ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

เทรดมาร์จิ้น (Margin) คืออะไร? เงินทุนไม่เยอะก็เทรดได้ด้วยมาร์จิ้น

มาร์จิ้น (Margin) ในแง่ของการเทรด หมายถึง การลงทุนซื้อขายตราสารการเงินโดยมีโบรกเกอร์หรือผู้บริการทางการเงินเป็นผู้ให้สินเชื่อเงินลงทุนกับนักเทรดเจ้าของบัญชี อธิบายง่ายๆ คือ เทรดเดอร์สามารถลงทุนซื้อตราสารในปริมาณมากได้ แม้จะไม่มีเงินทุนจำนวนดังกล่าวอยู่จริงๆ ก็ตาม ทำให้เทรดเดอร์สามารถเปิดออเดอร์เทรดจำนวนมากได้ตามที่ต้องการนั่นเอง สรุปง่ายๆ ก็คือการเทรดมาร์จิ้นช่วยให้เทรดเดอร์ทำกำไรจากการเทรดที่มากขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนน้อย และต้องอาศัยการทำกำไรจากการเปิดหลายออเดอร์ แทนการเน้นทำกำไรมากๆ จากออเดอร์เทรดแค่ออเดอร์เดียว

โดยส่วนมาก มาร์จิ้นจะใช้สำหรับการเทรด Forex หรือลงทุนในตลาดค่าเงิน แต่ก็มีนักเทรดมืออาชีพจำนวนไม่น้อยที่ใช้มาร์จิ้นเพื่อยืมเงินจากโบรกเกอร์มาใช้ลงทุนเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity), หุ้น (Stock) และตราสารการเงินที่ได้รับความนิยมมากๆ ในปัจจุบันอย่างสกุลเงินดิจิตอล หรือ Cryptocurrency ที่ทุกท่านน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี

อธิบายเกี่ยวกับการเทรดมาร์จิ้น (Margin Trading)

หลักการเทรดมาร์จิ้นนั้นไม่ยาก สมมุติว่ามีนักลงทุนรายหนึ่งที่ต้องการลงทุนเทรดแต่มีเงินทุนในมือไม่เพียงพอที่จะซื้อหุ้นจำนวนมากๆ ได้ หรืออาจจะพอมีหุ้นอยู่จำนวนหนึ่งแล้วและต้องการซื้อหุ้นเพิ่มแต่ไม่มีเงินทุนมากพอที่จะซื้อหุ้นนั้นได้ โบรกเกอร์จึงเลือกให้บริการนักเทรดเหล่านั้นโดยการให้ยืมเงินลงทุนเพื่อให้เทรดเดอร์มีเงินเพียงพอในการซื้อหุ้นและลงทุนต่อไปได้

สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องทำคือการวางแผนจำนวนล็อตเทรดที่ต้องการลงทุน และลองวิเคราะห์ว่าราคาหุ้นนั้นจะขึ้นจริงมั้ย? คุ้มค่าที่จะลงทุนจริงๆ หรือเปล่า? หากท่านมองแล้วว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ก็สามารถซื้อหุ้นนั้นตามจำนวนที่ต้องการได้โดยใช้สินเชื่อเงินทุนที่โบรกเกอร์เตรียมไว้ให้ แล้วเมื่อเทรดได้กำไรก็ค่อยนำเงินมาจ่ายคืนพร้อมอัตราค่าธรรมเนียมตามที่โบรกกำหนด

หลักการเทรดโดยใช้มาร์จิ้น

ในการเทรดหุ้นโดยใช้มาร์จิ้น เทรดเดอร์จะต้องมีเงินทุนเริ่มต้นจำนวนหนึ่ง และใช้มาร์จิ้นที่โบรกเกอร์จัดเตรียมไว้ให้เป็นเงินทุนเพิ่มเติม โดยการตั้งหลักทรัพย์เป็นหลักประกันในการใช้มาร์จิ้น

หากจะอธิบายให้ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น การเทรดมาร์จิ้นจะก่อให้เกิดส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ซึ่งคิดออกมาได้เป็นสัดส่วนผลตอบแทนกำไรนั่นเองครับ

ข้อดี-ข้อเสียของการเทรดมาร์จิ้น

การเทรดมาร์จิ้นไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังเหมาะทั้งสำหรับนักเทรดมือใหม่และนักเทรดมืออาชีพอีกด้วย ทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการบริหารพอร์ตที่หลากหลาย และสร้างกำไรตอบแทนที่มากขึ้นได้จากการใช้มาร์จิ้นเทรด

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

อย่างไรก็ดี ถึงแม้การเทรดด้วยมาร์จิ้นจะมีประโยชน์ไม่น้อย แต่มันก็มีข้อเสียบางอย่างที่นักเทรดจะต้องระวัง

ข้อดี:

  • สร้างรายได้ที่มากขึ้น – ทำรายได้มากขึ้นจากการลงทุนที่มากขึ้นได้
  • เปิดออเดอร์เทรดมากยิ่งกว่าเดิม – a chance to open several positions even without enough funds to invest. โอกาสในการเปิดออเดอร์ได้หลายออเดอร์มากขึ้น แม้จะมีเงินลงทุนไม่เพียงพอก็ตาม
  • เพิ่มความยืดหยุ่นในการเทรด – หลังจากเปิดบัญชีมาร์จิ้นเรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถเปิดออเดอร์เทรดได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยไม่ต้องคอยมานั่งฝากเงินเข้าบัญชีเพิ่มให้เสียเวลา

ข้อเสีย:

  • ขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน – ถึงแม้มาร์จิ้นจะช่วยให้ท่านเทรดกำไรได้มากขึ้นก็จริง แต่ก็มีโอกาสเทรดขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน และอย่าลืมว่าเงินทุนที่มีอยู่จริงในตอนแรกนั้นอาจน้อยกว่าจำนวนเงินขาดทุน โดยถึงแม้ราคาจะร่วงไม่มาก แต่ก็อาจส่งผลรุนแรงต่อการเทรดได้

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการความเสี่ยง คือ การใช้ กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้ออเดอร์ Stop limit และการเปลี่ยนไปลงทุนตราสารอื่นเพื่อลดความเสี่ยง

บทสรุปเกี่ยวกับการเทรดมาร์จิ้น

การเทรดมาร์จิ้นเป็นหนึ่งในตัวเลือกการลงทุนที่ดีที่จะช่วยให้นักลงทุนสร้างกำไรที่เติบโตมากขึ้นได้ ทำให้ท่านสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดออเดอร์สร้างกำไรได้หลายออเดอร์ แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงในการเทรดอยู่เสมอล่ะครับ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน