ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงเป็นบวกเล็กน้อยท่ามกลางสัญญาณความผันผวนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีกทั้ง ความหวาดกลัวสงครามการค้าที่ผ่อนคลายลงและการขาดการอัปเดตปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่แม้จะปรับตัวดีขึ้นแต่ตลาดยังคงมีท่าทีระมัดระวัง
ด้วยเหตุนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงพลิกกลับการฟื้นตัวครั้งล่าสุดพร้อมกับติดตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ตกต่ำลง เช่นเดียวกันสถานการณ์นี้ยังส่งผลให้ราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่นักลงทุนเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญของสหรัฐฯ
โดยคู่เงิน EURUSD ฟื้นตัวก่อนการรายงานข้อมูลความเชื่อมั่น ZEW ของเยอรมนีและยูโรโซน เช่นเดียวกันกับคู่เงิน GBPUSD ที่ขยับตัวสูงขึ้นแม้จะมีข้อมูลการจ้างงานในสหราชอาณาจักรที่ผันผวนก็ตาม นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ยังคงร่วงลงเป็นวันที่สามติดต่อกัน ขณะที่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10
ในอีกทางหนึ่ง ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯยังคงมีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ในขณะที่หุ้นในเขตเอเชียแปซิฟิกขยับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ BTCUSD และ ETHUSD ยังพุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยท่ามกลางการดึงกลับของดอลลาร์สหรัฐฯในวงกว้างขณะที่กำลังฟื้นตัวหลังจากที่ร่วงลงมากที่สุดในรอบสี่เดือนเมื่อวันก่อนหน้า
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ในขณะที่ความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดูเหมือนจะเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับช่วงแนวโน้มขาขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ความกังวลใหม่ๆเกี่ยวกับการจ้างงานในสหรัฐฯและสภาวะเงินเฟ้อยังสนับสนุนท่าทีระมัดระวังของตลาด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการประชุมแห่งสหรัฐอเมริกา ( US Conference Board) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจได้ส่งสัญญาณถึงแนวโน้มการปรับลดลงของรายงานการจ้างงานที่ลงมาที่ 113.05 ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับ 114.16 ของการรายงานก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ผลจากการสำรวจการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แห่งนิวยอร์กยังแสดงให้เห็นการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของปีหน้าที่ผ่อนคลายลงเป็น 3.4% จากตัวเลขก่อนหน้าที่ 3.6% และท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค ( CPI) ที่สำคัญของวันนี้ นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อล่วงหน้าสามปีและห้าปียังคงไม่เปลี่ยนแปลงโดยมีตัวเลขที่ 3.0% และ 2.7% ตามลำดับ ซึ่งในทางกลับกันจะเป็นการส่งผลดีต่อแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐฯในภายหลัง
ในอีกทางหนึ่ง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้หารือเกี่ยวกับเป้าหมายการเติบโตและข้อเสนอเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุม Central Economic Work Conference ประจำปี ซึ่งเป็นแรงหนุนความเชื่อมั่นของตลาด นอกจากนี้ การยกเลิกข้อจำกัดของจีนในการนำเข้าเนื้อสัตว์ของออสเตรเลียยังบ่งบอกถึงสงครามการค้าระหว่างประเทศจีนและชาติตะวันตกที่กำลังผ่อนคลายลงอีกด้วย
ในขณะเดียวกัน ข่าวที่รายงานว่าขีปนาวุธที่ยิงจากดินแดนที่กลุ่มฮูตีควบคุมในเยเมนได้ระเบิดเรือพาณิชย์ (เรือ) ในทะเลแดงยังท้าทายความเชื่อมั่นของตลาดและช่วยพยุงช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถึงกระนั้นการระมัดระวังก่อนการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญยังท้าทายช่วงแนวโน้มขาลงของดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน
อีกทางด้านหนึ่ง Bloomberg ได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่เปิดเผยตัวตน โดยรายงานว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ขาดความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์นี้ยังร่วมกันกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้นขับเคลื่อนระดับราคาคู่เงิน USDJPY อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนที่เพิ่มขึ้น 0.3% YoY เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 0.1% และ 0.8% ของการรายงานก่อนหน้านั้นได้เข้าร่วมการดึงกลับในอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรส่งผลกระทบต่อคู่เงินเยน
Michele Bullock ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ส่งสัญญาณถึงแนวทางที่ระมัดระวังของธนาคารกลางออสซี่ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ แต่ขณะเดียวกันก็ตัดความกังวลที่บ่งชี้ถึงความล่าช้าของออสเตรเลียในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าความเชื่อมั่นที่มีทิศทางบวกอย่างระมัดระวังและข่าวจากจีนรวมไปถึงข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่แข็งแกร่งจากออสเตรเลียนั้นยังช่วยพยุงช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน AUDUSD นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Westpac ยังเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบแปดเดือนที่ 82.1 ในเดือนธันวาคม เมื่อเทียบกับการรายงานครั้งก่อนๆที่ 79.9 ในขณะเดียวกัน การรายงานมาตรวัดความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ ANZ-Roy Morgan รายสัปดาห์ของออสเตรเลียก็เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็น 80.8 จากตัวเลขก่อนหน้าที่ 76.4 ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ การสำรวจทางธุรกิจของธนาคารกลางออสเตรเลียในเดือนพฤศจิกายนได้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจนั้นลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2020 โดยมีตัวเลขอยู่ที่ -9.0 เมื่อเทียบกับ -2.0 ของการรายงานก่อนหน้า ในขณะที่สภาพธุรกิจปรับลดลงเป็น +9.0 จาก +13.0
นักลงทุนจะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับรายงานตัวเลขค่าดัชนี CPI ของสหรัฐฯ และค่าดัชนี CPI อย่างเช่น อาหาร & พลังงาน หรือที่เรียกว่า Core CPI เพื่อดูทิศทางที่ชัดเจน ตลาดมีคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดลงเล็กน้อยในรายงานข้อมูล CPI ทั่วไป แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อมูล CPI หลัก ซึ่งหากเป็นไปตามการคาดการณ์ก็อาจจะท้าทายความเชื่อมั่นที่ล่าสุดปรับตัวดีขึ้นและหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯให้แข็งค่าขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การปรับลดลงอย่างน่าประหลาดใจของข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะปูทางไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed และอาจทำให้สินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงิน AUD,NZD ขยายการพุ่งสูงขึ้นครั้งล่าสุดด้วยเช่นกัน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !