญคือท่านต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีทักษะและความเข้าใจเพียงพอเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของตลาด ขอแนะนำให้ลองเทรดแบบ Paper trading หรือทดลองใช้บัญชีเดโม่ก่อนเริ่มเทรดด้วยเงินจริง เครื่องมือเหล่านี้เป็นวิธีการพัฒนาทักษะที่ปราศจากความเสี่ยง เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่อย่างมาก

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ด้วยวิธีการทดลองเทรด มือใหม่หัดเทรดมีโอกาสที่จะป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเทรดได้ อีกทั้งการเทรดแบบ Paper trading ก็จะเพิ่มความมั่นใจในการเทรดได้มากขึ้น จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนักเทรดควรจะทดลองเทรด และไม่ถึงเวลาเทรดจริง ก็ควรเทรดแต่พอดี แม้ว่าท่านจะคาดหวังผลตอบแทนที่มากมหาศาลก็ตาม แต่อย่าลืมว่ายิ่งเทรดมาก ก็ยิ่งเสี่ยงมาก

2. พัฒนาการด้านสภาพจิตใจ

นอกจากทักษะการเทรดทั่วๆ ไปแล้ว เทรดเดอร์จะต้องเตรียมตัวด้านจิตใจให้ดี เริ่มต้นจากการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพิ่มความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการด้านการเงิน และแน่นอนว่าท่านจะต้องหลีกเลี่ยงอารมณ์โกรธ ความวิตกกังวล ความกลัว และความโลภซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการลงทุนของท่านได้

3. รูปแบบการจัดการความเสี่ยง

ขั้นต่อไปคือการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ที่ท่านรับได้ ว่าท่านสามารถเสี่ยงกับเงินทุนหรือพอร์ตโฟลิโอของท่านได้มากน้อยแค่ไหนจากการเทรดเพียงครั้งเดียว? แน่นอน ระดับความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับแนวทางและรูปแบบการเทรดของท่านเป็นหลัก อย่างไรก็แล้วแต่ ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมนั้นไม่ควรเกิน 5% ต่อการเทรดในหนึ่งครั้ง เพราะตามหลักการแล้วระดับความเสี่ยงจะอยู่ที่ระหว่าง 1% - 5% ขึ้นอยู่กับประเภทสินทรัพย์ ตลาด และปัจจัยอื่นๆ

4. การระบุเป้าหมายในการเทรด

เมื่อท่านได้กำหนดระดับความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว ได้เวลามากำหนดเป้าหมายหลักในการลงทุนของท่าน ซึ่งก็คือการกำหนดอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่แท้จริงด้วยระดับต่ำสุดและสูงสุดที่ท่านยอมรับได้ วิธีการที่ดีคือการพัฒนาการเทรดแบบการรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนโดยมีเป้าหมายกำไรที่ชัดเจนซึ่งท่านวางแผนที่จะไปให้ถึง

5. การทำการบ้านและฝึกฝน

แผนการเทรด Forex ที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จต้องมาจากการวิเคราะห์ศึกษาและการสำรวจเป็นอย่างดี ท่านจะต้องตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งในจังหวะก่อนและหลังจากตลาดจะเปิด แล้วใช้ตัวเครื่องมืออินดิเคเตอร์ช่วยวิเคราะห์และคอยติดตามข้อมูลปัจจัยพื้นฐานเพื่อทราบความเคลื่อนไหวของบริษัทหรือสินทรัพย์เป้าหมายที่ท่านกำลังเทรดอยู่

6. การเตรียมการซื้อขาย

ทุกๆ ครั้งที่เทรด ท่านจะต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างดี ขั้นตอนนี้จะช่วยให้ท่านสามารถกำหนดค่าการแจ้งเตือนที่ช่วยบ่งบอกสัญญาณการเข้าหรือปิดออเดอร์ ที่สำคัญคือท่านจะต้องสร้างสัญญาณที่ตรวจจับได้ง่ายเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณรบกวนของตลาด

