ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

เทรดน้ำมันดิบ (Crude Oil) ตามข้อมูลน้ำมันจากสถาบัน API

มือใหม่หัดเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ไม่ควรมองข้ามความสำคัญของราคาน้ำมันดิบ (Crude oil) เนื่องจากมันเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกภาพรวมของเศรษฐกิจและสภาวะทางเศรษฐกิจในระยะยาว และที่สำคัญทิศทางราคาน้ำมันยังส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและลดลงอีกด้วย

None

หากพูดกันตามตรง มนุษย์เราใช้พลังงานน้ำมันกันอย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะสำหรับยานพาหนะ หรือในแวดวงวิศวกรรมก็ตาม เป็นเหตุให้ราคาน้ำมันมักเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนการบริโภคที่มากล้นในตลาด ยังไม่รวมถึงการใช้น้ำมันในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางด้วยรถยนต์ เป็นต้น โดยเทรดเดอร์สามารถนำความต้องการ (Demand) ในการบริโภคสินค้าต่างๆ มาเป็นปัจจัยในการคาดการณ์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันดิบ รวมถึงราคาหุ้นและสินทรัพย์อื่นๆ ได้เช่นกัน

นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมข้อมูล API ของน้ำมันดิบจึงเป็นตัวเลขหรือปัจจัยสำคัญที่เทรดเดอร์ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมันสามารถบอกภาพรวมภายในตลาดและใช้คาดการณ์ทิศทางการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด (Fed) จะใช้ในการลดภาวะเงินเฟ้อได้ โดยในบทความวันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจว่าข้อมูลที่สถาบันทดสอบคุณภาพน้ำมัน (American Petroleum Institute หรือ API) เก็บและรายงานนั้นมีอะไรบ้าง? แล้วเทรดเดอร์สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นประกอบการเทรดอย่างไร?

ทำความเข้าใจค่า API ของน้ำมันดิบเบื้องต้น

API ย่อมาจาก American Petroleum Institute ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหรัฐที่รายงานราคาน้ำมันดิบ, ข้อมูลเชิงลึกของน้ำมัน และข้อมูลสำคัญอื่นๆ อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการกลั่นน้ำมัน, การผลิตน้ำมัน, การขนส่งและแจกจ่ายน้ำมันอีกด้วย นอกจากนั้นสถาบัน API ยังมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และผู้ควบคุมการผลิตน้ำมันตั้งแต่ต้นสายยันปลายสายอีกด้วยครับ

สถาบัน API นั้นก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1919 โดยหน่วยงานนี้ได้รวบรวมบริษัทและกลุ่มสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันกว่า 600 แห่งเพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับน้ำมันและรายงานเป็นตัวเลขสถิติ อีกทั้งยังมีหน่วยงานท้องถิ่นของแต่ละประเทศที่คอยทำแบบสำรวจและรายงานเชิงลึกเกี่ยวกับน้ำมันเพื่อการนำเสนอข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด

จุดเปลี่ยนของสถาบัน API มาจากการเริ่มต้นรายงานเกี่ยวกับการผลิต, การกลั่น และการจัดจำหน่ายน้ำมันใน Weekly Statistic Bulletin ในปีค.ศ. 1929 และยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น การนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งได้แก่:

  • น้ำมันเบนซินสำหรับยานยนต์ (Gasoline)
  • น้ำมันคีโรซีนสำหรับอากาศยาน (Kerosene)
  • น้ำมันเตา (Residual fuel)
  • น้ำมันดีเซล (Distillate) เป็นต้น

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

Bulletin ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับนักลงทุนน้ำมันเนื่องจากมันประกอบไปด้วยข้อมูลกว่า 80% ในการผลิตและกลั่นน้ำมันดิบนั่นเองครับ

การเตรียมข้อมูลค่า API ของน้ำมันดิบ

การรวบรวมข้อมูลนั้นประกอบไปด้วยหลายขั้นตอน ซึ่งในขั้นตอนแรกผู้เชี่ยวชาญจาก API จะเก็บข้อมูลจากบริษัทย่อยที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมน้ำมัน ไม่ว่าบริษัทเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกของ API หรือไม่ก็ตาม จากนั้น API นำข้อมูลเหล่านั้นมาประเมินผลร่วมกับ EIA โดยในขั้นตอนนี้ทั้ง 2 หน่วยงานจะช่วยกันยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเทรดเดอร์มืออาชีพมักจะยึดข้อมูลรายงาน EIA เป็นหลักเนื่องจากมีการประเมินว่ามีความแม่นยำมากกว่าของ API 

ข้อควรทราบ: หากเทรดเดอร์ต้องการทราบผลการรายงาน ท่านจะต้องติดตามการเผยแถลงการณ์ของ API ในทุกๆ วันอังคาร เวลา 16:00 ตามเวลาตะวันออก (Eastern time)

หลักการนำข้อมูลน้ำมันดิบจาก API มาใช้เทรด

เทรดเดอร์สามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันดิบที่ได้มามาใช้พิจารณาภาพรวมของตลาดพลังงานและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทั่วโลก โดยมีปัจจัยสำคัญที่เทรดเดอร์ควรติดตามร่วมด้วย ได้แก่:

  1. ความตึงเครียดทางสถานการณ์การเมือง
  2. ผลกระทบจากสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล (ฤดูหนาวและฤดูร้อน)
  3. ความขัดข้องของโรงกลั่น
  4. เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ทั้งในสหรัฐและทั่วโลก

เหตุการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่มีผลกระทบสำคัญต่อราคาน้ำมันดิบและหุ้น ซึ่งหากเทรดเดอร์หมั่นติดตามข่าวสารและข้อมูลเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะเข้าใจกระบวนการการกลั่นและผลิตน้ำมันมากยิ่งขึ้น แต่ก็น่าเสียดายที่ในบางครั้งผลการรายงานจากสถาบัน API และ EIA นั้นอาจไม่ได้แม่นยำตามที่เทรดเดอร์คาดหวังเอาไว้

ดังนั้น ไม่ต้องตกใจนะครับหากท่านรู้ว่ายอดน้ำมันคงเหลือจริงนั้นสูงกว่าที่ท่านคาดไว้ ซึ่งวันนี้เรามีตัวอย่างของสัญญาณขาลงของน้ำมันมาบอก นั่นก็คือเมื่ออุปทานหรือการผลิตน้อยกว่าที่คิด อุปสงค์หรือความต้องการน้ำมันในตลาดก็จะสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นนั่นเอง

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน