Ralph Nelson Elliott ได้คิดค้นและพัฒนาหนึ่งในหลักการเทรดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จากนามสกุลเทรดเดอร์หลายๆ คนคงคาดเดาได้แล้วว่าหลักการที่ว่านั้นคืออะไร ถูกต้องแล้วครับ! ทฤษฎี Elliott Wave ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์กราฟเทคนิคนั่นเอง โดยทฤษฎีดังกล่าวนำมาใช้ในการพิจารณาการเคลื่อนไหวของราคาที่มีลักษณะการขึ้นๆ ลงๆ คล้ายลูกคลื่น จากพฤติกรรมการเทรดซ้ำๆ ของนักเทรด Forex โดยในบทความนี้ ท่านจะได้เรียนรู้หลักการสำคัญของทฤษฎี Elliot Wave แบบละเอียด!

มาเรียนรู้หลักการทำงานของ Elliott Wave รวมไปถึงประโยชน์ของ Elliott Wave ในตลาดการเทรดกันเถอะครับ
ทฤษฎี Elliott Wave คืออะไร?
ตอนที่ Ralph Nelson Elliott คิดค้นทฤษฎีนี้ขึ้นมา เขาไม่เพียงต้องการมองภาพรวมความเคลื่อนไหวของราคาเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อระบุลักษณะการเคลื่อนไหวแบบลูกคลื่นที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆ โดยสามารถใช้ศึกษาได้ทั้งราคาหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ และยิ่งไปกว่านั้น นักวิเคราะห์ยังใช้ Elliott Wave ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อคาดการณ์สภาวะของตลาดอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ ขายมากเกินไป (Oversold) ก็ตาม
เมื่อเทรดเดอร์สังเกตเห็นแนวโน้ม (Trend) ที่มาพร้อมกับโอกาสในการทำกำไร เราเรียกจังหวะนั้นว่า "Riding wave" โดยลักษณะของคลื่นนั้นมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดและพฤติกรรมการเทรดที่แตกต่างกันไป ลองนึกภาพนักอสังหาริมทรัพย์ที่พยายามหาสัญญาจำนองที่ดินใหม่ๆ ที่มีตำแหน่งดีกว่าเดิม ผู้เชี่ยวชาญเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "Refinancing wave" ซึ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจริงๆ แล้วรูปแบบ Elliott Wave เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา มากกว่าที่จะใช้เพื่อคาดการณ์ราคาหรือพฤติกรรมของตลาด
แม้ว่าลักษณะของคลื่นนั้นจะมีรูปแบบที่ต่างกัน แต่รูปแบบเหล่านั้นมีหลักการสำคัญเดียวกันที่ท่านควรพิจารณา ได้แก่:
- ทฤษฎี Elliot Wave เป็นเพียงหลักการหนึ่งที่ต้องอาศัยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์เชิงเทคนิคอื่นๆ มาช่วย เพื่อพิจารณาความเคลื่อนไหวของราคาในระยะยาวที่ทำให้เกิดอารมณ์ของตลาด หรือการตัดสินใจของนักลงทุน
- หลักการนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบคลื่น 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ Corrective wave (เพื่อเริ่มแพทเทิร์น) และ Impulse wave (คลื่นตรงข้ามหรือสวนกับเทรนด์ที่ใหญ่กว่า)
- คลื่นรูปแบบอื่นๆ แปรเปลี่ยนไปตามหลักการของคลื่น 2 รูปแบบหลักที่ได้กล่าวมาก่อนหน้า
ก่อนจะไปเรียนรู้หลักการทำงานของทฤษฎี Elliott Wave อย่างละเอียด ลองไปสำรวจที่มาที่ไปของทฤษฎีนี้กันก่อนนะครับ
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของทฤษฎี Elliott Wave
ทุกท่านคงทราบกันดีแล้วว่าทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาโดย Ralph Nelson Elliott ในปี ค.ศ. 1930 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ Elliott อยู่ว่างๆ หลังเกษียณอายุ เขาจึงใช้เวลาว่างเหล่านั้นในการคิดค้นทฤษฎีลูกคลื่นดังกล่าว
หลังจากทำการศึกษา กราฟหุ้น หลากหลายรูปแบบเพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวของราคาในหลายๆ ช่วงเวลาและ timeframe แล้ว ในที่สุด Elliott ก็สามารถคิดค้นทฤษฎีที่สะเทือนวงการการลงทุนในปี 1935 โดยเขาได้เริ่มใช้ทฤษฎีดังกล่าวในการคาดการณ์อย่างแม่นยำเกี่ยวกับราคาหุ้นที่กำลังจะดิ่งลงต่ำสุด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเรียกได้ว่าไม่มีนักลงทุนหรือเทรดเดอร์รายใหญ่ๆ รายไหนที่ไม่ใช้ทฤษฎี Elliott Wave ในการวิเคราะห์เชิงเทคนิคเลย เพราะทฤษฎีนี้ได้เปลี่ยนแปลงวงการการเทรดไปตลอดกาล
โดยในภายหลัง Elliott ได้ออกมาบอกว่าทฤษฎีของเขาไม่ใช่สูตรลับที่ใช้คาดการณ์ราคาหรือพิจารณาความเคลื่อนไหวของราคาล่วงหน้า แต่มันเป็นเหมือนเครื่องมือในการประเมินพฤติกรรมของตลาดที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เขายังบอกอีกว่าวิธีที่ดีที่สุดในการใช้แพทเทิร์น Elliott Wave คือการใช้ร่วมกับ อินดิเคเตอร์ช่วยเทรด อื่นๆ รวมถึงอาศัยรูปแบบการวิเคราะห์เชิงเทคนิคที่หลากหลาย ที่น่าสนใจก็คือ หลักการนี้จะแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานของเทรดเดอร์ละท่าน
หลักการทำงานของแพทเทิร์น Elliott Wave
ถึงแม้ว่าทฤษฎี Elliott Wave จะถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการเทรดหุ้นโดยเฉพาะ แต่มันก็สามารถนำไปปรับใช้กับตราสารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้เช่นกัน โดยมีหลักการทำงานสำคัญ คือ การใช้พิจารณาความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ซึ่งคาดการณ์ได้ไม่ยากเนื่องจากหุ้นมักจะมีแพทเทิร์นการวิ่งขึ้นและลงแบบซ้ำๆ เดิมๆ เราจึงเรียกแพทเทิร์นการขึ้นลงเหล่านั้นว่า 'คลื่น (wave)' และเชื่อกันว่าอารมณ์ของนักลงทุนมีอิทธิพลต่อรูปแบบคลื่นเหล่านั้น

หลักการทำงานของคลื่นแต่ละรูปแบบนั้นแตกต่างกัน โดยจะแบ่งลักษณะของคลื่นได้ ดังนี้:
- รูปแบบ Refinancing
- รูปแบบ Motive
- รูปแบบ Impulse
- รูปแบบ Diagonale
- รูปแบบ Corrective และคลื่นรูปแบบอื่นๆ
คลื่น Impulse และ corrective เป็น 2 รูปแบบคลื่นหลักๆ ของทฤษฎี Elliott Wave ถึงแม้จะมีคลื่นลักษณะอื่นๆ ที่ยาวกว่าอีก 2 คลื่นนี้เสมอ