7. กฎการปิดออเดอร์

นักเทรดมือใหม่ส่วนใหญ่มักทำผิดพลาดแบบเดิมซ้ำๆ และมักมองข้ามการวางแผนการเทรดในขั้นตอนนี้ โดยนักเทรดส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการเข้าออเดอร์ แต่ไม่มีแผนว่าจะต้องปิดออเดอร์ตอนไหน ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือท่านจะต้องวางแผนการปิดออเดอร์ก่อนเทรดทุกครั้งเสมอ ถึงแม้ว่าท่านจะเทรดแพ้ แต่ท่านก็จะต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับความล้มเหลวและปิดการเทรดเพื่อป้องกันการขาดทุนที่มากยิ่งกว่าเดิม ที่สำคัญ อย่าลืมตั้งเป้าหมายกำไรเสมอ ทุกๆ ครั้งที่เทรด

8. กฎการเข้าออเดอร์

แม้เราจะมองว่าการปิดออเดอร์มีความสำคัญมากกว่าการเข้าออเดอร์ แต่ก็ยังการระบุจุดที่เหมาะสมในการเข้าออเดอร์ก็เป็นสิ่งที่นักเทรดควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเทรดควรหลีกเลี่ยงระบบการเข้าออเดอร์ที่ซับซ้อนจนเกินไป ตัวอย่างเช่นการตั้งเงื่อนไขและทริกเกอร์มากกว่า 20 รายการอาจเกิดความซับซ้อนและจัดการกลยุทธ์ได้ยาก ทางที่ดีคือการใช้หุ่นยนต์ช่วยเทรด Forex ที่จะช่วยจัดการพารามิเตอร์ต่างๆ และเงื่อนไขการเทรดหลายๆ รายการได้ เพื่อให้ง่ายสำหรับนักลงทุนในการดำเนินการซื้อขายมากยิ่งขึ้น

9. การติดตามและบันทึกผล

การจดบันทึกมีความสำคัญอย่างมาก เพราะแม้แต่เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จมากในการเทรดก็ยังมีการจดบันทึกการเทรดไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเทรดที่ชนะหรือแพ้ โดยการศึกษาข้อมูลเชิงลึกและปัจจัยสำคัญทั้งหมดที่นำไปสู่ผลลัพธ์ในการเทรด โดยบันทึกจะช่วยให้ท่านวิเคราะห์ได้ว่ากลยุทธ์การเทรดของท่านดำเนินไปอย่างราบรื่นหรือไม่ จำเป็นต้องแก้ไขอะไรหรือเปล่า แนวทางนี้จะช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเดียวกันในระยะยาวและปรับปรุงแนวทางการเทรดโดยรวมได้

10. การวิเคราะห์ผลการเทรด

สิ่งที่สำคัญกว่าการได้กำไรคือการทำความเข้าใจว่าเพราะอะไรจึงได้กำไร และมีวิธีการใดที่จะทำให้ท่านได้รับผลกำไร เช่นเดียวกับการขาดทุน ท่านจะต้องเข้าใจว่าอะไรคือสาเหตุที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์จากการเทรดในแต่ละครั้ง ที่สำคัญโปรดอย่ากลัวการขาดทุน เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติ สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตามแผนไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและจัดการกับอารมณ์ให้ดี

สรุปเกี่ยวกับแผนการเทรด Forex

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ท่านไม่มีทางเห็นแผนการเทรด Forex แบบเดียวกันซ้ำๆ เพราะแผนการเทรดแต่ละแบบขึ้นอยู่กับแนวทางและรูปแบบการซื้อขายที่ชัดเจน ในขณะเดียวกัน แผนการเทรด Forex จะมีองค์ประกอบพื้นฐานและเครื่องมือสำคัญหลายอย่างที่จะช่วยให้ท่านพัฒนาการซื้อขายและเทรดเป็นอาชีพได้อย่างมั่นคง ถึงแม้การเทรดแบบจำลองอาจไม่ได้รับประกันความสำเร็จในการเทรดแบบ 100% แต่ก็จะช่วยให้มือใหม่หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน