ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงซบเซาในช่วงเช้าของวันอังคาร เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯที่มีท่าทีเข้มงวดประกอบกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่เพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจีน รัสเซีย และตะวันออกกลาง
โดยดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ท่ามกลางแนวโน้มขาขึ้นสี่วัน ในขณะที่ราคาทองคำพยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากแนวรับที่ประมาณ $2,149-48 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2023 อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังคงถูกกดดันอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯและการขาดปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
นอกเหนือไปจากนั้น คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 แม้จะมีการดำเนินการของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงสู่จุดต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ จากการหยุดชะงักของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ซึ่งรวมไปถึงปัญหาเศรษฐกิจของจีน
ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD ปรับลดลงต่อเนื่องจากช่วงต้นสัปดาห์ โดยเข้าใกล้จุดต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ เนื่องจากแรงเทซื้อคริปโทเคอร์เรนซีชะลอตัวก่อนการประชุม FOMC ในวันพุธ
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
แม้ว่านักลงทุนในตลาดจะเชื่อมั่นในการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed จากการประกาศนโยบายการเงินในวันพุธที่จะถึงนี้ แต่พาดหัวข่าวเชิงลบเกี่ยวกับความเสี่ยงจากจีน รัสเซีย และสหรัฐฯกลับยิ่งส่งเสริมความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นอุปสรรคต่อแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์
อีกทางด้านหนึ่ง ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีนได้แสดงความยินดีกับประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซียที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเป็นการยืนยันอีกครั้งถึงความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและรัสเซีย โดยสถานการณ์นี้เมื่อรวมกับความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และสภาวะระมัดระวังของตลาดก่อนการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้จะส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นและจะเป็นการกระตุ้นดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย อีกทั้ง ความกลัวที่จะเห็นการเลิกจ้างจำนวนมากในจีนและวิกฤติในตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงท้าทายแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์และสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้น ทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ว่า "ข้อตกลงหยุดยิงในฉนวนกาซายังคงซับซ้อนมากกว่าที่สหรัฐฯคาดการณ์ไว้" ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพร้อมรับความเสี่ยงและยังทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น รวมถึงสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาทองคำ
ในขณะเดียวกัน รายงานจากสหรัฐฯเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้น (handshake deal) เพื่อหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์ของรัฐบาลยังช่วยหนุนความเชื่อมั่นในแง่ดี และช่วยพยุงราคาทองคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลางการคาดการณ์ในวงกว้างว่า Fed จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน
จากข้อมูลนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ คู่เงิน EURUSD ไม่สามารถตอบสนองต่อความคิดเห็นที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างไรก็ดี Mario Centeno หนึ่งในผู้กำหนดนโยบายของ ECB ได้ออกมากล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจช่วยป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน USDJPY กลายเป็นคู่สกุลเงินที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในกลุ่ม G10 แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปีและยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ (NIRP) ก็ตาม นอกจากนี้ BoJ ยังได้ยุติการใช้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดอีกด้วย
นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ จากการที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตัดสินใจชะลอการผ่อนคลายนโยบายการเงิน หลังจากนั้น Michell Bullock ผู้ว่าการ RBA ยังออกมาปกป้องการตัดสินใจดังกล่าว ขณะที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัว
ทั้งนี้ คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ หลังกระทรวงการคลังของนิวซีแลนด์ (NZ) ยืนยันภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากของประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามการอัปเดตที่เผยแพร่ในวันจันทร์ นอกจากนี้ ความเห็นของนายกรัฐมนตรี Christopher Luxon ของนิวซีแลนด์ที่ชี้ว่าสภาพการณ์เศรษฐกิจมีการปรับตัวลงยังส่งผลกดดันให้คู่เงิน NZDUSD อ่อนค่าลงอีกด้วย
แม้ความกังวลเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีท่าทีเข้มงวดในการดำเนินนโยบายการเงินและสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น แต่สภาวะ consolidation ก่อนการประชุมของ Fed ก็อาจเป็นอุปสรรคสำหรับแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและใบอนุญาตก่อสร้างของสหรัฐฯอาจส่งผลต่อเทรดเดอร์ที่เทรดตามโมเมนตัม ถึงกระนั้น ความไม่สบายใจของเทรดเดอร์ที่มีต่อท่าทีที่เข้มงวดของ Fed จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามอง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อทิศทางของดอลลาร์สหรัฐฯในอนาคตอันใกล้ได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !